สรุปแนวทางการออกโทเคนดิจิทัลใหม่โดย ก.ล.ต. กระทบ SME ไทยอย่างไรบ้าง

 

 

     หลังจากที่ประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลออกมาในปี 2561 ทาง ก.ล.ต. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องและล่าสุดกำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการออกโทเคนดิจิทัล แม้ว่ากำลังอยู่ในช่วงของการทำ Focus Group และรับฟังความคิดเห็น แต่ประเด็นดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่จะออกโทเคนดิจิทัลของตัวเองอยู่พอสมควร ไปดูกันว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องให้ความสำคัญ

เกือบทุกโทเคนต้องผ่านขั้นตอนของ ICO Portal

     ที่ผ่านมา ก.ล.ต. อนุญาตให้โทเคนดิจิทัลพร้อมใช้หรือมีโปรเจ็กต์ที่รองรับแล้วสามารถออกโทเคนได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต แต่เกณฑ์ดังกล่าวกำลังจะเปลี่ยนมาเป็นการที่ทุกโทเคนต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาของ ICO Portal ซึ่งเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตในการเสนอขายดิจิทัลโทเคน ทั้งหมด จากเดิมที่ได้รับการยกเว้นซึ่งจะทำให้ต้นทุนของผู้ออกโทเคนต้องเพิ่มขึ้น

      อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต. อาจจะยกเว้นให้กับโทเคนหรือโปรเจ็กต์ที่ไม่มีความซับซ้อนในการใช้งานมากนักเป็นเพียงแค่การนำ Utility Token ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ อาจจะเข้าเกณฑ์ของ Fast Track ที่อาจจะเป็นเพียงแค่การรายงานต่อ ICO Portal และสามารถออกโทเคนได้เลยซึ่งจะใช้เวลาในการพิจารณาที่สั้น

โทเคนต้องไม่เข้าข่าย Mean Of Payment

     อีกประเด็นที่สำคัญคือโทเคนดิจิทัลที่ออกมาจะต้องไม่เข้าข่ายการเป็นสื่อกลางชำระเงินหรือ Mean Of Payment ซึ่งนำไปใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดูแลเรื่องของตลาดการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 

     กล่าวคือ โทเคนที่ออกมาถ้าหากสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าและบริการโดยตรงอาจจะมองว่าเข้าข่ายการเป็นสื่อกลางชำระเงินได้ซึ่งจะถูกห้ามใช้งาน แนวทางที่เป็นไปได้คือการนำโทเคนนั้นเป็นสื่อกลางในการแลกสิทธิประโยชน์ต่างๆ หรือใช้แลกเปลี่ยนเฉพาะสินค้าและบริการในเครือธุรกิจของตัวเองอาจจะพอได้รับการอนุมัติ

ไม่มีการสร้างผลตอบแทนด้วยการ Staking

      ปัจจุบันโทเคนดิจิทัลได้มีการให้ผลตอบแทนกับผู้ถือด้วยการ Staking แต่ ก.ล.ต. กำลังพิจารณาว่าจะห้ามการให้ผลตอบแทนในรูปแบบ Staking ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจของโทเคน พูดง่ายๆ คือจะไม่ให้มีการจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบที่คล้ายกับดอกเบี้ยเพื่อที่จะดึงดูดผู้ลงทุนให้เข้ามาเก็งกำไร

ต้องเปิดเผยรายละเอียดของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

     เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูล Inside เพื่อเก็งกำไรในราคาเหรียญและให้มีความโปร่งใสสำหรับนักลงทุนรายย่อย  ก.ล.ต. อาจจะให้ผู้ออกโทเคนต้องมีการเปิดเผยรายละเอียดของผู้ที่ได้รับโทเคนดิจิทัลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้ลงทุนระยะเริ่มต้น ที่ปรึกษา สัดส่วนโทเคนเพื่อการทำการตลาด 

      นอกจากนี้ยังกำหนดในเรื่องของ Whitepaper ที่จะให้รายละเอียดของโทเคนดิจิทัลจะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับการอนุมัติและจะต้องแจ้งต่อผู้ลงทุนล่วงหน้า โดยโทเคนดิจิทัลที่ไม่ปฎิบัติตามอาจจะถูกสั้งห้ามซื้อขายได้

     นี่เป็นกฎเกณฑ์ใหม่สำหรับการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลสำหรับภาคธุรกิจที่น่าจะออกมาบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ ผู้ประกอบการที่สนใจจะออกโทเคนของตัวเองต้องศึกษากฎเกณฑ์เหล่านี้เป็นอย่างดีก่อนตัดสินใจเปิดตัว

 

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

EXIM BANK แนะผู้ประกอบการ SMEs จัดสัดส่วนการเงิน ปรับธุรกิจผลิตสินค้าตามกระแสโลก เจาะตลาด ‘รักษ์โลก-สูงวัย-ฮาลาล’ รับมือสถาบันการเงินปฎิเสธสินเชื่อ

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร แนะการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs มีหลายสาเหตุ แต่การขอสินเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องยาก จะต้องรู้จักเทคนิค 5C+ ที่สถาบันการเงินใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ

เปิด 5 Trick วางแผนการเงินเฮง! รับปีใหม่ ขาดทุนเป็นศูนย์ ทำกำไรทะลุเป้า

ในภาวะคลื่นลมเศรษฐกิจแย่เช่นนี้ อยากมาชวนตั้งต้นวางแผนระบบการเงินให้ธุรกิจกันใหม่ และสำหรับใครที่เพิ่งกำลังจะเริ่มต้นธุรกิจ ก็ได้ใช้เป็นแนวทางป้องกันรัดกุม ให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดการเพลี้ยงพล้ำกันได้ มีอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

เปิดผลสำรวจ ผู้ประกอบการไทยเสี่ยงกลายเป็น Zombie Firm 35% 

แม้เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การแฝงตัวของ Zombie Firm หรือ บริษัทซอมบี้ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาวอย่างไม่คาดคิด