TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย
กระแสสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นเทรนด์ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ธุรกิจ SME ซึ่งถือเป็นรากฐานใหญ่ของภาคธุรกิจทั่วโลกและมีจำนวนผู้ประกอบการที่มากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่นั้นกลับมีแหล่งเงินทุนที่จำกัดทำให้เกิดความละเลยในการให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมเนื่องจากเงินทุนส่วนใหญ่ต้องนำไปใช้กับการผลิตให้ได้ปริมาณและเวลาตามที่ถูกว่าจ้างมา
ดังนั้น สถาบันการเงินในระดับนานาชาติ จึงได้มีนโยบายการปล่อยสินเชื่อสีเขียวให้กับธุรกิจ SME ซึ่งมีจุดเด่นคือต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำกว่าปกติตลอดจนการสนับสนุนทางด้านธุรกิจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอเพียงแค่ผู้ประกอบการมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้
สินเชื่อสีเขียวหรือ Green Finance เป็นหนึ่งในนโยบายการสนับสนุนสินเชื่อภาคธุรกิจของสถาบันการเงินในระดับนานาชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจมีความใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมตลอดจนหลักธรรมาภิบาลที่ดีตลอดจนหลักมนุษยธรรมซึ่งก่อนหน้านี้ถูกนำมาใช้กับการบริหารของบริษัทขนาดใหญ่มาแล้ว
การได้รับสินเชื่อสีเขียวจะทำให้ SME นำเงินทุนนั้นไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนนำไปปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพนักงานให้ได้ มาตรฐานและยังสามารถนำเงินทุนนั้นไปใช้ในการขยายธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง
นอกเหนือจากสินเชื่อจากธนาคารแล้วยังมีรูปแบบของเงินทุนอีกหลายรูปแบบ เช่น หุ้นกู้ การร่วมลงทุน คลาวด์ฟันด์ดิ้ง ฯลฯ โดยเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการเงินและบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทค
ทั้งนี้ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เป็นแกนนำในการส่งเสริมสินเชื่อสีเขียวให้เป็นกระแสหลักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยจะทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน Singapore Fintech Festival ในช่วงปลายปีนี้
เบื้องต้นได้กำหนดคุณสมบัติของ SME ที่จะมีสิทธิขอยื่นรับเงินทุนสินเชื่อสีเขียวจะต้องเป็นภาคการผลิตหรือภาคการบริการที่สามารถเขียนแผนธุรกิจที่บ่งบอกได้ถึงแผนการปรับปรุงระบบการจัดการภายในที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมในเรื่องของสิทธิมนุษยชนโดยมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 300,000 ดอลลาร์ สหรัฐฯหรือประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป
ดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีการว่าจ้างพนักงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปและไม่มีประวัติเสียหายในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนมาก่อน เช่น การจ้างแรงงานที่ผิดกฎหมาย การปล่อยสารพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในพื้นที่รอบๆ กิจการ
สินเชื่อที่ได้รับจะมีค่าเฉลี่ยของดอกเบี้ยอยู่ในระดับ 4-5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในค่าเฉลี่ยเดียวกับบริษัทขนาดใหญ่และหากมีความคืบหน้าที่ชัดเจนในการพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยเป็นขั้นบันไดในอนาคต
ผู้ประกอบการชาวไทยก็มีโอกาสที่จะได้รับสินเชื่อประเภทนี้เช่นกันหากมีสถาบันการเงินไทยที่เข้ารวมโครงการนี้ในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามก็อาจมีแนวโน้มที่จะได้เห็นสินเชื่อประเภทนี้จากธนาคารไทยเองโดยตรงเช่นกัน เพราะเรื่องของสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ความรับผิดชอบขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นแต่ทุกภาคส่วนของธุรกิจต้องให้ความร่วมมือด้วยกัน
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
RECCOMMEND: FINANCE
อยากพัฒนาธุรกิจเติบโต “ทุนวิจัยพัฒนาธุรกิจ” คือ หนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากจะช่วยประหยัดเงินการลงทุนแล้ว ยังมีที่ปรึกษาคอยให้แนะนำอีกด้วย วันนี้เลยมีตัวอย่างทุนช่วยพัฒนาธุรกิจจากหน่วยงานต่างๆ มาฝากกัน
ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร แนะการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs มีหลายสาเหตุ แต่การขอสินเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องยาก จะต้องรู้จักเทคนิค 5C+ ที่สถาบันการเงินใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ
ในภาวะคลื่นลมเศรษฐกิจแย่เช่นนี้ อยากมาชวนตั้งต้นวางแผนระบบการเงินให้ธุรกิจกันใหม่ และสำหรับใครที่เพิ่งกำลังจะเริ่มต้นธุรกิจ ก็ได้ใช้เป็นแนวทางป้องกันรัดกุม ให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดการเพลี้ยงพล้ำกันได้ มีอะไรกันบ้าง ไปดูกัน