น้ำท่วมหายห่วง! SME D Bank ออกสินเชื่อฉุกเฉินฟื้นฟูกิจการ ดอกเบี้ยพิเศษผ่อนสบาย 0.415% ต่อเดือน

     SME D Bank พร้อมยืนเคียงข้างผู้ประกอบการ SME ประสบภัยน้ำท่วม ออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อใช้ฟื้นฟูกิจการ สำหรับลูกค้าเดิมคิดอัตราเพียง 0.415% ต่อเดือน ผ่อนนาน 5 ปี ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มบุคคลธรรมดาทั่วไปเริ่มต้น 0.417% ต่อเดือน เปิดบริการยื่นกู้ออนไลน์ตลอด 24 ชม.



 

     พงชาญ สำเภาเงิน รองกรรมการผู้จัดการ   รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank  เผยว่า  จากภัยน้ำท่วม ในหลายพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ และอีสาน ส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการ SME ได้รับความเสียหายและประสบปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการประกอบธุรกิจ ก่อนหน้านี้  ธนาคารจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้นไปแล้ว โดยพักชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าธนาคาร สำหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term loan) พักชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ส่วนสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ออกมาตรการช่วยเหลือพักชำระดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน


     ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย  และเข้าสู่ขั้นตอนการฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ธพว. จึงได้ออก มาตรการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ สำหรับลูกค้าเดิมของ ธพว. ทั้งกลุ่มบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหาย ได้มีเงินทุนไปใช้ฟื้นฟูและหมุนเวียน  คิดอัตราดอกเบี้ย 0.415% ต่อเดือน  ผ่อนนานสูงสุด 5 ปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ไม่เป็นภาระแก่ผู้ประกอบการมากเกินไป  ปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี โดยให้วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อราย ดังนี้  

1.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติ
รวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท

2.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติ
รวมมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท  

3.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติ
มากกว่า 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ทั้งนี้รวมวงเงินเดิมแล้วไม่เกิน 15 ล้านบาท ส่วนหลักประกันให้พิจารณาหลักประกันเดิมก่อน และสามารถใช้หลักประกัน บสย. ค้ำประกัน เฉพาะมาตรการที่เพิ่มไม่เกิน 2 ล้านบาท  


     สำหรับผู้ประกอบการ SME ทั่วไป   ทางธนาคารได้เตรียมสินเชื่อพิเศษที่เหมาะสมไว้คอยให้บริการเช่นกัน ได้แก่   สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) เพื่อให้เป็นเงินทุนหมุนเวียน  ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ  เปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรแปรรูป ธุรกิจท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวชุมชน ผู้ประกอบการใหม่ มีนวัตกรรม  กลุ่มค้าส่งค้าปลีก ร้านโชห่วย ร้านค้าชุมชน  ร้านธงฟ้า  และผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตร เป็นต้น ระยะเวลากู้ยืมนานสูงสุด 7 ปี  คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ  บุคคลธรรมดา วงเงินกู้สูงสุด 2 ล้านบาทต่อราย  ช่วง 3 ปีแรก คิดอัตราดอกเบี้ย 0.417% ต่อเดือน   จากนั้นปีที่ 4-7 อัตรา MLR ต่อปี และหากยกระดับเป็น  นิติบุคคล  วงเงินกู้สูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย  คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ  3 ปีแรก  เพียง 0.25% ต่อเดือน จากนั้นปีที่ 4-7 อัตรา MLR ต่อปี


     นอกจากนั้น ยังมีสินเชื่อ Transformation Loan เสริมแกร่ง  ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME มีทุนใช้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ชิ้นส่วนอุปกรณ์  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงยานพาหนะที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น รถเครน รถโม่ปูน เรือขุดเจาะ เป็นต้น  อัตราดอกเบี้ย 0.333%ต่อเดือน   ตลอดระยะกู้ยืมนานสูงสุด 7 ปี
 

     พงชาญ ระบุด้วยว่า สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งลูกค้าเดิมของ ธพว. และผู้ประกอบการทั่วไป สามารถยื่นขอสินเชื่อผ่านออนไลน์ที่แอปพลิเคชัน  ‘SME D Bank’ ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วันของสัปดาห์   รวมถึง ติดต่อได้โดยตรงผ่านสาขาของ ธพว. ทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่Call Center หมายเลข 1357   


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้