Main Idea
- ในสภาวะที่ทั้งไทยและทั่วโลกต้องเผชิญกับมรสุมรุมเร้าจากวิกฤตเศรษฐกิจเข้ามาหลายด้านพร้อมๆ กัน การประคองตัวให้อยู่รอด ธุรกิจมีสภาพคล่องไปได้ดีตลอด ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ SME ต้องผ่านไปให้ได้ในช่วงนี้
- นอกจากความพยายามหารายได้ให้เข้ามาแล้ว อัตราดอกเบี้ยจากแบงก์ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่หลายแบงก์ต่างมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ถือเป็นโอกาสช่วยลดรายจ่ายให้กับ SME ได้ แต่ขณะเดียวกันการลงทุนก็ต้องระมัดระวังความเสี่ยงเช่นกัน
ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจไทยในปี 2563 เปิดไตรมาสแรกขึ้นมาดูทีท่าว่าจะตุ้มๆ ต่อมๆ เสียแล้ว จากมรสุมรุมเร้าหลายลูกด้วยกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ที่มีแนวโน้มชะลอตัว ปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2563 ที่ล่าช้า ล่าสุดยังเคราะห์ซ้ำกรรมซัดมาเจอไวรัสโควิด 19 อีกส่งผลให้นักท่องเที่ยวหายเกลี้ยง!
สำหรับธุรกิจใหญ่ที่มีสายป่านยาว ยังอาจพอประคองตัวให้รอดไปได้บ้าง แต่สำหรับผู้ประกอบการ SME แล้ว เรียกว่าปัจจัยลบต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบไปแบบเต็มๆ กันเลยทีเดียว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ SME จะต้องปรับตัวเพื่อหาทางรอด เพราะหากขาดสภาพคล่องไป ก็จะทำให้เราอยู่ยากกันมากขึ้น โดยนอกจากการบริหารธุรกิจด้วยตัวเองแล้ว ดอกเบี้ยจากแบงก์ก็เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจเช่นกัน
- แบงก์ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ทั่วโลก
จากการสังเกตจะเห็นได้ว่าในช่วงนี้แบงก์เกือบทุกแห่งมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate) หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แบงก์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระที่แน่นอน ซึ่งจะมีผลต่อการกู้เงินมาลงทุนใหม่ช่วยผ่อนเบาภาระหนี้รวมของ SME ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายให้ลดลงไปมาก
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และได้มีมติเป็นเอกฉันท์ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.25 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.00 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เพื่อพยุงเศรษฐกิจ
นริศ สถาผลเดชา” ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics
นอกจากนี้ยังมีการจับตาดูว่าการประชุมกนง. ในวันที่ 25 มีนาคมที่จะถึงนี้ว่าจะเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์หรือไม่ โดยคาดว่าอาจจะมีการหั่นอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25 เปอร์เซ็นต์ หลังธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50 เปอร์เซ็นต์หรือมาอยู่ในกรอบที่ 1.00 - 1.25 ไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีการจับตาดูว่าการประชุมกนง. ในวันที่ 25 มีนาคมที่จะถึงนี้ว่าจะเป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์หรือไม่ โดยคาดว่าอาจจะมีการหั่นอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.25 เปอร์เซ็นต์ หลังธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50 เปอร์เซ็นต์หรือมาอยู่ในกรอบที่ 1.00 - 1.25 ไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
จากการที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเรื่อยๆ เช่นนี้จะส่งผลดีผลเสียกับ SME อย่างไร วันนี้ SME Online ได้มีโอกาสพูดคุยกับกูรูการเงินและนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ “นริศ สถาผลเดชา” ผู้บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ได้กล่าวว่าอัตราดอกเบี้ยสำหรับ SME ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ 3 ประเภท คือ MLR, MRR และ MOR โดยมองว่าหากอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลงไปอีก ก็จะช่วยให้ SME มีรายจ่ายภาระดอกเบี้ยลดลงตามทันที แต่ก็ไม่ใช่ว่าดอกเบี้ยขาลงแล้ว SME จะสบายใจได้ทั้งหมด ควรต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงินด้วย
ทั้งนี้หากคิดจะเอาเงินไปลงทุนใหม่ ควรศึกษาปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกต้องคิดหน้าคิดหลังกันให้ดีๆ เพราะหลายอย่างในตอนนี้ต่างได้รับผลกระทบกันเป็นลูกโซ่ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการที่คิดจะกู้เงินธนาคารในช่วงดอกเบี้ยขาลงมาลงทุนใหม่ ก็ต้องศึกษาข้อมูลผลกระทบให้รอบด้านก่อน
- ลงทุนใหม่อย่างไรให้ปลอดภัย
สำหรับใครที่ไม่กล้านำเงินไปลงทุนใหม่ ขอแนะนำว่าควรกระจายเม็ดเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง เช่น เงินฝาก การซื้อกองทุนในระยะสั้น เพื่อให้เงินมีผลตอบแทนกลับมาบ้าง ดีกว่าเอาไปลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือเอาไปลงทุนขยายกิจการที่หากยังไม่มั่นใจ ก็อย่าเพิ่งลงทุน และควรใช้รูปแบบการลงทุนแบบกระจาย ไม่ควรลงทุนแบบกระจุกตัวที่ใดที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตามยังมองว่าอัตราดอกเบี้ยขาลงจะเป็นโอกาสให้บางอุตสาหกรรมและมีความเสี่ยงในบางอุตสาหกรรมเช่นกัน จึงอยากให้ผู้ประกอบการอย่าตื่นตระหนกกับเรื่องนี้มาก ควรศึกษาแผนการลงทุนให้รอบคอบ ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยมองว่ามีโอกาสที่กนง. จะปรับลดลงอีก 1 รอบในเร็วๆ นี้ ในส่วนของเศรษฐกิจภาพรวมมองว่าน่าจะชะลอตัวไปถึงกลางปีนี้ ส่วนสถานการณ์ปลายปี คงต้องประมาณกันอีกรอบ
ไม่เพียงเท่านี้นอกจะต้องจับตาดูเรื่องดอกเบี้ยและหาทางสร้างโอกาสจากดอกเบี้ยขาลงแล้ว ผู้ประกอบการ SME ควรจับตาดูค่าเงินบาทด้วย โดยมองว่าอาจมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ SME ที่นำเข้าวัตถุดิบการผลิตมาจากต่างประเทศจะเสียเปรียบ เพราะมีต้นทุนการผลิตที่สูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยลบจากไวรัสโควิด19 ที่จีน ทำให้การนำเข้าวัตถุดิบมีปัญหา เพราะส่วนใหญ่ SME มักนำเข้าวัตถุดิบมาจากจีน
นับว่าเป็นปีที่ไม่ง่ายเลยจริงๆ สำหรับ SME ที่ต้องเผชิญมรสุมหลายด้าน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ซึ่งหากจะมองให้เป็นโอกาสก็สามารถเป็นได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังสภาพคล่องด้านการเงินด้วย โดยผู้ประกอบการควรต้องศึกษาหาวิธีนำเงินไปลงทุนต่อยอดหลายด้าน เพื่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนเข้ามาหล่อเลี้ยงธุรกิจ เมื่อยามที่ธุรกิจเจอปัจจัยเสี่ยงเช่นนี้
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจSME