SME ต้องจับตา 3 ปัจจัย ส่งผลต่อธุรกิจไทยครึ่งปีหลัง 2562




Main Idea
 
  • ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ชะลอตัวลงต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส จากการส่งออกที่หดตัวลงของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากสงครามการค้า 
 
  • แต่การใช้จ่ายในประเทศ ยังเป็นตัวหนุนให้เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวเป็นบวกได้ ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจดังกล่าวศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า จะยังต่อเนื่องไปยังไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ 
 
  • ขณะที่สงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจ ปัจจัยการเมืองไทย และภาวะภัยแล้ง นับเป็น 3 ปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง


     อาจเป็นการเปิดศักราชที่ไม่งดงามนัก เมื่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2562 ชะลอตัวลงต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ร้อยละ 3.2 จากแรงฉุดจากการส่งออกที่หดตัวลง ตามภาวะการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากสงครามการค้า ซึ่งส่งผลต่อการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะภาคการผลิตอุตสาหกรรม (Manufacturing) ชะลอลงอย่างมากตามการหดตัวของการส่งออก ในขณะที่การชะลอตัวลงของภาคการท่องเที่ยวส่งผลต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งโรงแรม ที่พักอาศัย ร้านอาหาร และค้าปลีก ค้าส่ง ให้ชะลอตัวลงเช่นกัน





     ในขณะที่ภาพรวมการใช้จ่ายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังเป็นตัวหนุนให้เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวเป็นบวกได้ ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจดังกล่าวคาดว่า จะยังต่อเนื่องไปยังไตรมาสที่ 2 ของปี โดยการใช้จ่ายครัวเรือนจะยังเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกลางปี ตามยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ยังขยายตัวในอัตราที่สูง ในขณะที่กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ช่วยหนุนการใช้จ่ายภาคเอกชนให้เพิ่มขึ้นตาม แต่ยังต้องติดตามภาวะภัยแล้งที่มีความเสี่ยงจะลากยาวไปถึงเดือนกรกฏาคมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรในไตรมาสที่ 2 ให้ลดลง
           



     3 ปัจจัยส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2562



     ในขณะที่เศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2562 ยังมีความไม่แน่นอนอยู่หลายประการ ประเด็นแรกคือสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังต้องติดตามผลการเจรจาระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ที่คาดว่าจะมีการพบปะพูดคุยกันในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ (G20) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 28-29 มิถุนายน 2562 อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ไม่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น จะมีผลต่อบรรยากาศการค้าโลก ตลอดจนภาพรวมการส่งออกทั้งปีของไทยให้ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 3.2 (กรอบประมาณการร้อยละ 2.5-3.5)
ปัจจัยต่อมาคือการจัดตั้งรัฐบาล





     หากกระบวนการจัดตั้งรัฐบาลแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน จะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นที่คาดว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันก็เร่งกระบวนการงบประมาณประจำปี 2563 เพื่อให้มีเม็ดเงินงบประมาณที่จะใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง อันน่าจะเป็นภาพเชิงบวกต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง
               

     นอกจากนี้ยังต้องติดตามภาวะภัยแล้งที่มีความเสี่ยงจะลากยาวไปถึงเดือนกรกฎาคมซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกรในไตรมาสที่ 2 ให้ลดลง
       



     ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ไว้ที่ร้อยละ 3.7 เพื่อรอประเมินปัจจัยความไม่แน่นอนทั้งจากภายนอกและภายในประเทศดังกล่าว ซึ่งหากสถานการณ์ลากยาวออกไป จะส่งผลให้ GDP ทั้งปี 2562 ขยายตัวโน้มเข้าสู่กรอบล่างของประมาณการที่ร้อยละ 3.2-3.9
               

     ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงไม่แน่นอน ผู้ประกอบการ SME ก็ต้องเตรียมพร้อมรับมืออย่างใกล้ชิดด้วย
               

     ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี



 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้