เปิดโปง! 10 วิธีโกงภาษี



 




 เรื่อง : อชิระ ประดับกุล
         misterachira@hotmail.com


    ถ้ายังจำได้เมื่่อหลายปีก่อนมีข่าวดาราสาวท่านหนึ่งมีปัญหาในการยื่นแบบแสดงรายการ การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เธอได้มีการนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนบุคคลอื่น (ซึ่งสูงอายุมาก) มาเซ็นรับเงินค่าจ้างแทนนั้น ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า เธออาจตั้งใจที่จะเลี่ยงภาษีด้วยการให้เงินได้ดังกล่าวไปตกอยู่ในชื่อบุคคลอื่นที่โดยปกติไม่มีรายได้เพื่อทำให้ฐานเงินได้ของเธอลดลงและเสียภาษีน้อยที่สุดหรือไม่...หรือว่า? เธอไม่ได้ตั้งใจที่จะกระทำการหลีกเลี่ยงแต่ทำไปเพราะความไม่ทราบข้อกฎหมายตามที่กล่าวอ้าง??

    ว่ากันตามเนื้อผ้าวิธีการดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่นัก และยังมีบรรดาประชาชนคนมีสตางค์ทั่วไปก็ได้ปฏิบัติอยู่กันอย่างเป็นปกติ ที่สำคัญยังทำกันอยู่ด้วย “ความตั้งใจ” ไม่ใช่เผลอ...ลืม...งง...หรือ “หนูไม่รู้”

    เรียกได้ว่าการกระทำดังกล่าวฝ่ายเจ้าหน้าที่เองก็ทราบดีอยู่ แต่จะเอาจริงกับบุคคลเหล่านี้ก็ต้องมีหลักฐานมัดแน่นหนา คาตัว คามือ ถึงจะ จับ ปรับ ให้จ่ายได้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก...
กลเม็ด เคล็ดลับของกลุ่มบุคคลที่พยายามเลี่ยงภาษีนั้นมีมากมายจริงๆ ครับ ลองมาดูเท่าที่มีการเปิดเผยจากคนวงในกันครับว่า เขาทำกันด้วยวิธีใดบ้าง

1. การตั้งตัวแทนเชิด (ภาษีเงินได้นิติบุคคล)

     ทำกันมากในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่บรรดานักการเมืองทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่นเป็นเจ้าของกิจการ และถือได้ว่าเป็นกลุ่มหัวแถวที่นิยมเลี่ยงภาษีกันอย่างสนุกสนาน ไม่สะทกสะท้านบ้านเมือง เช่น จะใช้วิธีหารายชื่อคนงานแล้วให้คนงานของตนเองเป็นผู้รับเหมารายย่อย โดยเงื่อนไขสำคัญของคนที่จะถูกเชิดให้เป็นผู้รับเหมารายย่อยนั้นต้องไม่ให้มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท เพื่อเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง (อนึ่ง “ผู้ที่มีรายรับก่อนหักรายจ่ายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย)     

2. การตั้งคณะบุคคล (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)

    การตั้งคณะบุคคล เพื่อกระจายเงินได้ออกไปในแต่ละคณะให้มากที่สุด ทำให้ฐานเงินได้ของตนเองต่ำลง และเสียภาษีน้อยลง อาชีพที่ทำมาก เช่น กลุ่มศิลปิน ดารา นักร้อง หรืออาชีพอิสระที่มีรายได้สูงๆ ต่อปี

3. ทำให้บริษัทขาดทุน (ภาษีเงินได้นิติบุคคล)

    ห้างร้าน บริษัท ต่างๆ นิยมทำกันมากเพราะ “ขาดทุน=ไม่ต้องเสียภาษี” วิธีการที่จะทำให้บริษัทขาดทุนที่เบสิก และทำการอย่างแพร่หลาย เช่น

- หาบิลมาเบิกแหลกราญ ทั้งๆ ที่ไม่มีรายจ่ายเกิดขึ้นจริง หรือ เบิกเกินกว่าความเป็นจริง
- นิติบุคคลกู้ยืมเงินจากหุ้นส่วนผู้จัดการ/กรรมการบริษัท เพื่อหลบยอดรายได้/ยอดขาย และเพิ่มการหักด้วยดอกเบี้ยจ่าย
- ทำการสั่งซื้อสินทรัพย์ในนามบริษัทแต่กลับนำไปส่วนตัวและนำบิลดังกล่าวมาเบิกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท    
 

4. การหลบยอดขายและยอดซื้อ (ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

    วิธีนี้ก็ทำกันหนักในกลุ่มห้างร้านขนาดเล็กถึงกลาง หัวใส เช่น ขายจริงได้ 10,000 บาท แต่เปิดบิลแค่ 100 บาท ซึ่งนอกเหนือจากจะทำให้รายได้เพื่อเสียภาษีลดลงแล้ว ยังจะทำให้การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) ลดลงไปอีกด้วย แต่มันคือการทำที่ “ผิดกฎหมาย”  

    ข้อสังเกตที่เจ้าหน้าที่มักตรวจพบได้บ่อยคือ กิจการเหล่านี้จะ “มีบัญชี 2 เล่ม” โดยเล่มหนึ่งจะจัดทำเป็นการภายในเพื่อให้ทราบรายได้ ค่าใช้จ่ายที่แท้จริง ส่วนอีกเล่มจัดทำเพื่อการเสียภาษีเป็นการเฉพาะซึ่งจะมียอดรายได้ต่ำกว่าความเป็นจริง


5. การซื้อใบกำกับภาษี (ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

    วิธีดังกล่าวที่พบมากคือ การซื้อใบกำกับภาษี จาก “ปั๊มน้ำมัน” เพราะรายย่อยที่มาเติมน้ำมันส่วนใหญ่ (เช่น คุณและผม) มักจะไม่ได้มีการขอใบเสร็จหรือใบกำกับภาษีจากปั๊มเท่าใดนัก จึงทำให้ บริษัท ห้างร้านที่เห็นช่องโหว่จุดนี้ทำการขอซื้อใบกำกับภาษีเหล่านั้นเพื่อนำมาหักเป็นรายจ่ายของกิจการ และยังทำการขอคืนภาษีซื้อ (VAT) ที่เกิดจากค่าน้ำมันเหล่านั้นด้วย  
   
6. การหลีกเลี่ยงโดยผ่านระบบบัญชี      

    วิธีการดังกล่าวต้องใช้บุคคลของกิจการทำการวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อให้การตรวจสอบทำได้ยาก โดยบุคคลที่อาจเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริหาร ฝ่ายการเงิน พนักงานบัญชี (สำนักงานบัญชี) เช่น การบันทึกค่าใช้จ่ายประเภท “ค่าที่ปรึกษา” (บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทุกเดือนแต่ไม่มีการจ่ายจริง) ในอัตราสูงของแต่ละเดือนให้ปรากฏในระบบบัญชีและรายงานทางการเงินของกิจการ ที่มีทั้งเอกสาร หลักฐาน (ปลอม) อย่างครบถ้วน เว้นแต่ว่า “ไม่มีการจริง!”

7. การตั้งบริษัทเพื่อเจตนาออกใบกำกับภาษีซื้อปลอม (ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

    ยกตัวอย่าง เช่น ทำทีมีการส่งออกสินค้าและมีการปลอมใบสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศแล้วนำมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

8. การซื้อบิลจริง แต่ไม่มีการกระทำจริง (ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

9. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้านจัดสรร (ภาษีเงินได้นิติบุคคล)

    มักจะแอบกระทำโดยการแยกสัญญาเป็น 2 สัญญา คือ 1. สัญญาซื้อขายที่ดิน 2. สัญญาว่าจ้างปลูกบ้าน หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบก็มักจะอ้างว่า “ขายเฉพาะที่ดินจากนั้นผู้ซื้อก็ไปหาผู้ว่าจ้างมาปลูกเอง” รายได้ที่บริษัทนี้นำส่งรัฐก็จะปรากฏต่ำกว่าความเป็นจริง


10. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ประเภทคอนโดมิเนียม (ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

    กลุ่มธุรกิจมักจะประกาศขายห้องชุดเพียงบางส่วนและที่เหลือไว้สำหรับใช้ประกอบกิจการโรงแรม (ให้เช่าพัก) ทั้งนี้ รายได้ที่เกิดจากการให้เช่า (กิจการโรงแรม) บุคคลเหล่านี้จะไม่นำมาแสดงให้ทราบแต่จะเปิดเผยเพียงแค่รายได้ที่เกิดจากการขายห้องชุดเท่านั้น
     
    ทั้ง 10 วิธีเป็นเพียงแค่บางส่วนที่เจ้าหน้าที่เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและทราบเป็นอย่างดีว่า มีการปฏิบัติกันอยู่อย่างแพร่หลาย และพยายามตรวจสอบ ดำเนินคดี ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้...ท่านใดที่เข้าข่ายการกระทำใน 10 ข้อที่ว่านี้ ก็หยุดเถอะครับ...ผมขอ

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน