ทุกวันนี้การแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างสูง ผู้บริหารแต่ละเจ้าก็งัดกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้กันอย่างเต็มกำลัง ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการแบบแปลกๆใหม่ ๆ เทคนิคการขายที่มากยิ่งขึ้น ซ้ำยังมีการติดตามลูกค้า และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ “การลดต้นทุน” หรือที่ได้ยินทับศัพท์บ่อย ๆ ว่า Cut Cost
ซึ่งค่าใช้จ่ายของบริษัททั่วๆไป จะมีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ ด้วยกันคือ
1. ค่าใช้จ่ายแบบที่เรียกว่า “ต้นทุนคงที่” (Fixed Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ทุกๆเดือนจะต้องจ่ายเป็นจำนวนเงินเท่า ๆ กัน เช่น ค่าเช่าบริษัท, ค่าอินเตอร์เน็ต ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จะต้องนำมาคำนวณราคาต้นทุนด้วยเหมือนกัน แต่เราสามารถกำหนดเป็นราคาที่ตายตัวได้
2. ค่าใช้จ่ายแบบไม่คงที่ (Variable Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถกำหนดได้อย่างตายตัว จะขึ้นกับปริมาณการใช้งานที่มากหรือน้อย เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะถูกนำมาคิดต้นทุนแต่เป็นต้นทุนแบบคาดคะเนล่วงหน้าได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากเราต้องการที่จะลดต้นทุนของสินค้า เราน่าจะเล็งไปที่การลดต้นทุนที่ตัว Fixed Cost แทน เพราะการลด Fixed Cost นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีผลกระทบต่อรายได้โดยตรง แต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อค่าใช้จ่ายต่อเดือนลดลง รายรับที่เข้ามาก็เยอะขึ้นกลายเป็นกำไรเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่นหากเราขายสินค้า 1 ชิ้น ขณะที่ ต้นทุนในการผลิต + การขนส่ง+ การโฆษณา + การหีบห่อและบรรจุภัณฑ์+ การพิมพ์ + ค่าแรง และ ค่าเฉลี่ยของ Fixed Cost รวมแล้ว ราคาขายสินค้าอยู่ที่ 790 บาท เมื่อขายสินค้าได้กำไรที่เราได้รับอาจจะอยู่ที่ 150 บาทโดยประมาณ แต่หากเราลด Fixed Cost ได้เหลือ 50 บาทต่อชิ้น เหมือนกับเราได้กำไรมาเพิ่มอีก 50 บาททันที
เห็นไหมครับ ต้นทุนลดลงเห็น ๆ ยิ่งถ้าท่านต้องการแข่งขันกับเจ้าอื่นด้วยราคาสินค้าแล้วล่ะก็ จะเห็นได้ว่า สามารถลดราคาลงได้อีก 20-50 บาททำให้ราคาถูกลงเมื่อเทียบกันในตลาดอีกด้วย
แล้วเจ้า Fixed Cost ที่ว่านี้ ควรจะต้องลดตัวไหนบ้าง เพื่อให้ไม่กระทบกับธุรกิจโดยรวม มาลองดูคร่าว ๆ นะครับ ว่าท่านอาจจะลดบางตัวได้
1. ความเร็วของอินเตอร์เน็ตช้าลงหน่อย : บางบริษัทใช้งาน อินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วสูงที่สุด เพื่อต้องการให้เร็วการใช้งานรวดเร็ว แต่บางครั้ง การลดความเร็วอินเตอร์เน็ตลงซักหน่อยก็จะช่วยให้ประหยัดได้ระยะยาว
2. ขนาดของบริษัทเล็กลงหน่อย : พื้นที่ทำงานไม่จำเป็นต้องมีขนาดที่ใหญ่โตมาก แต่ขอให้สะดวก ไม่แออัดเกินไป ก็พอ จะทำให้ Fixed cost ลดไปได้เยอะเลย
3. รถเช่าของผู้บริหาร : ยกเลิกไปก่อนให้ใช้ของตัวเอง แต่อาจจะมีค่าน้ำมันงอกขึ้นมาเล็กน้อย หรือใช้รถยี่ห้อถูกลงก็น่าจะพอไหว
4. ไม่ใช้ประกันสินทรัพย์ : ลองพิจารณามูลค่ารวมของสินทรัพย์ธุรกิจ บางทีอาจจะไม่ต้องใช้ประกันสินทรัพย์ ก็จะช่วยลด Fixed cost ไปได้สูงเลย
5. การใช้งานตัว Software License ที่มีราคาแพง ให้ทางท่านลองหนีไปใช้ Could : หากท่านต้องจ่ายค่า Software License พวก Windows Server, SQL และอื่นๆ ลองหันมาใช้ Could Services ดูบ้าง จ่ายเท่าที่ใช้ เป็นตัวเลือกที่ดีเชียว วันใดวันหนึ่งไม่อยากใช้ ก็สามารถยกเลิกไปได้ ไม่ต้องแบกรับภาระ Software License และ Hardware ที่ต้องเสียเปล่า
6. Outsource : หากต้องจ้างพนักงานบัญชี พนักงานขนส่ง พนักงานขับรถขนส่ง ลองจ้างบริษัทภายนอกเข้ามาทำงานเหล่านี้ดู ค่าใช้จ่ายน่าจะลดลงไปมาก
7. อุปกรณ์ประหยัดไฟ : ควรเลือกอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานและประหยัดไฟ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟลงไปมาก และที่สำคัญก็อย่าลืมปิดไฟ ถอดปลั๊ก เมื่อไม่ได้ใช้ด้วย
หากลด Fixed cost เหล่านี้ได้แล้ว เราก็จะมีต้นทุนตั้งต้นเพื่อจะทำให้ง่ายต่อการคิดต้นทุน หรือแม้กระทั่งเป็นแผนค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปขอสินเชื่อ เพื่อ SME ได้โดยง่ายอีกด้วยครับ เนื่องจากเรามีตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ตายตัวและสามารถแจกแจงให้ทางธนาคารทราบได้ว่าเราต้องใช้เงินก้อนนี้ทำอะไรบ้าง
สุดท้ายนี้ขอให้ธุรกิจ SME ของทุกท่านประสบความสำเร็จและมีกำไรกันมาก ๆ ส่วนผมคงต้องปิดคอมพักสายตาซักหน่อยเพื่อลดต้นทุนบ้าง....อิอิ
ที่มาของ infographic: ธนาคารกรุงศรีอยุธยา