ยิ่งจำนวนลูกค้ามีมากเท่าไหร่โอกาสทางธุรกิจก็ย่อมมากขึ้นเท่านั้น จึงไม่แปลกใจที่การทำตลาดส่งออกจะเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของเอสเอ็มอีหลายๆ ราย โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิด การขยายตลาดไปในอาเซียนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกทำให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น
ถ้าพิจารณาจากประเทศรอบบ้านของเรา อินโดนีเซีย คือหนึ่งในประเทศแถบอาเซียนที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตลอดปี 2565 อีกทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะเติบโต 5.3% ในปี 2565 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2565)
ทำไมเศรษฐกิจอินโดนีเซียฟื้นตัวเร็ว
วิจัยกรุงศรีมองว่า การที่เศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียฟื้นตัวได้เร็วมาจากอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคในภาคครัวเรือนและการลงทุนของภาคเอกชน นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังคงได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง และผลทางการทดแทนอันเนื่องมาจากการเบี่ยงเบนทางการค้า รวมทั้งการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง จะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
การส่งออกและดุลการเกินดุลอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากร ซึ่งช่วยให้ได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่ปรับสูงขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา ผ่านการส่งออก โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซ น้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์เหมืองแร่ รวมทั้งถ่านหินและทองแดง ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ส่งผลให้การส่งออกปรับเพิ่มขึ้นและดุลการค้าเกิดดุลอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น อินโดนีเซียสร้างปรากฏการณ์เกินดุลการค้าที่ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นับว่าสูงที่สุดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นผลมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยการค้าสินค้าเกินดุลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศมีทิศทางเป็นบวก ซึ่งจะช่วยรองรับเสถียรภาพภายนอกและค่าเงินของอินโดนีเซีย
ต้องระวังภาวะเงินเฟ้อ
เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อกำลังก่อตัวขึ้นในอินโดนีเซีย โดยอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% ในเดือนมิถุนายนเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ตั้งไว้ที่ 2-4% เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาพลังงาน อาหาร และที่อยู่อาศัยที่สูงขึ้น
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และความกังวลต่อเสถียรภาพของค่าเงิน IDR ทำให้ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบเดือนกันยายน เพื่อรักษาช่องว่าง / ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมกับอัตราของ Fed ต่อเนื่องจากการประชุมในรอบเดือนสิงหาคม 2565
นอกจากนี้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การพึ่งพาตลาดทุนระหว่างประเทศของอินโดนีเซียมีค่อนข้างสูง (สะท้อนจากอัตราส่วนการถือครองพันธบัตรรัฐบาลในสกุลเงินท้องถิ่นของนักลงทุนต่างประเทศที่สูง) ทำให้เสี่ยงต่อการไหลออกของกระแสเงินทุนและความผันผวนในตลาดการเงินโลก โดยอัตราส่วนดังกล่าวสูงสุดอยู่ที่ 40% ในปี 2560 และค่อยๆ ลดลงเหลือ 16.1% ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
GO ASEAN with krungsri
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะขยายธุรกิจไปยังอาเซียนนั้น มีอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะมาทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยมืออาชีพอย่างกรุงศรีที่มี 3 บริการไว้คอยสนับสนุนผู้ประกอบการ
- (รู้ ) Data พร้อมรบ
อย่างไรก็ดีการทำธุรกิจในต่างแดนอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากไม่มีความคุ้นเคย ตัวเลือกหนึ่งในขณะนี้คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) หนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดระดับโลก ที่มีเครือข่ายในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก สามารถช่วยประสานและให้คำปรึกษาหากลูกค้าธุรกิจมองหาโอกาสหรือต้องการขยายโอกาสทางธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีบริการที่จำเป็นที่พร้อมพาธุรกิจไทยโตไกลในอาเซียน
- (ทำ) เครื่องมือพร้อมลุย
กรุงศรี ทำงานร่วมกับธนาคารพันธมิตรในภูมิภาคอาเซียนในเครือข่ายของ MUFG โดยให้บริการที่ปรึกษาผ่านการนำเสนอข้อมูลจากความเชี่ยวชาญด้านอาเซียน ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ประกอบไปด้วย
บริการ Advisory จากทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำแก่ธุรกิจที่กำลังมองหาลู่ทางในการขยายธุรกิจไปต่างแดน พร้อมด้วยองค์ความรู้ โซลูชันใหม่ๆ ที่มาเสริมในการให้คำปรึกษา
Krungsri Business Link แพลตฟอร์มของภาคธุรกิจต่อธุรกิจ (B2B) ที่สนับสนุนธุรกิจในไทย อาเซียน และญี่ปุ่น สามารถเพิ่มโอกาสให้เกิดการจับคู่ธุรกิจ และสร้างพันธมิตรให้แข็งแกร่ง
Krungsri-MUFG Business Matching Fair กิจกรรมจับคู่ธุรกิจระหว่างลูกค้าไทย ญี่ปุ่น และประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้า SME ที่ต้องการขยายธุรกิจหรือตลาดไปยังต่างประเทศ ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน อย่างในปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 9-11 พฤศจิกายน ในรูปแบบออนไลน์ จากข้อจำกัดของสถานการณ์โควิด-19 ภายในงานกรุงศรีเตรียมพร้อมด้านบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้ายิ่งขึ้น เช่น ล่าม เพื่อช่วยลดข้อจำกัดด้านภาษาในการสื่อสาร คู่มือในการเตรียมตัว เพื่อช่วยให้ทุกวินาทีแห่งโอกาสของลูกค้ามีความหมาย
- (ช่วย) โตได้ไม่โดดเดี่ยว
กรุงศรี ร่วมกับ Bank Danamon ธนาคารพันธมิตรในเครือข่าย MUFG ในการเชื่อมต่อ API ภายใต้โครงการ MUFG P2P Remittance Network ช่วยให้สามารถโอนเงินระหว่างประเทศไทยและอินโดนีเซียได้ทันที เหมาะสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจหรือผู้ที่ต้องการโอนเงินไปมาระหว่างประเทศเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้การโอนเงินเป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น ด้วยต้นทุนที่ถูกลง หรือสำหรับรายย่อยทั่วไปที่เดินทางไปอินโดนีเซีย กรุงศรีเชื่อมต่อบริการสแกนชำระเงินข้ามประเทศผ่านคิวอาร์โค้ด โดยสามารถเปิดใช้ Krungsri Mobile App เพื่อสแกนจ่ายค่าสินค้าหรือบริการต่างๆ ได้
ทั้งหมดเป็นการลงมือลงแรงและมุ่งมั่นตั้งใจของธนาคารกรุงศรีที่ต้องการเชื่อมโยงและให้บริการลูกค้าในอาเซียน และนำพาธุรกิจไทยออกไปเติบโตในต่างประเทศ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี