ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

TEXT: สุภาวดี ใหม่สุวรรณ์

PHOTO: สุนันท์ ล้อสมทรัพย์

     อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้ แต่ทุกปัญหามีทางออก และด้วยประสบการณ์ที่คลุกคลีกับเอสเอ็มอีกว่า 30 ปีของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ก็พร้อมเปิดประตูแห่งโอกาสให้กับเอสเอ็มอี ด้วยกลไกการค้ำประกันที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีไทยเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ง่ายขึ้น

     สิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวบนเวทีสัมมนา “SOLD OUT on Stage แบไอเดีย ขายเกลี้ยงแผง” ที่จัดโดย SME Thailand ว่า ปัญหาหลักของ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี คือ “การขาดสภาพคล่อง” ในรายที่ค้าขายลำบากเพราะลูกค้าหดหาย ก็ต้องการเงินทุนมาต่อลมหายใจ ส่วนในรายที่ขายดี ออร์เดอร์ทะลัก ก็ยังต้องการเงินทุนมาขยายหรือต่อยอดธุรกิจให้ถึงฝัน

     ทั้งนี้ เอสเอ็มอีส่วนใหญ่มักเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินเพราะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และท้ายที่สุดมักจบที่การเป็นหนี้นอกระบบ บสย. สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้เพื่อเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ

     “ปัญหาการขาดสภาพคล่องจะไม่เกิด หากเอสเอ็มอีทำบัญชีต้นทุนอย่างละเอียด เพราะจะทำให้ทราบว่าธุรกิจมีกำไรหรือขาดทุนเท่าไร ถ้ากรณีขายไม่ได้ สภาพคล่องเริ่มจะไม่ดี เอสเอ็มอีต้องหาแหล่งทุน หรือปรับโมเดลธุรกิจ ไม่ก็เพิ่มสินค้า หรือสร้างจุดขายให้ลูกค้าสนใจในสินค้าของเรา การทำบัญชีต้นทุนยังช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น โดยใช้กลไกค้ำประกันสินเชื่อ เครดิตการันตีของ บสย. ซึ่งเราก็เหมือนเป็นลมใต้ปีกให้กับเอสเอ็มอี”

 

5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องที่ SME ต้องรู้

     ในฐานะที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดในแวดวงการเงินของเอสเอ็มอี คุณสิทธิกรได้แนะเคล็ดลับในการบริหารสภาพคล่องที่เอสเอ็มอีควรทำ ดังนี้ 1. ควบคุมรายรับ-รายจ่ายให้ได้ตามแผน 2. บันทึกบัญชีของร้านค้าหรือธุรกิจเป็นประจำ 3. อย่าใช้เงินสดผิดวัตถุประสงค์ 4. บริหารเครดิตเทอมการค้าให้เหมาะสม 5. วางแผนและประมาณการใช้เงินทุนต่างๆ ของกิจการ และ 6. สำรองเงินไว้เผื่อฉุกเฉิน หากทำได้ตามนี้เอสเอ็มอี ย่อมจะอยู่รอดและเติบโตต่อไปได้

     “วันนี้เอสเอ็มอีในพอร์ตของ บสย. มีมากกว่า 800,000 ราย เราสนับสนุนให้ทุกคนทำบัญชีธุรกิจเพียงบัญชีเดียว และมีมายด์เซ็ตที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารภาษี ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาและต้องการเข้าถึงสภาพคล่อง สถาบันการเงินก็อนุมัติให้สินเชื่อทันที เพราะมีความมั่นใจในเอสเอ็มอีที่ บสย. เป็นผู้ค้ำประกัน เอสเอ็มอีก็สามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว หรือต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน”

     ด้วยวัฒนธรรมการทำงานของ บสย. คือFast & First - รวดเร็ว รอบคอบ ที่หนึ่งในใจ SMEs” คุณสิทธิกรมั่นใจว่า บสย. พร้อมที่จะแนะนำโปรแกรมสินเชื่อ รวมทั้งแหล่งทุนที่เหมาะสม ตอบโจทย์ และลดความเสี่ยงให้กับเอสเอ็มอี อย่างปัจจุบัน บสย. มี “โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs ยั่งยืน” วงเงิน 50,000 ล้านบาท ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 2-3 ปีแรก “โครงการค้ำประกันสินเชื่อดอกเบี้ยถูก” ที่ร่วมมือกับสถาบันการเงินต่างๆ เสริมสภาพคล่องและลดภาระทางการเงินให้กับเอสเอ็มอีด้วยอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 5% ต่อปี และในกรณีที่ลูกหนี้ค้ำประกันสินเชื่อชำระหนี้ต่อไม่ไหว ยังมี “มาตรการ บสย. พร้อมช่วย” โดย บสย. จะช่วยบรรเทาหนี้ให้ก่อนและให้เอสเอ็มอีผ่อนเบาๆ ด้วยดอกเบี้ย 0% ยาว 7 ปี

     “ปี 2566 ที่ผ่านมา บสย. ค้ำประกันสินเชื่อไปประมาณ 114,000 ล้านบาท นอกจากเราจะเป็นลมใต้ปีกให้เอสเอ็มอีเติบโตได้ไกล เวลาเอสเอ็มอีมีปัญหา เราก็พร้อมจะติดร่มชูชีพให้ด้วย ทำให้เอสเอ็มอีมีกำลังใจและเห็นโอกาสที่จะปลดหนี้ได้เร็วขึ้น นอกจากการค้ำประกันสินเชื่อแล้ว เรายังมี “ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs” ที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การแก้ปัญหาหนี้ รวมทั้งให้ความรู้ทางการเงิน การทำธุรกิจและการตลาดแก่เอสเอ็มอี ฟรี ขอย้ำว่าไม่มีค่าใช้จ่าย”

เอสเอ็มอีท่านใดสนใจโครงการค้ำประกันสินเชื่อและบริการดีๆ จาก บสย. สามารถเป็นเพื่อนกับ บสย. ได้ผ่าน Line OA : @tcgfirst โดยลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาและตรวจสุขภาพทางการเงินเพื่อเตรียมพร้อมก่อนยื่นขอสินเชื่อได้ฟรี

     บสย. พร้อมแล้วที่จะเติมเต็มสภาพคล่องดีๆ และ SOLD OUT ไปกับเอสเอ็มอีไทย

     ข้อมูลจากงาน “SOLD OUT on Stage...แบไอเดีย ขายเกลี้ยงแผง

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ฟังผู้บริหาร บสย. แนะ SME เสริมสภาพคล่อง เข้าถึงสินเชื่อในระบบ

ในยุคที่เศรษฐกิจผันผวนและการแข่งขันที่รุนแรง ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต่างต้องการ “เงินทุน” ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน แต่ “การเข้าถึงสินเชื่อในระบบ” ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้ประกอบการ ทางออกหนึ่งคือการหันไปหา “เงินกู้นอกระบบ”

ไขข้อข้องใจ! ทำไม SME ถึงเข้าแหล่งเงินทุนยาก ฟังแนวทางแก้ไขจากกูรูด้านการเงิน

รู้หรือไม่จำนวน SME ของไทยกว่า 3.2 ล้านราย มี SME ไม่ถึงครึ่งที่เข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งๆ ที่ SME คือฟันเฟืองที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่การที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงินกลับไม่ใช่เรื่องง่าย