Caffe Pralet คาเฟ่ที่เปลี่ยนมือจากแม่สู่ลูก Success เพราะยกเลิกเมนูเก่า เหลือ 2 เมนูเด็ด

เรียบเรียง : Phan P.  


     หากกิจวัตรประจำวันของคุณคือการเลื่อนดู TikTok เป็นเวลานานหลายชั่วโมง นั่นหมายความว่าคุณน่าจะเคยพบกับโดนัทรูปสี่เหลี่ยมของ Caffe Pralet บนฟีดบ้างอย่างแน่นอน

    โดนัทของ Caffe Pralet เปิดตัวครั้งแรกในปี 2023 แต่เป็นที่รู้จักและโด่งดังมากจากวิดีโอ TikTok ของลูกค้ารายหนึ่ง จนทำให้เกิดกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ลูกค้าต้องรอนานถึง 2 วันเมื่อสั่งบนออนไลน์ แถมยังมีคนเข้าคิวยาวเหยียดอยู่นอกร้านกาแฟแห่งนี้อีกด้วย

     นอกจากโดนัทสุดฮิตแล้ว ร้านนี้ยังดึงดูดลูกค้าด้วยแซนด์วิช ที่ว่ากันว่าเป็น 2 เมนูเด็ดของที่นี่ แต่กระนั้น หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ Caffe Pralet ก็เป็นที่รู้จักในเรื่องขนมอบ เค้ก และอาหารจานต่างๆ ด้วยเป็นร้านกาแฟซึ่งเปิดมานานกว่า 19 ปี แต่เมื่อทิมโมธี เจีย ผู้เป็นลูกชายตัดสินใจเข้ามารับไม้ต่อ Caffe Pralet ก็กลายมาเป็นสถานที่แฮงเอาท์ยอดนิยมของเหล่าฮิปสเตอร์ในสิงคโปร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา

จากไม่เคยมีจุดขายจริงๆ สู่จุดเปลี่ยนความเรียบง่าย

     Caffe Pralet เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดย จูดี้ โคห์ แม่ของทิมโมธี โดยทำธุรกิจที่หลากหลายมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น เค้กสำหรับงานแต่งงาน การจัดเลี้ยง เบอเกอรี่ หรือแม้แต่แกงไก่ ข้าวหน้าต่างๆ และอีกมากมาย ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า Caffe Pralet มีปัญหาในการสร้างจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ (Unique Selling Point-USP) และโดดเด่นท่ามกลางร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีการแข่งขันสูงของสิงคโปร์

     ขณะเดียวกัน ทิมโมธี ที่ใช้ชีวิตด้วยการสอนทำอาหาร และทำ Private Dining อยู่ที่เม็กซิโก ต้องเดินทางกลับสิงคโปร์เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 และเมื่อเห็นแม่ของเขาต้องดิ้นรนเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ จึงตัดสินใจก้าวเข้ามารับไม้ต่อในธุรกิจนี้ โดยเขาเสนอไอเดียและกำหนดทิศทางของ Caffe Pralet ใหม่ 

     “ที่เม็กซิโก ร้านทาโก้หลายแห่งมักจะมีลูกค้าแน่นเสมอ นอกจากความจริงที่ว่าชาวเม็กซิกันชื่นชอบทาโก้แล้ว ก็เข้าใจชัดเจนอีกว่าการที่มีคนมาทานมากมายตลอดเวลาก็เพราะมีตัวเลือกให้เลือกไม่มากนัก ถ้าเป็นร้านขายหมู พวกเขาจะขายหมูทุกอย่าง ถ้าเป็นร้านขายไก่ พวกเขาจะขายไก่ทุกอย่าง และถ้าเป็นร้านขายเนื้อวัว… คุณคงเดาได้ว่าพวกเขาขายอะไร”

     นอกจากนี้ จากการศึกษาร้านอาหารจานด่วนที่ประสบความสำเร็จในสิงคโปร์ เช่น Subway, Guzman Y Gomez และ McDonald's ทำให้เขาตระหนักว่า แนวทางการทำงานที่ถูกกำหนดขึ้นให้เป็นมาตรฐานในกระบวนการต่างๆ นั้น (Standard Operating Procedure-SOP) มีความสำคัญต่อความสามารถในการเติบโตและขยายตัวไปทั่วประเทศ

     ดังนั้น  ทิมโมธีจึงตัดสินใจว่า Caffe Pralet จะกลายมาเป็นร้านที่จำหน่ายเพียง 2 เมนูเท่านั้น นั่นก็คือ โดนัทและแซนด์วิช

ลูกค้าประจำอยากได้เมนูเก่ากลับมา

     ต้องยอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เมื่อมองย้อนกลับไป ทิโมธีเล่าว่าการตอบรับในเวลานั้นไม่ค่อยดีนัก ลูกค้าประจำยังต้องการเมนูเก่าอย่างข้าวหน้าต่างๆ และพาสต้า แม้ร้านจะทำโปรโมชันเพื่อกระตุ้นให้ลองเมนูใหม่ๆ ก็ตาม

     อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าร้านกาแฟแห่งนี้ก็เริ่มดึงดูดลูกค้ากลุ่มอื่นๆ เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือชาวต่างชาติ ด้วยย่าน Tiong Bahru ได้กลายเป็นสถานที่ที่มีชาวต่างชาติมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และคนส่วนใหญ่เป็นก็ชอบกินแซนด์วิช

     “แม้ว่าเราจะสูญเสียลูกค้าที่กินข้าวและพาสต้าไปบางส่วน แต่เราได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ซึ่งถือเป็นเรื่องดีเพราะคนเหล่านี้เป็นเพื่อนบ้านที่อยู่รอบๆ เรา  ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะมาร้านของเราบ่อยขึ้นด้วย”

 โดนัทสี่เหลี่ยมสร้างยอดขายเพิ่มสิบเท่า

     หลังจากกลายเป็นกระแสไวรัลจากโดนัทรูปทรงสี่เหลี่ยม Caffe Pralet ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างมาก จากเดิมที่สามารถขายโดนัทได้ไม่ถึง 40 ชิ้นต่อวัน แต่จู่ๆ ก็เพิ่มเป็นสิบเท่า

     เพื่อรับมือกับออร์เดอร์ที่ล้นหลามนี้ Caffe Pralet จึงขอให้ลูกค้าสั่งโดนัทล่วงหน้า เพื่อจะได้ผิดหวังกลับไป นอกจากนี้ ยังประกาศเวลาทอดโดนัทที่ชัดเจน 2 เวลา ดังนั้นลูกค้าจะรู้ล่วงหน้าว่าโดนัทชุดต่อไปจะออกเมื่อใด  

     แต่เนื่องจากความต้องการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง Caffe Pralet จึงได้เพิ่มจำนวนพนักงาน และขยายกำลังการผลิตเพื่อให้ทันต่อความต้องการมากขึ้น 

     ทิโมธียังเปิดเผยด้วยว่าร้านกาแฟแห่งนี้เตรียมที่จะได้รับเครื่องทอดโดนัทอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่อยากให้ Caffe Pralet เป็นเพียงกระแสไวรัล

     ปัจจุบัน ธุรกิจนี้อยู่ภายใต้การนำของ ทิมโมธี และ เจเรมี ผู้เป็นพี่เขย โดยทิโมธีเปิดเผยว่าในปัจจุบัน Caffe Pralet มีรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่วิสัยทัศน์ของเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความสำเร็จในระยะสั้นเท่านั้น

     เขาไม่ต้องการให้ Caffe Pralet เป็นเพียงกระแสไวรัลเท่านั้น แต่ต้องการให้แบรนด์นี้คงอยู่ยาวนาน เป็นแบรนด์ที่ผู้คนคุ้นเคย และเป็นแบรนด์ที่รักษาคุณภาพและมาตรฐานไว้ได้เสมอ

     ที่สำคัญ Caffe Pralet ยังมีเป้าหมายที่จะขยายกิจการไปยังต่างประเทศ แม้ว่าก่อนหน้านี้ Caffe Pralet เคยเปิดสาขาในจาการ์ตา แต่จำเป็นต้องปิดตัวลงหลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19  ก็ตาม

ที่มา : https://vulcanpost.com

Photo Credit : Facebook caffepralet

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เจ้าแรกในไทย "วุ้นเส้นเฮยะ" ทำจาก โมโรเฮยะ ฉายาผักพระราชาของอียิปต์ พลิกจากไร่อ้อยสู่ธุรกิจเพื่อสุขภาพ”

จากปณิธานของวิทยา เพชรมาลัยกุล ที่อยากให้คนไทยได้ทานของดี และอยากเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้อยู่ต่อถึงรุ่นลูก ไม่เพียงจะได้ผักที่ขายดิบขายดี แต่ยังต่อยอดแปรรูปสินค้าสร้างแบรนด์ "วุ้นเส้นโมโรเฮยะ" เจ้าแรกของไทย

ชีววิถี จากปฏิวัติสมุนไพรไทยด้วยนวัตกรรม สู่การทำ ESG โมเดลพาธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน 

ไม่มีเส้นทางไหนโรยด้วยกลีบกุหลาบ เช่นเดียวกับสมุนไพรไทย “ชีววิถี” ที่เริ่มต้นจากการมองเห็นของดีในท้องถิ่นของอรประภา พรมรังฤทธิ์ จึงเอาน้ำมันมะพร้าวมาเป็นส่วนผสมหลักของผลิตภัณฑ์ความงาม จากธุรกิจครัวเรือนเล็กๆ ถูกต่อยอดด้วยนวัตกรรม จนส่งออกไปขายทั่วโลก