เจอวิกฤตการเงินไม่ต้องช็อก 4 ขั้นตอนพยุงธุรกิจให้รอดยามคับขัน

 

     

     เรื่องเงิน คือ เรื่องใหญ่ของธุรกิจ โดยเฉพาะในเวลาที่คับขันเช่นนี้ เราจะบริหารจัดการเงินยังไงให้ธุรกิจประคองอยู่รอดได้ ลองทำตาม 4 ข้อนี้เลย

ปัญหาการเงินในภาวะวิกฤตมีอะไรบ้าง?

  1. การดำเนินการธุรกิจลดลง เช่น รายได้, การผลิต ฯลฯ
  2. ปัญหาสภาพคล่อง รายจ่าย มากกว่ารายรับ
  3. โอกาสเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
  4. ไม่สามารถแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ได้

              

4 ขั้นตอนบริหารการเงินในวิกฤต

      จากปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นในวิกฤตเราสามารถวิเคราะห์ และไล่เรียงลำดับวิธีการแก้ปัญหาได้ดังนี้

 1. จำแนกปัญหา เช็คสถานะทางการเงินปัจจุบัน

  • เช็คงบกระแสเงินสดระยะสั้น ว่ามีอยู่เพียงพอหรือไม่ คงเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถประคองไปได้อีกเท่าไหร่
  •  เช็คผลการดำเนินงานกับแผนธุรกิจ เช่น ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain แรงงานขาดแคลนไหม จัดลำดับความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้
  • ต้องการเงินทุนสนับสนุนอีกเท่าไหร่ และใช้เมื่อไหร่ โดยสามารถย้อนดูได้จากเงินสดรับกับเงินสดจ่าย ลองเรียงลำดับหนี้ที่ต้องจ่าย

 

2. ประเมินทรัพยากรและแหล่งทุนที่มี

  • ตรวจสอบวงเงินกับธนาคาร ยังมีวงเงินเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถเพิ่มขึ้นมาได้สูงสุดเท่าไหร่ ความยืดหยุ่นในข้อสัญญาเงินกู้สามารถผ่อนปรนอะไรได้บ้าง
  • แหล่งที่มาของเงินทุนอื่น มีอะไรอีกบ้าง เช่น เงินเก็บ, ครอบครัว, ทรัพย์สินที่มีอยู่
  • สอบถามผู้ถือหุ้นสามารถระดมทุนเพิ่มได้หรือไม่
  • มีสินทรัพย์อะไรที่สามารถแปลงเป็นทุนได้บ้างในเวลานี้ อะไรที่สามารถขายทอดตลาดได้
  • หาการสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ ผ่านโครงการต่างๆ

 

3. จัดทำแผนบริหารเงินสด

  • วางแผนงบประมาณการใช้เงินในแต่ละส่วนให้คุ้มค่าที่สุด
  • เจรจาต่อรองเจ้าหนี้และสถาบันการเงิน เพื่อขอผ่อนผันสัญญา
  • จัดหาเงินทุนเพิ่มเติม ไม่ว่าฝั่งเจ้าหนี้ หรือนักลงทุน
  • แจ้งสถานการณ์วิกฤตและการเงินของบริษัทให้แก่ผู้ร่วมรับผิดชอบและมีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบ
  • มองหาความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาเฉพาะด้านเพื่อมาช่วยแก้ปัญหา อาทิ ทีม HR เมื่อต้องมีการเลิกจ้างพนักงาน เป็นต้น
  • หาวิธีกระตุ้นยอดขาย หรือรายได้เสริมจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมในระยะสั้น

 

4. ติดตามผลแบบเรียลไทม์ เพื่อปรับแก้ให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  • อัพเดตสถานการณ์เป็นระยะๆ ประเมินสถานะทางการเงินอยู่ตลอดเวลา
  • ตรวจเช็คแผนการที่วางไว้ว่าเหมาะสมหรือสามารถช่วยแก้สถานการณ์ ณ ตอนนั้นได้หรือไม่
  • หาโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจในระยะยาว

     และนี่คือ 4 ขั้นตอนที่หากคิดไม่ออกว่าต้องแก้ปัญหาการเงินในวิกฤตยังไง ลองทำตามนี้ดูน่าจะช่วยให้ปัญหาการเงินของคุณถูกจัดเรียงอย่างเป็นระบบ และทำให้มองเห็นทางออกได้บ้าง

 

TEXT : เรียบเรียงจากงานสัมมนา “10 Ways  to improve your business”

ตอน : เทคนิคบริหารการเงินในภาวะวิกฤต

โดย "เศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์" ​ผู้ก่อตั้ง & Managing Director, Gnosis Company Limited

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้