ทำความรู้จักเกณฑ์ใหม่แบงก์ชาติ เอื้อธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกต้องรู้

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

 

      หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบการที่นำเข้าและส่งออกก็คือเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความผันผวนสูง เพื่อที่จะเสริมเครื่องมือให้กับผู้ประกอบธุรกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ผ่อนคลายเกณฑ์การทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ภายใต้แผนผลักดันระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) ทั้งการนำเงินออกนอกประเทศและการชำระเงินระหว่างประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ยกเลิกวงเงินเพื่อโอนไปให้กู้ยืมกับบธุรกิจอื่นในต่างประเทศรวมถึงซื้ออสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ จากเดิมที่กำหนดวงเงิน 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และเพิ่มวัตถุประสงค์การโอนเงินที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากแบงก์ชาติ เป็นรายกรณี เช่น การซื้อหรือโอนเงินไปฝากเข้าบัญชีตนเองในต่างประเทศ เพื่อชำระรายจ่ายในต่างประเทศ

2. ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อโอนชำระรายจ่ายระหว่างกันภายในประเทศได้ตามความจำเป็น เช่น การชำระค่าสินค้าที่กำหนดราคาอ้างอิงตลาดโลก จากเดิมที่หากจะโอนระหว่างกันทำได้ผ่านบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศเท่านั้น

3. เปิดทางให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ในขอบเขตที่กว้างขึ้น เช่น การทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (Hedge) จากการซื้อขายสินค้าที่กำหนดราคาอ้างอิงตลาดโลกกับ คู่ค้าในประเทศ การ hedge แทนกิจการในเครือในประเทศ การ hedge ประมาณการรายรับรายจ่ายเงินตราต่างประเทศที่มากกว่า 1 ปี รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนบนงบการเงิน (balance sheet hedge) เพื่อให้ ผู้ประกอบธุรกิจทั้งผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้ประกอบการใน supply chain สามารถบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้คล่องตัวขึ้น จากเดิมที่ต้องขออนุญาตเป็นรายกรณี

4. ลดภาระการแสดงเอกสารในการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ โดยลูกค้าที่ผ่านกระบวนการ Know Your Business ของธนาคารพาณิชย์ ไม่ต้องแสดงเอกสารประกอบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ จากเดิมต้องแสดงเอกสารรายธุรกรรม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนและภาระด้านเอกสาร ตลอดจนเอื้อต่อการให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์

     กล่าวได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปิดทางให้ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกมีความคล่องตัวและทางเลือกในการทำธุรกรรมเงินตราระหว่างประเทศมากขึ้น จากเดิมที่มีข้อจำกัดพอสมควร เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยมองเห็นถึงปัจจัยความเสี่ยงทางด้านการเงินระหว่างประเทศที่มีความเสี่ยงและความผันผวนมากขึ้น

     นี่จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระบบการเงินโลกที่มีปัจจัยเสี่ยงใหม่เป็นจำนวนมากที่ไม่อาจจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้ารวมถึงต้องศึกษาหลักเกณฑ์ต่างๆของหน่วยงานกำกับดูแลที่รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนี้และมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบรวมถึงเครื่องมือการเงินใหม่ๆ ออกมา

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้