เรื่องของ “ต้นทุน”

 

 
 
 
ถ้าพูดกันแบบภาษาชาวบ้าน “ต้นทุน” ก็คือจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปในการซื้อ สินค้า ข้าวของ วัตถุดิบ ต่างๆ นานาจิปาถะ เพื่อนำมาผลิตหรือขายสินค้าเพื่อให้ก่อให้เกิดรายได้คือยอดขายอีกที แต่รายการต่างๆ ที่ได้จ่ายไปนั้น พบว่า ถ้ามองกันให้ละเอียดอีกนิดในฐานะเจ้าของธุรกิจในอนาคตอย่างคุณผู้อ่านที่รักของผม ก็จะพบว่า รายการจ่ายต่างๆ มีความแตกต่างในรายละเอียดอย่างมากแม้จะจ่ายไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้เหมือนกันก็ตาม คำว่า “ต้นทุน” ของคุณในอดีตที่เคยเข้าใจ อาจเป็น “ต้นทุน” คำใหม่ ที่มีคุณค่ามากกว่าเดิมหลังทำความเข้าใจกับมันมากขึ้นและจะทำให้ธุรกิจของคุณบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
จำแนกต้นทุนการปฏิบัติงาน
 
ต้นทุนการผลิต คือ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตสินค้าของธุรกิจ และโดยปกติก็จะเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในโรงงานเท่านั้น (ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในสำนักงานไม่ถือเป็นต้นทุนผลิต) โดยประกอบไปด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วนด้วยกัน คือ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายในการผลิต
 
ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวกับการผลิต เป็นต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า แต่เป็นต้นทุนที่ช่วยให้ธุรกิจมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งส่วนของสำนักงานสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ต้นทุนส่วนใหญ่ก็จะเป็นต้นทุนที่เกดขึ้นในส่วนงานของสำนักงาน ไม่ใช่โรงงาน เช่น ค่าใช้จ่ายในการขาย (ค่านายหน้า ค่าโฆษณาและค่าใช้จ่ายแผนกขาย เป็นต้น) ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานต่างๆ (เงินเดือนสำนักงาน ค่าสาธารณูปโภคสำนักงาน ภาษีเงินได้)
เป็นต้น
 
 
จำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน
 
ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับของกิจกรรม คือ ไม่ว่ากิจกรรมจะเพิ่ม ลด หรือเท่าเดิม ต้นทุนดังกล่าวก็ยังมีจำนวนเท่าเดิม เช่น รายจ่ายพวกเงินเดือน ค่าเช่า หรือค่าเบี้ยประกันภัย เป็นต้น
 
ต้นทุนผันแปร เป็นต้นทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันตามระดับของกิจกรรมที่เกิดขึ้น คือ ต้นทุนจะเพิ่มเมื่อระดับกิจกรรมเพิ่มขึ้น ต้นทุนลดลงเมื่อระดับกิจกรรมลดลง และต้นทุนจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อระดับกิจกรรมคงที่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เช่น ถ้าเราผลิตสินค้ามาก ก็ต้องใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้ามากเช่นกัน หรือถ้าหยุดการผลิตเพราะโดนน้ำท่วม ธุรกิจก็ไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบในการผลิต ต้นทุนก็ไม่เกิด เป็นต้น
 
ต้นทุนผสม เป็นต้นทุนที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร โดยต้นทุนประเภทนี้ไม่เพิ่มหรือลดในสัดส่วนเดียวกันกับระดับกิจกรรม และถึงแม้ไม่มีระดับกิจกรรมเกิดขึ้นก็ยังมีต้นทุนที่ต้องจ่ายอยู่เช่นกัน ด้วยสาเหตุจากต้นทุนคงที่ ที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ค่าโทรศัพท์บ้าน (หมายเลข 02) มีองค์ประกอบของค่าใช้จ่ายคือ
 
ค่าเช่าคู่สาย จ่ายเป็นรายเดือนเดือนละ 100 บาท  ? ต้องจ่ายทุกเดือนถึงจะไม่มีการโทรออก ?ต้นทุนคงที่
 
ค่าใช้โทรศัพท์ คิดเป็นอัตราตามจำนวนหรือเวลาที่ใช้งาน ?โทรมากจ่ายมาก/โทรน้อยจ่ายน้อย ?ต้นทุนผันแปร
 
 
จำแนกตามการตัดสินใจ
 
ต้นทุนเสียโอกาส หมายถึง ผลประโยชน์ที่กิจการควรได้รับแต่ไม่ได้รับเนื่องจากเลือกทางเลือกอื่น เช่น กิจการจะมีรายได้จากการให้เช่าเครื่องจักรปีละ 300,000 บาท แต่กิจการตัดสินใจนำเครื่องจักรมาผลิตสินค้า ดังนั้น กิจการก็จะไม่ได้รับค่าเช่าดังกล่าว และทำให้เกิดต้นทุนเสียโอกาส 300,000 บาท อันเนื่องมาจากตัดสินใจผลิตสินค้า และการผลิตสินค้านี้ต้องนำเอาต้นทุนเสียโอกาสมาคิดคำนวณด้วยเช่นกัน มิใช่จะคิดเฉพาะต้นทุนส่วนที่มีการจ่ายไปที่เกี่ยวกับการผลิตเท่านั้น

ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้และต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
 
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจสามารถประหยัดได้หากธุรกิจยกเลิกการผลิตหรือการดำเนินงานในส่วนงานนั้นๆ
 
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจยังคงต้องจ่ายอยู่แม้ว่าจะยกเลิกการผลิตหรือการดำเนินงานในส่วนงานนั้นๆ แล้วก็ตาม
 
ต้นทุนจม คือ ต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินใจในอดีต โดยผลของการตัดสินใจดังกล่าวนั้นไม่มีผลต่อการตัดสินใจปัจจุบัน เช่น ธุรกิจตัดสินใจจ่ายค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว ที่ทำไว้ตั้งแต่ในอดีต เป็นต้น
 
ในทางบัญชีมีการจำแนกต้นทุนได้หลายวิธีตามแต่วัตถุประสงค์ของการบริหารต้นทุนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่นำมาเล่าสู่กันฟังในเล่มนี้เป็นเพียงค่าส่วนหนึ่งเท่านั้นที่อยากให้ผู้บริหารอย่างคุณทุกคนได้ทราบ เพราะในยุคที่เศรษฐกิจของเรายังไม่เติบโตมากเท่าใดนักตามกระแสเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มรายได้หรือยอดขายของธุรกิจที่ลดลงไปด้วยนั้น
 
การปรับตัวโดยหันมาบริหารต้นทุนต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดย่อมเป็นหนทางหนึ่งที่ SME สามารถกระทำได้และดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะข้อดีของ SME คือ ขนาดของธุรกิจไม่ใหญ่จนเกินไปในการที่จะปรับเปลี่ยน นโยบายและการบริหารงานได้อย่างทันท่วงที มีความยืดหยุ่นในเรื่องของการจัดการ และเมื่อไหร่ที่บริการต้นทุนได้อย่างดีเยี่ยมแล้ว แม้ว่ารายได้จะไม่เพิ่มขึ้นนัก แต่หากบริหารต้นทุนให้ลดลงหรือให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ SME ก็ไปรอดได้ไม่ยากในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ อยู่ที่จะเริ่มทำหรือไม่ก็เท่านั้น…
 

RECCOMMEND: FINANCE

หมัดเด็ด วิธีเอาชนะเงินเฟ้อ ฉบับคุณปู่ Warren Buffett ที่ใครก็ใช้ได้

หนึ่งในปัญหาของคนทำธุีกิจวันนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” เงินเท่าเดิม แต่กลับซื้อสินค้าและวัตถุดิบได้น้อยลงกว่าเดิม ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น แถมขายของก็ไม่ได้ดีเหมือนเก่า เลยชวนมาดูเคล็ดลับบริหารการเงินและลงทุนในภาวะเงินเฟ้อ จาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เจ้าพ่อนักลงทุนกัน

รวมสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ช่วยลดภาระหนี้ ธุรกิจไม่สะดุด

ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ และวิกฤตที่รุมเร้าเข้ามา อาจทำให้ธุรกิจต้องสะดุด ขาดสภาพคล่องเลยอยากชวนมารีไฟแนนซ์สินเชื่อธุรกิจ อย่างน้อยเพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้หนี้ออกไป ช่วยลดดอกเบี้ย ไปจนถึงอาจได้เงินอีกสักก้อนมาช่วยหมุนเวียนในธุรกิจ

ขายดีอย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยง 5 เคล็ดลับบริหารสภาพคล่องจาก บสย.

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีต้องสะดุดหยุดชะงักหรือไปต่อได้ไม่สุด คือ เงินทุนที่มีอยู่จำกัดจำเขี่ย ต่อให้ขายดีเพียงใด ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันก็กู้เงินจากธนาคารไม่ได้