อายุไม่อาจหยุดยั้ง! คุณย่าวัย 73 ปี เปิดร้านกาแฟจากหน้าต่างห้องครัว 

เรียบเรียง : Phan P.


      หากคุณเดินผ่านบ้านแถวนี้ที่ดูธรรมดาๆ ก็อาจจะพลาดไปได้ง่ายๆ กับร้านกาแฟ Kopikhoo” ที่ขายผ่านหน้าต่างของห้องครัว แถมยังมีคุณย่าวัย 73 ปีเป็นบาริสต้าอีกด้วย   

      Kopikhoo เป็นร้านกาแฟเล็กๆ ตั้งอยู่ริมตรอกบนถนน Tembeling สิงคโปร์ ที่จะซื้อขายกาแฟผ่านหน้าต่างไม้สไตล์ Peranakan (การผสมผสาน 2 วัฒนธรรม คือจีนและมลายู) อันโดดเด่น ที่ยื่นออกมาจากด้านหลังบ้านของ พอลิน คู 

การเริ่มต้นของบาริสต้าวัย 73 ปี

     พอลิน อาศัยอยู่กับนิโคลัส คู ลูกชายและครอบครัวในบ้าน 2 ชั้น โดยเธอเกษียณอายุในปี 2548 หลังจากทำงานเป็นครูสอนเด็กก่อนวัยเรียน และได้ใช้เวลาหลายปีไปกับการดูแลหลานๆ ทั้ง 5 คนของเธอ ในตอนนี้เมื่อหลานๆ โตขึ้นมากแล้ว นิโคลัสจึงได้เสนอไอเดียเปิดร้านกาแฟ Kopikhoo ให้กับผู้เป็นแม่  

     “เราคิดว่าการเริ่มต้น Kopikhoo จะเป็นวิธีที่ดีที่ทำให้เธอกระตือรือร้นอยู่เสมอ” นิโคลัส กล่าว “เธอชอบพบปะและพูดคุยกับผู้คน และเธอชอบแนวคิดนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำได้ที่บ้านของเรา”

     ครอบครัวนี้ใช้เวลา 1 เดือนในการปรับปรุงร้าน Kopikhoo และอีกเดือนหนึ่งในการวางแผนและปรับปรุงสูตรกาแฟ โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 9,000 เหรียญสิงคโปร์ ในจำนวนนี้แบ่งเป็นค่าปรับปรุง 6,000 เหรียญสิงคโปร์ และ 3,000 เหรียญสิงคโปร์สำหรับค่าเครื่องชงกาแฟ

      อลินเรียนรู้การชงกาแฟจากนิโคลัส ซึ่งแม้จะทำงานด้านการตลาด แต่เขาก็เริ่มหันมาชงกาแฟในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19

      อย่างไรก็ตาม ในตอนแรกเธอลังเล “กลัวมาก” เมื่อลูกชายแนะนำให้รู้จักเครื่องชงกาแฟที่ไม่คุ้นเคยและซับซ้อน ที่สำคัญหญิงวัย 73 ปีผู้นี้ เลี่ยงการดื่มกาแฟมาเป็นเวลานานเนื่องจากปัญหากระเพาะอาหาร

     “ความท้าทายสำคัญคือการทำให้แน่ใจว่ากาแฟของเรามีความสม่ำเสมอ” นิโคลัสกล่าว “ในวัย 73 ปี สิ่งสำคัญคือการมีระบบ การเตรียมที่เรียบง่าย ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเครื่องดื่มทุกชนิดได้ และต้องมีเมนูที่เรียบง่ายที่คำนวณและเตรียมได้ง่าย”

     หลังจากฝึกฝนมาเป็นเวลาหนึ่งเดือน พอลินก็เชี่ยวชาญในการวัดปริมาณกาแฟตามสูตรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ  

     “เราเริ่มด้วยการเปิดตัวแบบไม่เป็นทางการในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมและขายถ้วยชิมราคาใบละ 2 ดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อให้คุณแม่ได้ฝึกฝนและทดสอบเครื่อง ซึ่งนั่นมีประโยชน์มากเพราะทำให้เธอมีความมั่นใจมากขึ้น” นิโคลัสกล่าว

ขายกาแฟเฉลี่ยวันละ 50 แก้ว

     Kopikhoo เพิ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ปัจจุบันพอลินเปิดร้านด้วยตัวเองในวันธรรมดา ส่วนนิโคลัสและครอบครัวจะมาช่วยงานในช่วงสุดสัปดาห์

     แม้ว่าธุรกิจจะเริ่มต้นได้ช้าและมีคนเดินผ่านไปมาน้อยมาก แต่ นิโคลัส เล่าว่าการที่แม่ของเขาพยายามเข้าไปหาผู้คนที่เดินผ่านมาที่หน้าต่างร้าน หลังจากนั้นก็ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น เมื่อแฟนๆ โพสต์เกี่ยวกับร้าน Kopikhoo บน TikTok และสื่อต่างๆ ก็เข้ามาทำข่าวมากขึ้น จากตอนแรกที่ขายได้ประมาณ 30 แก้วต่อวัน ก็เพิ่มเป็นประมาณ 50 แก้วต่อวัน

     Kopikhoo มีเครื่องดื่มต่างๆ เช่น อเมริกาโน่และลาเต้ ราคาเริ่มต้นที่ 3.50 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต้องยอมรับว่าจำนวน 50 แก้วต่อวันนี้ ยังไม่ได้รับกำไรเลยด้วยซ้ำ เพราะถ้าจะได้กำไรจะต้องขายกาแฟให้ได้ประมาณ 100 แก้วต่อวัน แต่ครอบครัว Khoos ก็ยังคงมองโลกในแง่ดี

     “เรากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้” นิโคลัสกล่าว “Kopikhoo กำลังมองหาเมนูอาหารแบบซื้อกลับบ้านที่เข้ากันได้ดีกับกาแฟของร้าน”

     นอกเหนือจากเป้าหมายทางการเงินแล้ว นิโคลัสยังหวังว่าพอลินจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่และคนในรุ่นของเธอให้ "เป็นผู้ประกอบการและสัมผัสประสบการณ์ชีวิต เพียงแค่พยายาม"

     สำหรับนิโคลัส ส่วนที่คุ้มค่าที่สุดในครั้งนี้คือการได้เห็นความอดทนของแม่ และค้นพบจิตวิญญาณผู้ประกอบการของเธอ  

     ส่วนเด็กๆ การได้เห็นคุณยายทำงานจากหลังครัวช่วยหล่อหลอมให้พวกเขาเข้าใจว่าการเป็นผู้ประกอบการคืออะไร ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้เมื่อต้องบริหารธุรกิจหรือทำตามความฝัน เพียงแค่ต้องแหกกฎเกณฑ์และเลือกเส้นทางที่คนอื่นไม่ค่อยเดิน

 

ที่มา : www.vulcanpost.com

Photo : Instagram kopikhoosg

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ไทรสุก ธุรกิจสุดครีเอท เล่าเรื่องเขาใหญ่ผ่านไอศกรีม

จากการผนวกความฝันของ “เต้ย-ปฤษฎิ์ เก่งสูงเนิน” ไกด์นำเที่ยวสำรวจป่าเขาใหญ่ และ “แนน วราภรณ์ มงคลแพทย์” แฟนสาวเจ้าของธุรกิจแปรรูปผลไม้ เกิดเป็น “ไทรสุก” ร้านไอศกรีมที่ถ่ายทอดเรื่องราวสัตว์ป่าผ่านรสชาติแสนอร่อยและสีสันที่สวยงาม

มิติใหม่ร้านอาหารไทย! Mr.Kanso ธุรกิจบาร์อาหารกระป๋อง จากญี่ปุ่นสู่สาขาแรกในไทยที่สงขลา

เรื่องราวของ Mr.Kanso บาร์อาหารกระป๋องจากญี่ปุ่นที่ เอก-เศรษฐกรณ์ รัตนาชัยโรจน์ หนุ่มสงขลาได้ชิมแล้วถูกปากถึงขั้นขอซื้อลิขสิทธิ์จากญี่ปุ่น ซึ่งต้องใช้ลูกตื้อเป็นเวลา 3 ปี กว่าเจ้าของจะใจอ่อนยอมให้นำเข้ามาเปิดที่สงขลาบ้านเกิด

เจนลูกสาวป้าดำ คาเฟ่ที่จัดจ้านที่สุดในย่านแบริ่ง กาแฟ เบเกอรี และเล่าเรื่องแบรนด์

ถ้าพูดถึงคาเฟ่ชื่อดังย่านแบริ่ง หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อ “เจนลูกสาวป้าดำ” คาเฟ่ชื่อแปลก แต่กลับสร้างการจดจำให้แก่ลูกค้าที่มาเยือนรวมอยู่ด้วยแน่นอน