​ก.ล.ต. เพิ่มทางเลือกระดมทุนให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพด้วยหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง







     ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์และร่างประกาศเพื่อรองรับการเสนอขายหุ้นกู้ผ่านผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์แบบคราวด์ฟันดิง (crowdfunding) เพื่อส่งเสริมให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในต้นทุนที่เหมาะสม 


     พราวพร เสนาณรงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ก.ล.ต. มีหลักเกณฑ์การเสนอขายหุ้นคราวด์ฟันดิงที่ใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2558 เพื่อให้เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพที่มีโครงการธุรกิจชัดเจนสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี ก.ล.ต. ต้องการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้กิจการดังกล่าวนอกเหนือจากในรูปของหุ้น จึงสนับสนุนการออกกฎเกณฑ์รองรับการเสนอขายหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง
 

     ในครั้งนี้ ก.ล.ต. จึงปรับปรุงหลักเกณฑ์พร้อมร่างประกาศคราวด์ฟันดิงโดยเพิ่มหลักทรัพย์ให้รวมถึงหุ้นกู้ด้วย ซึ่งจะใช้แนวทางการกำกับดูแลลักษณะเดียวกับการเสนอขายหุ้นคราวด์ฟันดิง โดยครอบคลุมหลายประเด็น อาทิ (1) การอนุญาตให้บริษัทสามารถเสนอขายหุ้นกู้ผ่านระบบคราวด์ฟันดิงได้ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นกู้แบบมีประกันหรือไม่มีประกัน (2) ต้องเสนอขายผ่านฟันดิงพอร์ทัลที่ได้รับความเห็นชอบ โดยฟันดิงพอร์ทัลดังกล่าวต้องมีระบบงานเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือและระดับความเสี่ยงของบริษัทที่เสนอขายหุ้นกู้ รวมทั้งเปิดเผยปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาด้วย (3) เพิ่มวงเงินเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายย่อยแต่ละรายจากไม่เกิน 5 หมื่นบาทเป็นไม่เกิน 1 แสนบาท โดยนับรวมหุ้นและหุ้นกู้ (4) เพิ่มวงเงินลงทุนรวมของผู้ลงทุนรายย่อยในหุ้นและหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงจากไม่เกิน 5 แสนบาทในรอบ 12 เดือนเป็นไม่เกิน 1 ล้านบาทในรอบ 12 เดือน และ (5) เพิ่มความยืดหยุ่นในการระดมทุน โดยยกเลิกการแยกวงเงินเสนอขายต่อผู้ลงทุนรายย่อยและผู้ลงทุนที่มิใช่รายย่อย
 

     นอกจากนี้ ก.ล.ต. ยังปรับปรุงประกาศคราวด์ฟันดิงให้มีความสอดคล้องกับประกาศอื่นๆ ยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงนิยามกิจการเงินร่วมลงทุนและนิติบุคคลร่วมลงทุนให้สอดคล้องกับนิยามภายใต้เกณฑ์การออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัล และปรับปรุงเกณฑ์การเสนอขายหุ้นของบริษัทจำกัดโดยผู้ถือหุ้น กรณีการเปลี่ยนมือหุ้นคราวด์ฟันดิงในตลาดรองให้สอดคล้องกับการเสนอขายในตลาดแรก เป็นต้น
 

     ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th/hearing ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ได้จนถึงวันที่ 28 มกราคม 2562


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้