8 วิธีวางแผนการเงินให้ได้ผล

 
  


                       การที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องการผลิต หรือการตลาดที่สำคัญ หากการบริหารจัดการทางการเงินมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ถ้าบริษัทคุณมีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี ก็เป็นเหมือนฐานรากที่แข็งแกร่งที่จะส่งให้ธุรกิจคุณไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแรง คุณคงไม่ต้องการเห็นบริษัทที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร และนี่คือ 8 ขั้นตอนที่จะช่วยคุณวางแผนการเงินเบื้องต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
                      1. วางแผนการเงิน ด้วยการประเมินว่าคุณน่าจะมีรายรับเท่ารับเท่าไหร่ต่อเดือน รวมทั้งวางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นด้วย
 
 
                      2. ตรวจสอบแผนการเงินทุกเดือน ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาในการวางแผนการเงิน คาดเดา กำไร-ขาดทุน แต่เมื่อทำเสร็จแล้วก็ไม่ใช่เอาใส่ไว้ในลิ้นชักแล้วก็จบกัน คุณจะต้องหมั่นเอาแผนการเงินนั้นขึ้นมาตรวจสอบดูอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนด้วย
 
 
                      3. เมื่อขาดทุนไปแล้วไม่สามารถชดเชยได้ เมื่อคุณเปรียบเทียบแผนการเงินที่วางไว้กับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแล้วพบว่าคุณขายได้น้อยเกินไปหรือรายจ่ายมากเกินไป วิธีแก้ไขที่มักพบทั่วไปคือ “เดี๋ยวเดือนหน้าค่อยทำยอดคืน” แต่ปัญหามีอยู่ว่าในความเป็นจริงนั้น เมื่อขาดทุนไปแล้วไม่สามารถดำยอดเดือนถัดไปมาชดเชยได้ เพราะถ้าผลกำไรเดือนถัดไปต่ำมากก็จะทำให้ผลประกอบการติดลบไปตลอดกาล
 
 
                      4. รีบปรับตัวทันที ดังนั้น ถ้ารายรับได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ ให้พยายามทุ่มกำลังลงไปที่ยอดขายและการตลาดหรือไม่ก็หาหนทางที่จะเพิ่มยอดให้ได้ ถ้าตั้งรายรับในอนาคตไว้สูงมากให้หาทางลดต้นทุนให้ได้ อาจมีธุรกิจคล้าย ๆ กับของคุณอยู่ในตลาดอีกมากมาย ลองศึกษาดูว่าเขามีกลยุทธ์อะไรที่ทำให้ธุรกิจอยู่ได้
 
 
                      5. คิดก่อนใช้ เมื่อคุณเริ่มคิดที่จะทำแผนการเงิน ให้รวมค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและการขายเข้าไปด้วย ประเมินรายรับที่คาดว่าจะได้นำมาเทียบราคาต้นทุนก่อนที่คุณจะซื้ออะไรก็ตามครั้งต่อไป คุณสามารถเพิ่มยอดกำไรได้ง่าย ๆ ด้วยการยืดการซื้อออกไปเป็นเดือนถัดไป หรือสามเดือนถัดไป หรือหนึ่งปีถัดไป
 
 
                      6. อย่าตื่นกลัวที่จะจ้างพนักงาน จริงอยู่ว่าร้านอาหารจะคงอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเด็กเสิร์ฟ แต่ก็มีธุรกิจอีกหลายอย่างที่จำกัดตัวเองด้วยการไม่จ้างพนักงาน ธุรกิจเกือบจะทุกประเภทสามารถเพิ่มยอดขายได้จากการจ้างพนักงานไม่ว่าจะจ้างประจำหรือทำเป็นสัญญาจ้างคุณเอาสมองของคุณไปคิดเรื่องการเพิ่มยอดขายดีกว่าการไปส่งของ ส่งเอกสารหรือจัดแฟ้มด้วยตัวเอง
 
 
                      7. จ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง ถ้าคุณเปิดบริษัทและมีการจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองเรียบร้อยแล้วก็ไม่เป็นไร แต่ถ้า “ไม่” ให้คุณจัดสรรเงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้เป็นเงินเดือนของตัวเองทุกเดือน ในแต่ละเดือนที่บริษัททำยอดได้ถึงเป้า ก็ให้จ่ายเงินเดือนตัวเองเต็มจำนวน แต่เมื่อใดที่บริษัททำยอดได้ไม่เป็นไปตามเป้าให้หักเงินเดือนตัวเอง และถ้าทำยอดได้เกินกว่าเป้าก็ให้จ่ายเป็น “โบนัส” ให้ตัวเอง การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองนี้เป็นการส่งเสริมกระตุ้นให้ตัวคุณกระตือรือร้นที่จะทำให้บริษัทมีกำไร
 
 
                      8. กำไรกับรายรับคนละเรื่องกัน ไม่สำคัญเลยว่า คุณจะทำเงินเข้าบริษัทเดือนละกี่หมื่นกี่แสน ถ้าหากคุณมี่รายจ่ายที่สูงหรือสูงกว่า มีบริษัทที่มีรายรับสูง  ๆ หลายแห่งล้มละลายก็ด้วยเหตุนี้ หวังว่าคุณคงไม่เป็นหนึ่งในนั้นก็แล้วกัน

 


RECCOMMEND: FINANCE

EXIM BANK แนะผู้ประกอบการ SMEs จัดสัดส่วนการเงิน ปรับธุรกิจผลิตสินค้าตามกระแสโลก เจาะตลาด ‘รักษ์โลก-สูงวัย-ฮาลาล’ รับมือสถาบันการเงินปฎิเสธสินเชื่อ

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร แนะการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs มีหลายสาเหตุ แต่การขอสินเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องยาก จะต้องรู้จักเทคนิค 5C+ ที่สถาบันการเงินใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อ

เปิด 5 Trick วางแผนการเงินเฮง! รับปีใหม่ ขาดทุนเป็นศูนย์ ทำกำไรทะลุเป้า

ในภาวะคลื่นลมเศรษฐกิจแย่เช่นนี้ อยากมาชวนตั้งต้นวางแผนระบบการเงินให้ธุรกิจกันใหม่ และสำหรับใครที่เพิ่งกำลังจะเริ่มต้นธุรกิจ ก็ได้ใช้เป็นแนวทางป้องกันรัดกุม ให้รอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดการเพลี้ยงพล้ำกันได้ มีอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

เปิดผลสำรวจ ผู้ประกอบการไทยเสี่ยงกลายเป็น Zombie Firm 35% 

แม้เศรษฐกิจไทยจะมีทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่การแฝงตัวของ Zombie Firm หรือ บริษัทซอมบี้ที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาวอย่างไม่คาดคิด