KKP บุกกลุ่มลูกค้าคุณภาพสูง รองรับความไม่แน่นอนสภาพเศรษฐกิจ




     กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร-KKP ปรับสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อ เน้นเพิ่มกลุ่มลูกค้าคุณภาพที่ให้ผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยง (Risk-Adjusted Return) ที่สูง เพื่อสร้างการเติบโตแบบมีภูมิคุ้มกันต่อสภาวะเศรษฐกิจ เผยครึ่งปีแรกเติบโต 2.1 % โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อบรรษัท (17 %) สินเชื่อลอมบาร์ด (3.9 %) และสินเชื่อธุรกิจ (0.6 %) ด้านธุรกิจตลาดทุน  ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง บล.ภัทรขึ้นครองส่วนแบ่งตลาดนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อันดับ 1 ในขณะที่ธุรกิจ Wealth Management  มีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำเพิ่มขึ้นเป็น 547,000 ล้านบาท และยังคงรุกหน้าบริการการลงทุนในต่างประเทศที่ครอบคลุมสินทรัพย์หลากหลายและผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน
 

     อภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า “ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกที่ผ่านมาผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจฯ ได้รับผลกระทบจากสภาวะของตลาด ไม่ว่าจะการหดตัวของการลงทุนภาคเอกชน การส่งออก จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลง ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งในอนาคตยังมีความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าและภัยแล้ง ทำให้ธนาคารเลือกที่จะเติบโตอย่างระมัดระวัง (Cautionary Growth)
 

     อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะครึ่งปีแรก สำหรับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ขนาดสินเชื่อของธนาคารยังคงสามารถรักษาอัตราการเติบโตที่ 2.1 % โดยเฉพาะในกลุ่มของสินเชื่อบรรษัท (Corporate Lending) สินเชื่อลอมบาร์ด (Lombard Loan) และสินเชื่อธุรกิจ (Commercial Lending) ซึ่งล้วนเป็นสินเชื่อที่ให้แก่ลูกค้ากลุ่มที่มีเครดิตดี และน่าจะให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอแม้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายและมีความไม่แน่นอนสูง โดยสินเชื่อทั้งสามกลุ่ม มีการเติบโต 17% 3.9% และ 0.6% ตามลำดับ ในส่วนของสินเชื่อลูกค้ารายย่อย ก็มีการขยายตัวในสินเชื่อเกือบทุกประเภทเช่นกัน มีเพียงสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ธนาคารชะลอการเติบโตโดยมุ่งรักษาคุณภาพสินเชื่อ เพื่อลดการก่อตัวของหนี้เสียในสถานการณ์เศรษฐกิจหดตัว ทั้งนี้ แม้อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย ก็เป็นการปรับตัวตามความคาดหมายและตามรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ได้เพิ่มสัดส่วนสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ให้อัตราผลตอบแทน (yield) ที่ดีกว่ารถยนต์ใหม่”
 

     ในส่วนของธุรกิจตลาดทุนอภินันท์กล่าวว่ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของธุรกิจนายหน้าค้าหลักหลักทรัพย์ ซึ่งบล.ภัทรมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่ง ธุรกิจวานิชธนกิจ ซึ่งคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังและปีหน้าจะมีรายได้จากธุรกรรมใหญ่หลายรายการที่บล.ภัทรได้รับเลือกให้ดำเนินการ และที่สำคัญธุรกิจ Wealth Management ซึ่งมีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำเพิ่มขึ้น เป็น 547,000 ล้านบาท


     โดยยังคงรุกหน้าเพิ่มผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีความซับซ้อนระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อาทิ Equity-Linked Notes, Principal-Protected Notes, Phatra Derivative Warrants, Phatra Single Stock Future Blocktrade ฯลฯ ทั้งยังบุกเบิกบริการด้านการลงทุนตรงในสินทรัพย์ต่างประเทศที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นกองทุน หรือตราสารหนี้ ผ่านการร่วมมือกับบริษัทจัดการกองทุนระดับโลก อาทิ BlackRock และ PIMCO หรือแม้กระทั่งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ Private Markets เป็นครั้งแรกในประเทศไทยภายใต้ชื่อ Global Investment Service นอกจากนี้ ธุรกิจจัดการกองทุนที่ดำเนินการผ่านบลจ. ภัทร ก็มีการเติบโตดี มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการของกองทุนรวมเป็นจำนวนกว่า 69,891 ล้านบาท
 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้