ขั้นตอนการเปิดบัญชีเทรด USD Futures  สำหรับนิติบุคคล ที่อยากลดความเสี่ยงค่าเงินผันผวน

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย

 

     ความผันผวนของค่าเงินถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลกระทบต่อผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ทำให้ผู้ประกอบการต้องมีเครื่องมือทางการเงินที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการค่าเงิน ที่เรียกกว่า สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Futures) มีลักษณะคล้ายกับสัญญา Forward คือ เป็นการล็อกเรทการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศในอนาคต

     ปัจจุบัน สามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าผ่าน TFEX ได้เฉพาะเงินดอลลาร์ สรอ. (USD Futures) เท่านั้น

     จุดประสงค์ของการเปิดให้สามารถซื้อขาย USD Futures ได้นอกเหนือไปจากการทำกำไรของนักลงทุนรายย่อยแล้ว ยังเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย

     บริษัทตลาดซื้อขายตราสารล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX ผู้ให้บริการซื้อขาย USD Futures จึงได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในการรับแลกสัญญา USD Futures ที่ผู้ประกอบการซื้อขายในตลาด TFEX เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อนำไปใช้ในธุรกิจต่อไป โดยสามารถแลกได้เมื่อสัญญา USD Futures ครบกำหนดอายุสัญญารวมถึงสามารถแลกได้ทันทีเมื่อเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์และเงินบาทมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในธุรกิจ

หลักฐานที่ต้องใช้

     สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจต้องทำการซื้อขายผ่านตัวกลาง (Broker) ที่ได้รับอนุญาต เช่น บริษัทหลักทรัพย์ และต้องวางหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) ตามเกณฑ์ที่ TFEX กำหนด นอกจากนี้ จะมีการคำนวณกำไร/ขาดทุนเป็นประจำทุกวันทำการ หรือที่เรียกว่า Mark to Market ซึ่งอาจทำให้ต้องวางหลักประกันเพิ่มเติม หากขาดทุนจนทำให้หลักประกันในบัญชีต่ำกว่าระดับหลักประกันขั้นต่ำ (Maintenance Margin)

     ผู้ที่ต้องการใช้เงินดอลลาร์ สรอ. ในอนาคต (หรือผู้นำเข้า) จะอยู่ในสถานะซื้อ (Long Position)

     ผู้ที่ต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ. ในอนาคต (หรือผู้ส่งออก) จะอยู่ในสถานะขาย (Short Position)

     โดยเอกสารที่ผู้ประกอบการจะต้องแสดงต่อโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขาย USD Future ก็คือหลักฐานที่แสดงว่าเป็นผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกเช่นหนังสือรับรองบริษัท งบการเงินของบริษัทรวมถึงเอกสารเรียกเก็บค่าสินค้าบริหารกับต่างประเทศหรือ Invoice 

     แต่ถ้าเป็ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกเกี่ยวกับทองคำจะต้องยื่นเอกสารหลักฐานที่ระบุว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจด้านทองคำและเอกสารการยืนยันธุรกรรมซื้อขายทองคำกับต่างประเทศ

     นอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องทำการยืนยันตัวเองหรือ KYC เพื่อจัดกลุ่มผู้ลงทุนตามประเภทธุรกิจดังกล่าวก่อน จึงจะสามารถใช้ Position Limit ของ USD Futures ที่เกินกว่า 10,000 สัญญาได้ โดยผู้ประกอบการที่มีบัญชี TFEX อยู่แล้วและผู้ที่เปิดบัญชีใหม่จะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมกับโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้ลงทุนที่มีประเภทธุรกิจตามที่กำหนด

     ทั้งนี้จำนวน Position Limit ที่ผู้ลงทุนแต่ละประเภทได้รับ เป็นไปตามการประเมินความเสี่ยงของโบรกเกอร์และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในกรณีที่มีการประกาศปรับลดจำนวน Position Limit ผู้ลงทุนจะสามารถถือครอง Position ต่อไปจนครบอายุสัญญา แต่ไม่สามารถเพิ่ม Position ใหม่ได้

     อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญนอกเหนือไปจากการใช้ USD Futures ในการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน แต่การใช้ตราสารอนุพันธ์ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทใดก็ตามคือการวางหลักประกันขั้นต้น (Initial Margin) และหลักประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin) โดยผู้ลงทุนต้องวางเงินประกันขั้นต้นตามระดับที่โบรกเกอร์อนุพันธ์กำหนดไว้ก่อนการซื้อขาย และหลังจากซื้อขายแล้ว โบรกเกอร์จะคำนวณกำไรขาดทุนให้ผู้ลงทุนทุกวันทำการ ทำให้เงินในบัญชีของผู้ลงทุนอาจเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามราคาฟิวเจอร์สที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน

     หากราคาของสินค้าอ้างอิงมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดไปจากทิศทางที่เปิดสถานะไว้ เช่นเปิดสถานะ Long เพื่อมองว่าจะแข็งค่าขึ้นแต่กลับอ่อนค่าลง หลักประกันขั้นต้นของเราจะมีมูลค่าลดลงซึ่งหากลดลงถึงระดับที่ต้องเพิ่มวงเงินมาร์จินก็จะต้องใส่เงินเพิ่มตามระดับที่กำหนด จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจจะต้องมีความเข้าใจในกลไกดังกล่าวด้วย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้