TMB ตั้งเป้าขึ้นแท่นเป็นแบงก์ที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศ






      นับเป็นอีกหนึ่งแบงก์ที่มีการปรับตัวเองอย่างเข้มข้น เพื่อให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของกลุ่มลูกค้าในปัจจุบัน ล่าสุดทีเอ็มบี จึงได้จัดแถลงแผนดำเนินงานปี 2561 เพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ใช้ง่าย สะดวก เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้บริการธนาคารตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากกว่า พร้อมตั้งเป้าเป็นธนาคารในใจลูกค้าที่ได้รับการบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า


      ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า ทีเอ็มบีจะเดินหน้าเพื่อ Make THE Difference อย่างต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์และไม่หยุดตั้งคำถามเพื่อทำในสิ่งที่ดีกว่าเพื่อตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของลูกค้า (Need-based) ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ใช้ง่ายและสะดวก (Simple & Easy) สร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้บริการธนาคารที่ตรงกับรูปแบบการประกอบธุรกิจและใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่ม “ได้มากกว่า” (Get MORE with TMB) และบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นิยมใช้บริการของทีเอ็มบีเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) อย่างเป็นประจำ มีความชื่นชอบในบริการของทีเอ็มบีจนต้องบอกต่อ โดยตั้งเป้าหมายขึ้นชั้นเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดในประเทศไทย (The Most Advocated Bank in Thailand) ภายในปี 2565





      โดยมองว่าผู้ใช้บริการธนาคารส่วนใหญ่ต้องการที่จะได้รับการดูแลที่ดีและตอบโจทย์ความต้องการอย่างตรงจุด นอกจากนี้ยังไม่ต้องการเสียค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น ซึ่งในปัจจุบันธนาคารพบว่า มีคนที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมธนาคาร คิดเป็นเงินเกือบ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี รวมทั้งมีความต้องการที่จะออมและลงทุนให้บรรลุเป้าหมายด้วยความง่ายและสะดวก ซึ่งทีเอ็มบีเป็นผู้ริเริ่มตอบโจทย์ที่ลูกค้าไม่เคยได้รับมาก่อน ให้ลูกค้าได้มากกว่า (Get MORE with TMB) ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เช่น “Supply Chain Financing Solutions” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของลูกค้าธุรกิจ, บัญชี “TMB SME One Bank” บัญชีธุรกิจหนึ่งเดียวที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ,  บัญชี “TMB All Free” เพื่อใช้ทำธุรกรรมที่ไม่มีค่าธรรมเนียม และบัญชีเพื่อออม “TMB No Fixed” ที่ให้ดอกสูง มีความยืดหยุ่น ถอนเมื่อไรก็ได้ไม่กำหนดยอดคงเหลือขั้นต่ำในบัญชี และระยะเวลาการฝาก





      เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ กล่าวว่าทีเอ็มบีจะพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาช่องทางธนาคารและมอบประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อเพื่อให้ลูกค้าทำธุรกรรมได้ง่ายใช้งานได้จริง นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรในหลายส่วนเพื่อลดความซับซ้อนให้เป็นองค์กรแบบราบ (Flat Organization) มีระดับชั้นการบังคับบัญชาสั้นลงเหลือเพียง 5 ชั้น พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทีเอ็มบีมีความคล่องตัวฉับไวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า รวมทั้งการบริหารจัดการข้อมูล Big Data และนำข้อมูลที่มีอยู่มากมายให้สามารถนำมาใช้อย่างเป็นระบบและวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) เพื่อให้เข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำให้เราสามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงใจลูกค้าอย่างแท้จริงได้อย่างต่อเนื่องต่อไป


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้