ตลาดเงินปี’ 64 มีความเสี่ยง! จับตา 5 ปัจจัยส่งผลต่อเงินในกระเป๋า SME

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย





     ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ตลาดการเงินของโลกมีความผันผวนเป็นอย่างยิ่งจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด และในปี 2564 นี้ความผันผวนดังกล่าวจะยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในฐานะเจ้าของกิจการเราต้องเรียนรู้และเตรียมรับมือกับเรื่องใดบ้างเราไปดูกัน
 

ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
 
    
     การแก้ไขปัญหากการแพร่ระบาดไวรัสโควิดส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องใช้นโยบายทางการเงินที่หลากหลายเข้ามาจัดการ ตลอดจนปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนในประเด็นสงครามการค้า ทำให้แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่างๆ จะมีความผันผวนมากยิ่งขึ้นในปี 2564
 
    
     แม้ความผันผวนอาจลดลงจากการที่โดนัลด์ทรัมป์ ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อในสมัยที่สอง แต่นโยบายทางการทูตของสหรัฐฯ และจีนภายใต้การนำของผู้นำคนใหม่ยังคงไม่เปลี่ยนไป



 
 
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าในระยะยาว
 

     แม้แนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนจะมีความผันผวน แต่แนวโน้มหลักของค่าเงินบาทจะเป็นแนวโน้มที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปลายปี 2563 ได้แข็งค่าหลุดระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจส่งออกจำเป็นต้องหาเครื่องมือในการช่วยป้องกันความเสี่ยงค่าเงินบาทเป็นอย่างยิ่ง
 

แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
 

     หนึ่งในมาตราการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดก็คือการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ลงต่ำซึ่งเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย แม้ว่าผู้กำหนดนโยบายจะระบุว่าอัตราดอกเบี้ยยังไม่น่าจะมีแนวโน้มขาขึ้นในระยะสั้นเนื่องจากผลกระทบจากไวรัสโควิดยังไม่หมดลงไป แต่ในฐานะผู้ประกอบการปัจจัยนี้ยังไม่สามารถที่จะวางใจได้ ยังคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง



 

มาตราการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการ
 
 
     ปี 2563 สถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชนต่างออกนโยบายผ่อนคลายทางด้านการชำระหนี้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้ พักหนี้ตลอดจนลดอัตราดอกเบี้ย สิ่งที่ต้องจับตาในปี 2564 คือนโยบายดังกล่าวจะยุติลงหรือไม่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่กิจการยังไม่ฟื้นจากไวรัสโควิด
 
 
ราคาน้ำมันจะมีการฟื้นตัวหรือไม่
 

     ปี 2563 ถือเป็นปีที่ราคาน้ำมันลดลงต่ำจากความต้องการใช้พลังงานที่ลดลง แต่ในปี 2564 จะต้องจับตาว่าราคาน้ำมันจะมีการฟื้นตัวหรือไม่เพราะจะมีผลต่อต้นทุนของการดำเนินธุรกิจรวมถึงจะผลักดันให้ราคาเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งการที่เงินเฟ้อสูงขึ้นแต่สภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อภาคธุรกิจ




 
     ภาพรวมของตลาดการเงินในปี 2564 น่าจะยังมีความผันผวนต่อเนื่องจากปี 2563 โดยปัจจัยที่ต้องจับตาคือการแจกจ่ายวัคซีนต้านไวรัสโควิดว่าจะมีความรวดเร็วและได้ผลมากน้อยเพียงใดเพราะหากไวรัสใช้ได้ผลก็จะมีส่วนที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
 
 
 
 
 
www.smethailandclub.com  
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอ

RECCOMMEND: FINANCE

เปิด 5 Trick วางแผนการเงินเฮง! รับปีใหม่ ขาดทุนเป็นศูนย์ ทำกำไรทะลุเป้า

ในภาวะคลื่นลมเศรษฐกิจแย่เช่นนี้ อยากมาชวนตั้งต้นวางแผนระบบการเงินให้ธุรกิจกันใหม่ และสำหรับใครที่เพิ่งกำลังจะเริ่มต้นธุรกิจ ก็ได้ใช้เป็นแนวทางป้องกันรัดกุม ให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดการเพลี้ยงพล้ำกันได้ มีอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

เปิดผลสำรวจ ผู้ประกอบการไทยเสี่ยงกลายเป็น Zombie Firm 35% 

แม้เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การแฝงตัวของ Zombie Firm หรือ บริษัทซอมบี้ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาวอย่างไม่คาดคิด

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน