SME D Bank ควงแขน คลังจังหวัด เสิร์ฟมาตรการแฟคตอริ่งทั่วไทย




     SME D Bank ผนึกพลัง คลังจังหวัด ปูพรมเสิร์ฟ ‘มาตรการแฟคตอริ่งเสริมสภาพคล่อง SMEs’ ทั่วประเทศ หนุนผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าภาครัฐนำเอกสารทางการค้า เปลี่ยนเป็นเงินสดไว้เป็นทุนสำรองหมุนเวียนได้ทันทีโดยไม่ต้องรอตรวจรับงวดงาน รับเงินด่วนภายในวันเดียว คิดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 0.583% ต่อเดือนเท่านั้น
 

     นายพงชาญ สำเภาเงิน รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว). หรือ SME D Bank เผยว่า ธนาคารได้รับการสนับสนุนจากคลังจังหวัด   กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง  ให้เข้าร่วมออกบูธนำเสนอมาตรการแฟคตอริ่งเสริมสภาพคล่อง SMEs วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท ในโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้ประกอบการซึ่งเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ
 

     โดยทางคลังจังหวัดจะเดินสายจัดอบรมความรู้เรื่องการทำธุรกิจกับภาครัฐแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศกว่า 50 ครั้ง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป  อาทิ วันที่ 23 พฤษภาคม ณ ศาลากลาง จ.สุโขทัย  และศาลากลาง จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 27 พฤษภาคม ณ ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน จ.มหาสารคาม วันที่ 28 พฤษภาคม ณ ห้องประชุมศาลากลาง จ.เพชรบุรี และวันที่ 30 พฤษภาคม ณ โรงแรมกระบี่ มารีไทม์ จ.กระบี่ เป็นต้น โดยผู้ประกอบการที่สนใจใช้บริการมาตรการดังกล่าวสามารถไปยื่นกู้ภายในงานได้ทันที
 

     ทั้งนี้มาตรการแฟคตอริ่งเสริมสภาพคล่อง SME วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท ธนาคารมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นคู่ค้าภาครัฐ เช่น หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่นและองค์การมหาชน เป็นต้น  โดยมาตรการนี้มีความพิเศษเมื่อส่งมอบงานแล้ว สามารถเปลี่ยนเอกสารทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นใบส่งของ ใบส่งงาน มาเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ทันทีโดยไม่ต้องรอตรวจรับงวดงาน สามารถเบิกรับเงินได้ภายในวันเดียว  ซึ่งธนาคารพร้อมจะรับซื้อสูงสุด 90 เปอร์เซ็นต์ของมูลหนี้ทางการค้า ให้เครดิตนานถึง 180 วัน วงเงินกู้สูงสุด 15 ล้านบาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษเฉลี่ยเพียง 0.583 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือนเท่านั้น
 

     สำหรับคุณสมบัติผู้กู้ในมาตรการดังกล่าวต้องเป็นนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจมาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ไม่มีประวัติการละทิ้งงาน หรือถูกบอกเลิกสัญญา  โดยมาตรการนี้ มีระยะเวลา  1 ปี หรือจนกว่าจะวงเงินมาตรการจะหมด
 

     “ความร่วมมือกับคลังจังหวัดครั้งนี้  ธนาคารเชื่อว่าจะผลักดันให้มาตรการแฟคตอริ่งฯ  เข้าถึงผู้ประกอบการที่คู่ค้าภาครัฐได้อย่างทั่วถึง สร้างประโยชน์ให้ผู้ประกอบการมีเงินทุนสำรองเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการ โดยไม่ต้องมีหลักประกัน” นายพงชาญกล่าว

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้