EXIM BANK ส่ง 2 สินเชื่อใหม่ เพิ่มโอกาสการเงิน SME







     สำหรับแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 2561 มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญในการเปลี่ยนผ่านโครงสร้างการส่งออกไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ EXIM BANK จึงได้พัฒนาบริการใหม่ “สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อโซนพิเศษ (EXIM Special Zone Credit)” เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง นวัตกรรม และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (S-curve) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสินค้าของไทยไปสู่การสร้างแบรนด์สินค้าของไทยในตลาดโลก
 

     จากการเปิดเผยของ พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับสินเชื่อดังกล่าว จะเป็นผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าไปลงทุนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)  ครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมทั้งผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนเพื่อเริ่มต้น ขยาย หรือปรับปรุงกิจการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดชายแดน นิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรม ทั้งที่เป็นของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
 

     ทั้งนี้ EEC เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม 29 แห่ง มูลค่าการลงทุนกว่า 50.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ฐานการผลิตของโรงงานกว่า 3,700 แห่ง ศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน และปิโตรเคมี ซึ่งให้สิทธิประโยชน์ อาทิ สิทธิประโยชน์ด้านภาษี และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการลงทุน ให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าไปลงทุน 
 

     สินเชื่อเอ็กซิมเพื่อโซนพิเศษ เป็นสินเชื่อระยะยาวเพื่อการลงทุนหรือขยายกิจการ อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ปีที่ 1-3 เท่ากับ Prime Rate -1.75% ต่อปี (หรือ 4.50% ต่อปี) พร้อมสินเชื่อหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจวงเงินสูงสุด 1.5 เท่าของวงเงินสินเชื่อระยะยาว อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน Prime Rate -1.50% (หรือ 4.75% ต่อปี) โดยมีดอกเบี้ยขั้นต่ำ 4.00% ต่อปี ระยะเวลากู้สูงสุด 15 ปี รวมระยะเวลาปลอดเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปี สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการที่ลงทุนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 0.25% ต่อปี
 

     นอกจากนี้ EXIM BANK มีโครงการความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารออมสิน ให้บริการ “สินเชื่อ Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2” ภายใต้โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่งตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นวงเงินกู้สำหรับผู้ประกอบการ SME เพื่อใช้ลงทุนในการปรับปรุงหรือขยายกิจการ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวในการเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ อัตราดอกเบี้ย 4.00% ต่อปี วงเงินสูงสุด 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี รวมระยะเวลาปลอดเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการลงทุนของ SME ในกลุ่มอุตสาหกรรม 10 S-curve และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
 

     “ผู้ส่งออกไทยจะสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ต้องมีสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มและคุณภาพสูง สอดรับกับกำลังซื้อและรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดระดับบน การยกระดับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อให้เกิดสินค้านวัตกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และควรได้รับการส่งเสริม รัฐบาลจึงได้จัดให้มีพื้นที่ส่งเสริมการลงทุน พร้อมกันนั้น EXIM BANK ได้พัฒนาบริการใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ช่วยให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SME เข้าถึงการสนับสนุนของรัฐบาลทั้งด้านสิทธิประโยชน์และโครงข่ายอื่นๆ ที่จะเชื่อมโยงภาคธุรกิจต่างๆ เข้าด้วยกัน เสริมสร้างพลังการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมไทยตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงชุมชนเมืองและประเทศชาติ” พิศิษฐ์กล่าว





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้