​TMB BIZ WOW แค่ทำธุรกรรมการเงิน SME ก็โตได้!





 

     จากการประกาศเรื่องการยกเลิกค่าธรรมเนียมของหลายธนาคาร ช่วยให้ประชาชน และผู้ประกอบการ SME ได้ประโยชน์มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว แค่ธุรกรรมการเงินอย่างเดียว อาจไม่สามารถตอบโจทย์ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SME ได้ เพราะเหตุนี้ ทีเอ็มบี ได้เล็งเห็นช่องทางในการนำเสนอสิทธิประโยชน์ให้กับกลุ่มลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและร่วมพัฒนาศักยภาพให้เติบโตไปด้วยกัน ด้วยแนวคิดการให้ลูกค้าได้มากกว่า (Get MORE with TMB) ทั้งในเรื่องของ MORE Benefits ที่ให้สิทธิประโยชน์ที่มากกว่าเพื่อต่อยอดธุรกิจ MORE Time เพื่อให้ SME มีความคล่องตัวและมีเวลามากขึ้น และ MORE Possibilities ที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจและการเงิน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการ SME
 

     โดยหนึ่งในแคมเปญที่ทางทีเอ็มบี มุ่งตอบโจทย์ความต้องการในการให้สิทธิประโยชน์ที่มากกว่าสำหรับลูกค้า SME  นั่นคือ รีวอร์ดโปรแกรมเพื่อ SME โดยเฉพาะ: “TMB BIZ WOW” ซึ่งเป็นครั้งแรกของเมืองไทย ที่ให้ลูกค้าเปลี่ยนการทำธุรกรรมการเงิน เป็นสิทธิประโยชน์เพื่อต่อยอดการทำธุรกิจให้เติบโตและคล่องตัวขึ้น ในเรื่องนี้ ดร.รุจิกร ภาวสุทธิไพศิฐ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า TMB BIZ WOW เกิดจากการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้า โดยพบว่าลูกค้า SME ที่มีรายได้ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปีนั้น มีการทำธุรกรรมต่อเดือนประมาณ 80 – 100 ครั้ง มากกว่าพนักงานปกติหรือบุคคลธรรมดาถึง 4 เท่า
 

     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ผ่านมาจำนวนครั้งของการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ก็สูญเปล่า ไม่สามารถนำไปใช้ต่อยอดอะไรได้เลย ทีเอ็มบีจึงออกโปรแกรม TMB BIZ WOW นับเป็นครั้งแรกของระบบธนาคารในเมืองไทยที่ให้ลูกค้า SME เอาธุรกรรมมาแลกเปลี่ยนเป็นสิทธิประโยชน์เพื่อธุรกิจได้จริงๆ โดยในการทำธุรกรรมแต่ละครั้งลูกค้าจะได้ WOW เป็นคะแนนสะสมสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเป็นคอร์สหรือเวิร์คช้อปต่างๆ มีตั้งแต่ความรู้เพื่อต่อยอดธุรกิจ เช่น เวิร์คช้อปการสร้างสินค้าอย่างไรให้โดนใจลูกค้า การบริหารการลงทุนและภาษี หรือจะแลกเป็นตัวช่วยเพื่อให้การทำธุรกิจราบรื่น เช่น ระบบโลจิสติกส์และคลังสินค้าต่างๆ รวมไปถึงด้านการตลาดเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ SME นอกจากนี้ สิทธิประโยชน์ดังกล่าวยังรวมไปถึงการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ประกอบการ ทั้งการพักผ่อนและการเดินทางได้อีกด้วย
 

     “ตัว WOW เปรียบเสมือนเงินสดหรือส่วนลดที่สามารถนำไปใช้แลกสิทธิประโยชน์กับพาร์ทเนอร์ของธนาคาร ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนคะแนน WOW และปริมาณของธุรกรรมที่ใช้แลก เช่น เพียงแค่เปิดบัญชีธุรกิจ TMB SME One Bank บวกกับใช้บริการ TMB BIZ TOUCH ก็ได้ WOW แล้ว 50 คะแนน หรือโดยปกติ SME ต้องมีการรับเงินจากลูกค้าอยู่แล้ว ถ้ามีเงินเข้ามาในบัญชี TMB SME One Bank ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป โดยจะโอนเงินมาจากช่องทางไหนก็ได้จะได้รับ WOW 5 คะแนน หรือจะเป็นการโอนจ่ายก็ได้รับคะแนน WOW ทั้งสิ้น ซึ่งลูกค้าสามารถเก็บสะสม WOW ไปเรื่อยๆ เพื่อเป็นรีวอร์ดนำไปแลกสิทธิประโยชน์ได้”
 




     อย่างไรก็ดี ด้วยคอนเซปต์ของทางธนาคารที่ต้องการให้ลูกค้าได้มากกว่า ดร.รุจิกร บอกว่า ทีเอ็มบี ไม่ได้มุ่งเน้นแค่การให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินเท่านั้น แต่ต้องการที่จะเป็นพาร์ทเนอร์เพื่อที่จะทำให้ SME เติบโตขึ้นและได้ประโยชน์ที่มากกว่าแค่การทำธุรกรรมทางการเงิน
 

     “เราเชื่อมั่นว่า โปรแกรม TMB BIZ WOW จะส่งเสริมให้ลูกค้าเกิดการทำธุรกรรมกับทางทีเอ็มบีมากขึ้น ถ้าเขาทำธุรกรรมกับเรามากขึ้น เราก็จะเข้าใจเขามากขึ้น พอเข้าใจเขามากขึ้น ก็จะสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น นอกจากนี้ เรายังมุ่งเน้นที่จะให้ลูกค้า SME ได้มากกว่าในเรื่องขององค์ความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดการทำธุรกิจ เพราะเมื่อเราให้เขาได้มากขึ้น เขาก็จะเติบโตมากขึ้นและจะกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ขึ้น ดังนั้นจึงเหมือนกับว่าธนาคารเติบโตไปพร้อมๆ กับลูกค้า วันนี้เราไม่ได้มองในเชิงปริมาณของการทำธุรกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงการรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว รวมถึงการช่วยให้ SME สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจได้มากขึ้น โดยที่มีสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของทางธนาคารเป็นตัวช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับ SME นั่นเอง”
 

     เรียกได้ว่า เป็นอีกปีของทีเอ็มบีกับการรุกตลาด SME อย่างจริงจัง ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การตอบโจทย์ทางการเงินเท่านั้น แต่เป็นการตอบโจทย์ความสำเร็จของ SME ด้วยตัวช่วยที่ให้มากกว่าอย่าง TMB BIZ WOW ที่เปรียบเหมือนกุญแจไขสู่การเติบโตของ SME นั่นเอง



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้