นักลงทุนเชื่อมั่นแห่ซื้อพันธบัตร ธพว. วงเงินซื้อสูงกว่าขาย 4 เท่า




     ธพว.สุดปลื้มพันธบัตร4 พันล้านบาท ขายหมดอย่างรวดเร็ว วงเงินซื้อสูงกว่าเสนอขาย 4 เท่าตัว  สะท้อนนักลงทุนเชื่อมั่นเชื่อgสูง เพราะ ก.คลังค้ำประกันทั้งต้นและดอกเบี้ย พร้อมนำไปปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนเอสเอ็มอีไทยได้กว่า 6 หมื่นราย กระตุ้นเศรษฐกิจขับเคลื่อนเกือบ3 แสนล้านบาท

 
     พงชาญ สำเภาเงิน รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เผยว่า จากที่ธนาคารได้ออกพันธบัตรธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 2วงเงิน 4,000 ล้านบาท  อายุ  5 ปี8เดือน  จัดประมูลเมื่อวันที่ 2 กันยายน2562 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากนักลงทุนสูงมาก ขายหมดอย่างรวดเร็ว     

     โดยมีจำนวนวงเงินเสนอซื้อมากกว่าเสนอขายถึง 4 เท่าตัว หรือมากกว่า 18,000 ล้านบาท อีกทั้ง อัตราผลตอบแทนที่ประมูลได้ต่ำสุด 1.492% ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรอยู่ที่ 2.15%บ่งบอกได้ดีว่า พันธบัตร ธพว. เป็นที่เชื่อมั่นและต้องการของนักลงทุนอย่างมาก เนื่องจากมีความมั่นคงสูง โดยกระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย อีกทั้ง ธนาคารมีสถานะความแข็งแกร่งจากการจัดอันดับเครดิตองค์กร โดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัดอยู่ในระดับ AAA ถือเป็นระดับสูงสุดเท่ากับCreditRating ของรัฐบาลไทย

 
     ทั้งนี้ จากการออกพันธบัตรฯ ของธนาคารที่ผ่านมา  วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งด้านสภาพคล่อง ทำให้ธนาคารมีต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสมในระยะยาว สามารถนำไปปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี  ผ่านโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน  ได้อย่างเพียงพอ   คาดว่า สิ้นปีนี้ (2562) จะอำนวยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ตามเป้าหมาย 60,000 ล้านบาท  สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนได้กว่า 60,000 ราย   มีส่วนช่วยขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจในระบบเกือบ 300,000 ล้านบาท



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้