ภาระหนี้และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs

 

 

 
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินการสำรวจศักยภาพด้านการเงินเกี่ยวกับภาระหนี้สินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs โดยเปรียบเทียบความแตกต่างศักยภาพทางด้านการเงินของกิจการ 3 ขนาด คือ กิจการขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ทั้งในภาคการค้าและบริการ จำนวนทั้งสิ้น 805 กิจการ  สามารถจำแนกผลการเปรียบเทียบเป็นรายด้าน ดังนี้
 
1.ด้านที่มาของแหล่งเงินทุน 
 
2.รูปแบบการกู้ยืมเงินของกิจการ 
 
โดยผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่มีการกู้เงินในระบบผ่านสถาบันการเงิน พบว่า กิจการทุกขนาดเคยได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ในขณะที่กิจการขนาดเล็ก ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 62.58 เคยได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  และอีกร้อยละ 37.42 ไม่เคยได้รับอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน 
 
จากผลการสำรวจดังกล่าว สามารถเปรียบเทียบให้เห็นถึงศักยภาพด้านการเงินของกิจการในแต่ละขนาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบของกิจการขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่มีมากกว่ากิจการขนาดเล็กค่อนข้างชัดเจน โดยผู้ประกอบการกิจการขนาดเล็กเห็นว่า อุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของกิจการตนเอง คือการขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน  ไม่มีแผนธุรกิจที่ดี และขาดประวัติการชำระเงิน/เป็นกิจการใหม่ ในส่วนของความยากในการกู้เงินจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่เกิดจากเงื่อนไขที่มีความเข้มงวด  ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดทั้งในส่วนของกิจการและสถาบันการเงินในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบของกิจการขนาดเล็ก  
 
ดังนั้น กรณีที่กิจการมีความต้องการเงินทุน กิจการขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด เลือกที่จะกู้ยืมเงินในระบบ ในขณะที่กิจการขนาดเล็กแม้ส่วนใหญ่จะเลือกกู้เงินในระบบ แต่ก็มีกิจการบางส่วนเลือกที่จะกู้เงินนอกระบบ เนื่องจากผู้ประกอบการมีความเห็นว่าเป็นแหล่งเงินทุนที่มีความรวดเร็วและสะดวก 
 
อย่างไรก็ดี จากผลการสำรวจในภาพรวมนับว่าค่อนข้างดี เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจในทุกขนาด มีการพึ่งพาแหล่งเงินทุนในระบบในสัดส่วนที่มากกว่า และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวทางด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการทุกขนาด  สสว. เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรลดข้อจำกัดในด้านเงื่อนไขและความเข้มงวดของกฎระเบียบในการกู้ยืม ซึ่งจะช่วยให้กิจการขนาดเล็กสามารถเข้าถึงเงินทุนในระบบเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องร่วมให้ความรู้ในการดำเนินกิจการ การวางแผนธุรกิจ การวางแผนทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการขนาดเล็ก ให้มีเงินลงทุนที่เพียงพอในการประกอบธุรกิจโดยมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง
 
ในส่วนผู้ประกอบการ SMEs เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันการเงิน ควรมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับผู้ประกอบการ เพิ่มระยะเวลาในการผ่อนชำระเพื่อลดต้นทุนด้านการเงิน เพิ่มสภาพคล่องและขีดความสามารถทางการเงินให้แก่กิจการ ลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการพิจารณาสินเชื่อลงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวทางการเงินให้แก่กิจการ ลดเงื่อนไขในส่วนของหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อให้กิจการขนาดเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
 

RECCOMMEND: FINANCE

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน

พลิกอุปสรรค สู่ความสำเร็จ สร้างธุรกิจรายได้หลักร้อยล้าน

ทุกย่างก้าวในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเผชิญวิกฤตหรือได้รับโอกาส มุมมองในการบริหารธุรกิจก็เป็นสิ่งสำคัญ และตัวช่วยที่ขาดไม่ได้ในการนำพาธุรกิจพุ่งทะยานสู่รายได้หลักร้อยล้าน คือ เงินทุน พบกับ 4 ธุรกิจ พลิกจากอุปสรรค เป็นสร้างรายได้ทะลุร้อยล้าน