SME พร้อมจริงไหม? 5 Checklist ก่อนคิดนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

 TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย





    SME หรือ Startup ที่มีขนาดธุรกิจใหญ่ถึงระดับหนึ่งอาจจะเริ่มมองหาโอกาสที่จะนำกิจการเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อที่จะขยายธุรกิจ ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจระดมทุนอยากให้ Checklist ความพร้อมของตัวเองใน 5 ประเด็นต่อไปนี้ดูเสียก่อน
 
 
ระบบบัญชีได้มาตรฐานหรือยัง
 

        สาเหตุที่ทำให้ SME หรือ Startup ไม่สามารถที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ก็เพราะขาดมาตรฐานการทำระบบบัญชีที่ตลาดหลักทรัพย์ให้การรับรอง ไม่ว่าจะเป็นผู้สอบบัญชีที่จะต้องอยู่ในรายชื่อของ ก.ล.ต. ระบบการลงบัญชีที่มีการซ้ำซ้อนหลายฉบับ ตลอดจนวิธีการได้มาซึ่งรายได้ที่มีความน่าสงสัยเช่น ผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่สามารถระบุที่มาได้อย่างชัดเจน

 
       การวางมาตราฐานบัญชีจากธุรกิจในครอบครัวเพื่อเตรียมตัวสู่มหาชนอาจต้องใช้เวลานานถึงสามปี ผู้ที่มีความคิดจะเข้าตลาดหุ้นจึงต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้าพอสมควร



 
 
วัตถุประสงค์ของการระดมทุน
 
       เป็นคำถามที่นอกจากต้องตอบที่ปรึกษาทางการเงินให้ได้แล้วยังเป็นคำถามที่นักลงทุนหรือผู้ถือหุ้นอยากจะรู้เป็นอันดับต้นๆ เสมอ เพราะจะบ่งบอกว่าธุรกิจจะมีทิศทางเป็นอย่างไรในอนาคต
 

       ส่วนมากแล้ววัตถุประสงค์ของการระดมทุนเพื่อที่จะนำไปใช้ในการขยายธุรกิจให้เติบโต แต่บางครั้งวัตถุประสงค์ของการเข้าตลาดหุ้นก็อาจจะมีเพื่อลดภาระหนี้สินได้เช่นกัน ซึ่งประวัติที่ผ่านมากิจการที่ใช้วัตถุประสงค์ดังกล่าวมักจะไม่ประสบความสำเร็จในการระดมทุนรวมถึงราคาหุ้นหลังเข้าจดทะเบียน ผู้ประกอบการจึงต้องพิจารณาถึงแนวทางการระดมทุนให้ดีเสียก่อน



 

โครงสร้างทางการเงินในอนาคต
 

        เจ้าของกิจการจำเป็นต้องวางโครงสร้างทางด้านการเงินเอาไว้เป็นแผนระยะยาวของบริษัททั้งก่อนและหลังเข้าตลาดหุ้น เช่น จะใช้เงินขยายธุรกิจจากการกู้เงินธนาคาร ออกหุ้นกู้หรือการเปิดรับผู้ถือหุ้นใหม่ในเชิง Strategic Partners เพราะนี่คือคำถามที่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องขอคำตอบจากเจ้าของกิจการ ซึ่งโครงสร้างทางด้านการเงินจะนำไปสู่แผนการขยายธุรกิจในอนาคต




 
โครงสร้างผู้ถือหุ้นหลังระดมทุน
 
 
        อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญหลังการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นก็คือโครงสร้างของผู้ถือหุ้น แม้กิจการส่วนใหญ่มักจะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นเพียงกลุ่มเดียวหรือครอบครัวเดียว แต่บางกิจการก็อาจจะมีกลุ่มผู้ถือหุ้นมากกว่าหนึ่งกลุ่มเช่นมีการเสนอขายหุ้นนอกตลาด  (OTC) หรือมีกลุ่มนักลงทุนวีซีหรือนักลงทุนสถาบันที่ถือหุ้นอยู่แล้ว
 

       ซึ่งเจ้าของกิจการจะต้องวางโครงสร้างของผู้ถือหุ้นไว้ว่าหลังเข้าตลาดหุ้นแล้วจะมีกลุ่มใดบ้าง หากจะมีการเปิดรับพันธมิตรหน้าใหม่เข้ามาอาจจะต้องมีการตกลงพูดคุยกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม




 
การแบกรับความคาดหวังจากผู้ถือหุ้น
 

       การเป็นบริษัทจำกัดอาจจะมีผู้ถือหุ้นเพียงกลุ่มเดียวหรือไม่กี่กลุ่มแต่การเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหุ้น เจ้าของกิจการต้องรับมือกับความคาดหวังของผู้ถือหุ้นหน้าใหม่ที่คาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในกิจการของเรา ปัจจัยนี้คือสิ่งที่เจ้าของกิจการจะต้องเตรียมตัวรับมือเอาไว้ด้วย
 
 
        ไม่ใช่ว่าการเข้าตลาดหุ้นจะมีแต่สิ่งดีเสมอไป หากเจ้าของกิจการได้ทำ Checklist  แล้วว่าการเข้าตลาดหุ้นไม่ได้เหมาะสมกับตัวเอง การฝืนเข้าระดมทุนอาจจะสร้างผลเสียให้กับตัวเองในอนาคตได้
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ SME

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้