รู้หรือไม่ ใช้สกุลเงินบาทเสี่ยงน้อยกว่าใช้ดอลลาร์ในบางประเทศ

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย




           สกุลเงินดอลลาร์ ถือเป็นสกุลเงินที่ได้รับความน่าเชื่อถือจากคนทั่วโลกในฐานะสื่อกลางการแลกเปลี่ยนที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด กล่าวคือผู้ที่ทำการค้าขายระหว่างประเทศทั้งการนำเข้าและส่งออกต่างต้องใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นตัวกลางทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของเงินดอลลาร์ทำให้สกุลเงินอื่นๆ ได้รับผลกระทบตามไปด้วย


          กล่าวคือหากเงินดอลลาร์แข็งค่าก็จะทำให้ค่าเงินของประเทศอื่นๆ อ่อนค่าลงไปด้วยทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกต้องบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศโดยมีเงินดอลลาร์เป็นตัวชี้วัด


            นอกจากนี้การที่ต้องทำการค้าขายกับประเทศที่ไม่ได้ใช้เงินดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักก็ต้องมีการใช้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางอยู่ดีเพราะเวลาที่ทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศยังจำเป็นต้องใช้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางก่อนทำให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้น 





              ทำให้เกิดแนวทางที่จะช่วยลดต้นทุนและลดความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนให้กับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกโดยการที่เปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถใช้เงินบาททำธุรกรรมการเงินกับสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศที่ทำการค้าด้วยได้โดยตรง


           สกุลเงินที่สามารถทำแบบนี้ได้คือสกุลเงินหลักที่ไทยมีการทำการค้าด้วยเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นเงินหยวนของจีน เงินฮ่องกงดอลลาร์ เงินยูโร ตลอดจนสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการค้าชายแดนระหว่างกัน


           ธนาคารแห่งประเทศไทยคือหน่วยงานหลักในการดำเนินธุรกรรมดังกล่าวโดยได้ทำข้อตกลงกับประเทศคู่ค้าเอาไว้และจะทำการเก็บสกุลเงินท้องถิ่นของแต่ละประเทศไว้ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศและแบ่งโควต้าของสกุลเงินต่างๆ ให้กับธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจก็สามารถยื่นเรื่องกับธนาคารที่ใช้บริการเพื่อขอทำธุรกรรมการเงินกับสกุลเงินท้องถิ่นได้โดยตรง





           เมื่อตัดความผันผวนของสกุลเงินดอลลาร์ที่จะต้องทำการแลกเปลี่ยนกันออกไป การทำธุรกรรมระหว่างเงินบาทกับสกุลเงินท้องถิ่นก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคุมความผันผวนและต้นทุนทางการเงินไว้ได้


           นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังสามารถเปิดบัญชีที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศไว้กับธนาคารพาณิชย์ไทยได้เช่นกันซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมจัดการเงินสดในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ





            อย่างไรก็ตามการทำธุรกรรมโดยตรงกับสกุลเงินท้องถิ่นที่ไม่ใช่ดอลลาร์สหรัฐฯอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอจากนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้ประกอบการจึงต้องมีทางเลือกอื่นๆ ในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนไว้ด้วยเสมอ


             ด้วยนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะลดการอัดฉีดสภาพคล่องและมีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า จึงมีโอกาสที่เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นและสกุลเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่จะอ่อนค่าซึ่งอาจจะส่งผลดีต่อผู้ส่งออก แต่ขณะเดียวกันความผันผวนของเศรษฐกิจโลกยังมีอยู่อีกมาก ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องศึกษาเรื่องของการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนติดตัวไว้เสมอ




www.smethailanclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน