กรุงศรี ออโต้ ขยายสินเชื่อรีไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์ เชื่อพอร์ตแตะ 30,000 ล้าน รักษาเจ้าตลาดครบวงจร




     กรุงศรี ออโต้ ผู้นำธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ครบวงจร เครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เผย “กรุงศรี มอเตอร์ไซค์” รักษาตำแหน่งเจ้าตลาดสินเชื่อรถจักรยานยนต์ 7 ปีซ้อน โตแข็งแกร่งสวนตลาด ด้วยยอดสินเชื่อใหม่ครึ่งปีแรก 10,600 ล้านบาท เติบโต 19 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อนหน้า พร้อมเปิดตัว คาร์ ฟอร์ แคช มอเตอร์ไซค์ ขยายบริการสินเชื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการด้านการเงินเพื่อผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ มั่นใจยอดสินเชื่อคงค้างรวม 30,000 ล้านบาท ภายในปีนี้


     กฤติยา ศรีสนิท กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กรุงศรี มอเตอร์ไซต์ ยังคงสามารถรักษาตำแหน่งเจ้าตลาดในธุรกิจสินเชื่อรถจักรยานยนต์เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน โดยผลการดำเนินการครึ่งปีแรก 2562 เติบโตโดดเด่น ด้วยยอดสินเชื่อใหม่ 10,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สวนกระแสตลาดสินเชื่อรถจักรยานยนต์ครึ่งปีแรกซึ่งยอดปล่อยสินเชื่อลดลง 3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยอดขายรถจักรยานยนต์หดตัว 4 เปอร์เซ็นต์ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ”


     กฤติยา กล่าวเสริมว่า “การเติบโตที่แข็งแกร่งของ กรุงศรี มอเตอร์ไซค์ เป็นผลจากการดำเนินกลยุทธ์ใน 3 ด้าน (3D) ได้แก่ ด้านแรก Dealership เราได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับดีลเลอร์เพื่อทำความเข้าใจความต้องการด้านสินเชื่อของลูกค้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ และออกแบบเงื่อนไขให้สอดคล้องกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม รวมถึงเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการให้บริการ ส่งผลให้ยอดการปล่อยสินเชื่อใหม่ต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  

     นอกจากนี้ เรายังวางกลยุทธ์ในด้าน Disruption โดยนำนวัตกรรมสินเชื่อยานยนต์ดิจิทัล กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท เข้ามาอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้เช็กวงเงินประเมินบนโมบายเว็บก่อนเลือกรถ ซึ่งไม่เพียงแค่ผลักดันการเติบโตของยอดสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ยังช่วยตอกย้ำตำแหน่งผู้นำด้านสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้รถได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ Diversification โดยมุ่งขยายบริการสินเชื่อให้ครบวงจรยิ่งขึ้น เพื่อเข้าถึงลูกค้าในเซ็กเมนต์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”


     “ในครึ่งปีหลัง กรุงศรี มอเตอร์ไซค์ ยังมุ่งต่อยอดกลยุทธ์ Diversification ด้วยการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ครอบคลุมทุกจังหวะชีวิต (Life Stage) ตั้งแต่การซื้อรถ ไปจนถึงตอนที่ลูกค้าเป็นเจ้าของรถแล้ว เราจึงได้เสริมทัพการให้บริการด้วย คาร์ ฟอร์ แคช มอเตอร์ไซค์ สินเชื่อเพื่อคนมีรถจักรยานยนต์ เพิ่มทางเลือกแหล่งเงินทุนสำหรับเจ้าของรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก และบิ๊ก ไบค์ ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่อง ยิ่งไปกว่านั้น เราได้เริ่มผสานนวัตกรรม กรุงศรี ออโต้ พร้อมสตาร์ท เข้ากับช่องทางโซเชียลมีเดียของดีลเลอร์ เพื่อนำบริการสินเชื่อไปอยู่ในช่วงเวลาที่ลูกค้ากำลังตัดสินใจซื้อรถ ควบคู่ไปกับการสนับสนุนการขายของดีลเลอร์ ตอกย้ำความตั้งใจของเราที่ว่า เมื่อลูกค้านึกถึงเรื่องสินเชื่อรถจักรยานยนต์ ต้องนึกถึง กรุงศรี มอเตอร์ไซค์”


     “ในปี 2562 เราตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ไว้ที่ 20,000 ล้านบาท หรือเติบโต 13 เปอร์เซ็นต์  ส่งผลให้ยอดสินเชื่อคงค้างรวมทะลุ 30,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อนหน้า และครองส่วนแบ่ง 40 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดยอดสินเชื่อรถจักรยานยนต์” กฤติยา กล่าวปิดท้าย


     กรุงศรี มอเตอร์ไซค์ ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending) ตามแนวทางของกรุงศรี ออโต้ ซึ่งพิจารณาให้สินเชื่อที่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระคืนของลูกค้า รวมถึงการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค ส่งเสริมเสถียรภาพของตลาดสินเชื่อ และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้