ความเชื่อมั่น SME ไทยฟื้น พุ่ง! สูงรอบ 1 ปี




     ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics เปิดเผย “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1/2561 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 1,268 รายทั่วประเทศ สำรวจโดยศูนย์บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี (RMC) ทีเอ็มบี พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปัจจุบันของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปีมาอยู่ที่ระดับ 40.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 35.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน การปรับตัวดีขึ้นมาจากทั้งความเชื่อมั่นด้านรายได้และความเชื่อมั่นด้านต้นทุนที่ดีขึ้น โดยความเชื่อมั่นด้านรายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49.2 สูงสุดในรอบ 5 ปี และดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออก กรุงเทพและปริมณฑล เนื่องจากได้รับแรงส่งการค้า การส่งออกและการท่องเที่ยวที่เติบโตต่อเนื่อง ในขณะความเชื่อมั่นด้านต้นทุนพบว่าอยู่ที่ 31.1 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน จะเห็นว่าในภาพรวมผู้ประกอบการมีความกังวลด้านต้นทุนลดลงและส่วนใหญ่กังวลในเรื่องต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ปรับขึ้นในเดือนเมษายนนี้


     สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 49.7 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 51.9 จากไตรมาสก่อน โดยความเชื่อมั่นด้านรายได้ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 63.3 ลดลงจากระดับ 65.9 ในไตรมาสก่อน และดัชนีความเชื่อมันด้านต้นทุน 3 เดือนข้างหน้าลดลงจาก 37.8 ในไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 36.1 ในไตรมาสนี้ จึงกดดันดัชนีความเชื่อมั่น 3 เดือนข้างหน้าให้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย


     เมื่อพิจารณาเจาะลึกลงไปที่ดัชนีความเชื่อมั่นด้านรายได้ในปัจจุบันของ SME ที่ปรับดีขึ้นสูงสุดในรอบ 5 ปี ผู้ประกอบการ SME ส่วนใหญ่ตอบว่า มีสาเหตุมาจากสองปัจจัยหลักคือ หนึ่ง...ปัจจัยเศรษฐกิจฟื้นตัว ได้แก่ ลูกค้าเก่า/ใหม่สั่งซื้อสินค้ามากขึ้น ยอดขายเติบโตตามห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการส่งออกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลบวกจากนโยบายภาครัฐ (อาทิ ธงฟ้าประชารัฐ การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ) และสอง...ปัจจัยการเข้าสู่ฤดูกาลขาย ได้แก่ เข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตร ช่วง high season การท่องเที่ยว เข้าสู่เทศกาลรื่นเริง เข้าหน้าแล้งทำให้การก่อสร้างง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจความเชื่อมั่นด้านรายได้ พบว่าปัจจัยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีจำนวนผู้ตอบที่มากกว่าปัจจัยการสู่เข้าฤดูการขาย ชี้ว่าผู้ประกอบการเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น




     นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี Head of Economist ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี กล่าวว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี ที่ปรับตัวดีขึ้นสูงขึ้น สอดคล้องกับสัญญาณการฟื้นตัวของเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจอื่นๆ ได้แก่ รายได้ภาคเกษตรที่ดีขึ้นเนื่องจากได้รับอานิสงส์จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ภาคการท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการ SME ที่ขยายตัว และการจ้างงานที่ทยอยปรับตัวดีขึ้นพร้อมกับจำนวนชั่วโมงการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ชี้ถึงสภาพแนวโน้มดีมานด์ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2560 เป็นต้นมา ส่วนข้อกังวลของผู้ประกอบการเรื่องค่าจ้างแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนเมษายนที่ผ่านมา อาจไม่ส่งผลกระทบในภาพรวมมากนัก โดยอาจกระทบกำไรสุทธิให้ลดลงประมาณ 0.2% โดยรวม ถือว่าสภาพแวดล้อมธุรกิจ SME เริ่มมีข่าวดีมากขึ้น ซึ่งเราประเมินว่าหากสามารถรักษาโมเมนตัมแรงส่งทางเศรษฐกิจนี้ไว้ได้ ภาวะเศรษฐกิจของ SME จะมีทิศทางที่สดใสตลอดทั้งปี 2561”


     อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ TMB มองว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น SME ได้รับอานิสงส์จากกำลังซื้อที่กลับมาช่วยการดำเนินธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงหันไปใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น ธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องขยายการดำเนินธุรกิจไปสู่โลกยุคดิจิทัล เพื่อสร้างตลาดใหม่ๆ เพื่อให้ได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ 


     “ปัจจุบันใน Digital Ecosystem มีธุรกิจและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์และเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจ ตัวอย่างเช่น   1) ธุรกิจที่ช่วยส่งเสริมการตลาด (Channel) ได้แก่  Facebook, Lazada, Shopee, Tarad.com, Agoda, Booking.com ฯลฯ ซึ่ง SME ใช้เป็นช่องทางขายและประชาสัมพันธ์ผ่าน E-commerce  2) ระบบอำนวยความสะดวกในการชำระเงินการซื้อขายสินค้าและบริการ (Payment) ได้แก่ Internet Banking, Mobile Baking, E-Wallet, QR code ฯลฯ 3) ธุรกิจรับ-ส่งสินค้า (Transportation) ซึ่งส่งสินค้าให้ถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนต่ำ เช่น บริษัทไปรษณีย์ไทย, Kerry Express, DHL, LINE Man, GrabFood, Foodpanda ฯลฯ  และหากธุรกิจ SME ขยายตัวใหญ่ขึ้น SME ก็สามารถเลือกใช้บริการ 4) ระบบการวิเคราะห์และบริหารจัดการธุรกิจและการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ (Management) ที่จะเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการธุรกิจของท่านได้ เช่น Google Analytics, Facebook Insights เป็นต้น” นายเบญจรงค์กล่าว


     ในโลกธุรกิจต่อไป นอกจาก SME ต้องเติมเต็มความสามารถด้วย Digital Ecosystem แล้วสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ SME ก้าวเดินต่อไปอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องความเข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าตนเอง  ต้องผลิตสินค้าด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม ต้องบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญต้องมีมาตรฐานบริการที่ดีควบคู่ไปด้วย




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้