รู้จัก โครงการ DR BIZ แก้หนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย โดยไม่เสียประวัติ

 

     ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ยังคงดำเนินต่อไปและมีแนวโน้มที่จะใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าจะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ แบงก์ชาติจึงได้ร่วมกับสถาบันการเงินเปิดตัวโครงการแก้หนี้สำหรับภาคธุรกิจ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” (โครงการดีอาร์บิส) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจกลุ่มที่ยังมีศักยภาพแต่ประสบปัญหาจากสถานการณ์เศรษฐกิจและมีเจ้าหนี้ธนาคารหลายราย ให้ได้รับการบรรเทาภาระหนี้ ผ่านแนวทางแก้ไขหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ตกลงร่วมกัน การเจรจาแก้ไขหนี้จึงได้ข้อยุติที่รวดเร็ว นอกจากนี้ อาจมีการพิจารณาให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้ที่มีแผนธุรกิจชัดเจน มีประวัติการชำระหนี้ดี และมีความตั้งใจในการทำธุรกิจ

ลูกหนี้จะได้ประโยชน์จากการสมัครเข้าร่วมโครงการ เช่น

  • ได้รับการบรรเทาภาระหนี้ ด้วยการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ เช่น ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ มีระยะเวลาปลอดหนี้
  •   ลดระยะเวลาเจรจาหนี้ การเจรจาแก้ไขหนี้ได้ข้อยุติที่เร็วขึ้น เนื่องจากลูกหนี้ติดต่อกับเจ้าหนี้จากหลายธนาคารได้ในคราวเดียว (one-stop) โดยหลังจากสมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว ธนาคารจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือน เมื่อได้รับข้อมูลและเอกสารจากลูกหนี้ครบถ้วน
  •  ไม่เสียประวัติด้านเครดิต ไม่ถูกรายงานวันที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเครดิตบูโร สำหรับบัญชีที่มีสถานะปกติ (ไม่เป็น NPL)
  • ธุรกิจไม่สะดุด เพิ่มสภาพคล่อง มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอรองรับการประกอบธุรกิจ

 

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

1. เป็นลูกหนี้ธุรกิจ ได้ทุกประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรม

2. มีเจ้าหนี้ธนาคาร ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป

3. มีสถานะหนี้ปกติ หรือเป็น NPL กับธนาคารบางแห่งตั้งแต่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ COVID-19

4. ต้องไม่ถูกฟ้องคดี ยกเว้นเจ้าหนี้ถอนฟ้อง

     โดยสามารถลงทะเบียนผ่าน  เว็บไซต์โครงการ DR BIZ  หรือติดต่อสมัครได้โดยตรงกับธนาคารที่มีหนี้อยู่ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

รายชื่อสถาบันการเงินหรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ร่วมโครงการแก้หนี้

1.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

2.ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

3.ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

4.ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส

5.ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

6.ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

7.ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

8.ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ.

9.ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

10.ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

11.ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

12.ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด

13.ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

14.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

15.ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

16.ธนาคารแห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น

17.ธนาคารอินเดียนโอเวอร์ซีส์

18.ธนาคารออมสิน

19.ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

20.ธนาคารดอยซ์แบงก์

21.ธนาคารอาคารสงเคราะห์

22.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

23.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

24.ธนาคารมิซูโฮ จำกัด

25.ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์

26.ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)

27.ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

28.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

29.ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

30.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

31.ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

32.ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

33.ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

34.ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

35.ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)

36.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

37.บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

38.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

     รายละเอียดเพิ่มเติม call center ของสถาบันการเงินทุกแห่งที่ร่วมโครงการ รวมถึงศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213 หรืออ่าน คำถาม-คำตอบที่พบบ่อยของโครงการ DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้