วัดกันให้รู้! ธุรกิจเข้มแข็งแค่ไหน ด้วย 3 อัตราส่วนทางการเงิน “กำไร-ทุน-หนี้สิน”

      


     หากจะวัดความสามารถทางการแข่งขันรวมถึงความเข้มแข็งทางธุรกิจนอกเหนือจากปัจจัยเชิงคุณภาพอย่างเช่น โปรดักต์ที่มี ทีมพนักงานรวมถึงผู้นำองค์กรแล้ว ยังมีอีกวิธีการวัดผลที่เป็นรูปธรรมนั่นคือการดูที่อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีตัวชี้วัดดังต่อไปนี้
 
 

อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Margin)
 

      เป็นการคำนวนผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจเพื่อวัดว่าผลผลิตทุกชิ้นหรือบริการที่ให้กับลูกค้ามีผลกำไรเท่าไรเมื่อเทียบกับต้นทุน หากมีจำนวนมากเท่าไรก็แสดงว่าธุรกิจของเรามีความสามารถในการทำกำไรที่สูง
 

     ตัวอย่างเช่น ต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตสินค้าของเราอยู่ที่ 20 บาทบาทต่อชิ้น แต่เราขายสินค้าที่ราคา 100 บาท แสดงว่าเรามีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้อัตรากำไรขั้นต้นจะยังไม่นับรวมต้นทุนทางการเงิน เช่น ภาษี ดอกเบี้ย ฯลฯ เพื่อที่จะวัดผลการดำเนินงานทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว
 

      ทั่วไปแล้วธุรกิจที่มีอัตรากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จะถือว่ามีความสามารถในการแข่งขันที่สูง แต่หากต่ำกว่าระดับ 30 เปอร์เซ็นต์ อาจจะเริ่มมีความเสี่ยงหากมีปัจจัยลบเข้ามาอย่างกระทันหัน เช่นต้นทุนที่สูงขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลกำไร




 
ผลตอบแทนการลงทุน (ROI)
 

     ROI หรือ Return On Investment เป็นตัวเลขที่เกิดจากการประเมินว่าโปรเจกต์ต่างๆ ที่ได้ลงทุนไปนั้นจะสามารถให้ผลตอบแทนได้ในระดับเท่าใด โดยสามารถคำนวนได้จากการรวบรวมต้นทุนทั้งหมดของการดำเนินงานและนำผลตอบแทนคาดหวังที่น่าจะเกิดขึ้นมาหักล้างกันก็จะได้เป็นผลตอบแทนการลงทุนเพื่อที่จะประเมินได้ว่าการลงทุนนั้นๆ มีความคุ้มค่าเพียงใด
 

      ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีแผนที่จะสร้างโรงงานแปรรูปขยะให้สามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายคืนให้กับการไฟฟ้า โดยคำนวนต้นทุนการก่อสร้างทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 100 ล้านบาท โดยจะได้รับรายได้จากการขายไฟฟ้าเป็นจำนวน 40 ล้านบาทต่อปีและมีต้นทุนดำเนินงานปีละ 20 ล้านบาท เท่ากับโครงการดังกล่าวมี ROI อยู่ที่ 20 เปอร์เซ็นต์ และสามารถคืนทุนทั้งหมดได้ภายใน 5 ปี
 

       ทั่วไปแล้วตัวเลข ROI ควรจะอยู่ในระดับเลขสองหลักขึ้นไปถึงจะอยู่ในระดับที่คุ้มค่ากับการลงทุน



 
 
อัตราหนี้สินต่อทุน (D/E)
 

      เป็นอัตราส่วนที่ระบุว่าภาระหนี้สินทั้งระยะสั้นและระยยาวของบริษัทเมื่อเทียบกับส่วนของทุนที่มีอยู่มีอยู่มากน้อยเพียงใด ทั่วไปแล้วหากตัวเลขดังกล่าวมากกว่า 1:2 เท่าหมายถึงหากมีส่วนของทุน 100 บาท มีหนี้สิน 200 บาท หากมากกว่านี้จะบ่งบอกได้ว่าบริษัทอาจมีภาระหนี้ที่อาจเป็นต้นทุนที่สูงในอนาคตเช่นดอกเบี้ย
 

      อย่างไรก็ตามหนี้สินต่อทุนของบริษัทอาจจะมากกว่า 1:2 เท่าได้ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กที่กำลังเติบโตอาจจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง D/E อาจจะขึ้นไปได้ถึงระดับ 1:5 เท่า อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่ไปกับผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาวด้วย หากมองอนาคตแล้วสามารถสร้างผลตอบแทนจากการก่อหนี้เพิ่มในปัจจุบันก็อาจจะคุ้มค่าที่จะมีหนี้สินต่อทุนเพิ่มขึ้น
 

      อัตราส่วนทางการเงินทั้งสามเป็นดัชนีชี้วัดที่เจ้าของกิจการทุกรายควรให้ความสำคัญเพราะเป็นตัวบ่งบอกที่ชัดเจนว่าธุรกิจของเรามีความเข้มแข็งและคุ้มค่ากับการลงทุนมากน้อยเพียงใด
 
 
 
 
 
 www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน