​กสิกรไทย งัดกลยุทธ์ “ฟรี” เพิ่มกำไรให้แม่ค้าออนไลน์







     กลายเป็นโอกาสให้กับธุรกิจออนไลน์ทำกำไรได้เพิ่มขึ้น เมื่อธนาคารกสิกรไทยประกาศ “ฟรีค่าธรรมเนียม” ตลอดไป สำหรับบริการ “โอน เติม จ่าย” ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2561 เป็นต้นมาทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด เพราะการฟรีค่าธรรมทั้งฝั่งรับเงินและจ่ายเงินนั้น สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการออนไลน์มียอดขายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต้นทุนยังลดลงอีกด้วย


     จากการเปิดเผยของ พัชร สมะลาภา  กรรมการผู้จัดการ  ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในฝั่งขารับเงินจากลูกค้าผ่าน K PLUS SHOP ที่ผ่านมาค่าธรรมเนียมโอนเงินต่างธนาคาร นับเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ทั้งนี้ เมื่อมีการปลดล็อกค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทำให้แม่ค้าออนไลน์มีโอกาสที่ยอดขายจะเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ฝั่งขาจ่ายเงินให้กับคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ ผ่าน K PLUS ก็ช่วยลดต้นทุน เพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจ ซึ่งต่อจากนี้ผู้ประกอบการออนไลน์สามารถทำธุรกิจได้โดยใช้บัญชีเดียว ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อในอนาคตด้วย



 

     ไม่เพียงแต่การฟรีค่าธรรมเนียมเท่านั้น ธนาคารกสิกรไทยยังเพิ่มโอกาสธุรกิจให้กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ได้ขายของออนกราวน์ ด้วยการสนับสนุน พื้นที่ฟรี! สำหรับขายของ ในงาน K PLUS PEEPSTER MARKET จำนวน 60 ร้านค้า ณ ลานพดด้วง ธนาคารกสิกรไทย พหลโยธิน เมื่อวันที่ 28-30 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการออนไลน์ขยายฐานลูกค้าใหม่และเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น อีกทั้ง ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) โดยจบงาน 3 วัน มียอดธุรกรรมผ่าน K PLUS SHOP จำนวน 5,200 รายการ เป็นยอดชำระเงิน 1.8 ล้านบาท นอกจากนี้ ธนาคารยังมีแผนการจัดงาน K PLUS PEEPSTER MARKET ทุกๆ 3 เดือน


     จากการสนับสนุนของธนาคารกสิกรไทยดังกล่าวนี้ ทั้งฟรีค่าธรรมเนียม และการเพิ่มช่องทางการขายให้แก่ผู้ประกอบการนั้น เรียกได้ว่า เป็นการเปิดโอกาสและสร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการออนไลน์ เพื่อให้สามารถทำธุรกิจได้ง่าย และสะดวกยิ่งขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า การแข่งขันของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูงมาก มีผู้ค้าออนไลน์เกิดใหม่แทบทุกวัน หรือแม้แต่ผู้บริโภค ยังผันตัวเองไปเป็นผู้ขายกันได้ง่ายๆ ดังนั้น หากธุรกิจมีตัวช่วยที่ดี ย่อมทำให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ สามารถซื้อง่าย ขายคล่องได้กว่าคนอื่นๆ ที่ไม่มีตัวช่วยอะไรเลย และที่สำคัญยังถือเป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ที่จะพลิกโฉมให้การซื้อขาย และทำธุรกิจในอนาคตเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นและเรื่องเร่งด่วนที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวตามให้ทัน โดยธนาคารกสิกรไทยนั้น พร้อมให้การสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างเต็มที่





     สำหรับ K PLUS SHOP เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ร้านค้าทำธุรกิจได้คล่องตัวยิ่งขึ้น ทั้งการขายของผ่านออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีฟีเจอร์เด่น คือ การแจ้งเตือนเงินเข้าแบบเรียลไทม์ทั้งเจ้าของและพนักงาน เจ้าของสามารถเพิ่มสิทธ์พนักงานรู้การแจ้งเตือนเงินเข้าสูงสุด 10 คน โดยเจ้าของไม่จำเป็นต้องอยู่หน้าร้าน สรุปยอดขายได้รายชั่วโมง รายวัน รายเดือน สามารถดึงข้อมูลออกจากระบบเพื่อมาวิเคราะห์ต่อได้ รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ การสะสมแต้ม เพื่อสร้างการซื้อต่อเนื่องให้กับลูกค้าประจำ

 

 
     นอกจากนี้ ยังฟีเจอร์ที่เด่นสำหรับแม่ค้าออนไลน์อีกอย่างก็คือ การสร้าง QR Code สรุปยอดโอนให้ลูกค้าแต่ละราย และสามารถส่งผ่านโซเชียลมีเดียได้ทันที ระบบจะตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินของลูกค้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยป้องกันการปลอมแปลงสลิป หมดปัญหาเรื่องสลิปปลอม เพราะระบบจะแจ้งสถานะให้แม่ค้าออนไลน์ทราบโดยไม่ต้องตรวจสอบซ้ำอีกรอบ ซึ่งต่างจากแอปฯทั่วไปในตลาดตอนนี้

 


     พร้อมกันนี้ พัชร ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยมีร้านค้าใช้แอปฯ K PLUS SHOP จำนวน1.2 ล้านร้านค้า มีจำนวนธุรกรรม 2.41 ล้านรายการและมูลค่าการทำธุรกรรมรวม 2,718 ล้านบาท ซึ่งการสนับสนุนผู้ค้าออนไลน์ของธนาคารในครั้งนี้จะทำให้สิ้นปีมีร้านค้าใช้แอปฯ K PLUS SHOP เพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านร้านค้า และมีมูลค่าการทำธุรกรรมรวม 4,100 ล้านบาท 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้