3 ตัวอย่างทางบัญชีที่ SMEs พึงระวังอย่าให้เกิด

 




เรื่อง กฤษณา สังข์วงค์

    SME ขนาดเล็กมักจะเกิดอาการปวดเศียรเวียนเกล้ากับปัญหาการเงินที่เกิดจากการลงบัญชีที่ผิดพลาด ลองมาดู 3 ตัวอย่างและบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจเพื่อจะได้ระมัดระวังมากขึ้น!!

ตัวอย่างที่ 1 เกิดความสับสนในกำไรของกระแสเงินสด

    ผู้ประกอบการบริษัทหนึ่ง ซึ่งกำลังทุ่มทุนไปกับการขยายตลาดเป็นอย่างมากมักจะจดบันทึกกำไรที่ได้ในแต่ละวันลงบนกระดาษ แต่เมื่อถึงสิ้นเดือน หลังคำนวณอย่างดีแล้วกลับพบว่าแทบไม่มีกำไรเหลือเลย นั่นเกิดจากการที่จ่ายเงินเพื่อขยายตลาดมากกว่าการได้รับเงินเข้ามา แต่ทั้งนี้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ด้วยการกู้ยืมเงินจากสินเชื่อบัตรเครดิต และมันได้กลายเป็นหนี้สินก้อนโต เมื่อทำเช่นนี้ติดต่อกันหลายปี

    บทเรียน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในกำไรของกระแสเงินสด คุณจำต้องเปรียบเทียบรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ และเมื่อตระหนักได้ว่าธุรกิจมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ ก็ควรลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งจะช่วยให้หนี้สินลดลงตามไปด้วย

ตัวอย่างที่ 2 นับยอดขายเป็นรายได้ก่อนสินค้าส่งถึงมือลูกค้า

    มีหลายบริษัทที่มองยอดขายของบริษัทเป็นรายได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วยอดขายจำนวนนั้นเป็นเพียงยอดขายสินค้าที่สินค้ายังส่งไม่ถึงมือลูกค้าด้วยซ้ำ และจากเหตุการณ์นี้เอง ทำให้ผู้ประกอบการต้องประสบปัญหาทางการเงิน และจำต้องตัดสินใจยุติการวางแผนเพื่อพัฒนาธุรกิจไว้ชั่วคราว

    บทเรียน   จงจำไว้เสมอว่า “ยอดขาย” จะไม่ถูกนับว่าเป็นรายได้จนกว่าสินค้าหรือบริการจะส่งถึงมือลูกค้า และงานบัญชีของธุรกิจจะเกิดความคลาดเคลื่อนแน่นอน หากเผลอคำนวณมันเป็นรายได้ของธุรกิจ

ตัวอย่างที่ 3 ไม่พิจารณาเงินทุนก่อนการจ่ายครั้งใหญ่

    ผู้ประกอบการหลายคนมักควักเงินก้อนโตเพื่อจ่ยไปกับการวางเซิร์ฟเวอร์หรือจัดซื้ออุปกรณ์ชิ้นใหญ่ๆ สำหรับใช้ในธุรกิจโดยขาดการไตร่ตรองให้ถี่ถ้วนก่อนจ่ายว่าสิ่งเหล่านั้นจำเป็นและถึงเวลาต้องซื้อแล้วหรือไม่ และที่สำคัญ ผู้ประกอบการหลายรายยังนำเงินสำรองของธุรกิจมาจ่าย ซึ่งนี่เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้มโดยไม่รู้ตัว

    บทเรียน   เมื่อจำเป็นต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ การเช่าทรัพย์ (Leasing) เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยประหยัดเงิน ถ้าสิ่งที่ต้องการซื้อเป็นเพียงอุปกรณ์ที่ใช้ชั่วคราวเท่านั้น

Crate by smethailandclub.com

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้