วิธีรับมือในวันที่สินค้าเป็นกระแส กับปรากฏการณ์ออร์เดอร์รายวินาที จากเจ้าของแบรนด์เค้ก Nie&Ivan

     ใครว่าขายของดีแล้วไม่เครียด? เพราะการขายของให้ดีให้หมดไวเกลี้ยงแผง ย่อมเป็นเป้าหมายของการค้าขาย แต่บางครั้งยอดขายที่มาแบบถล่มทลายแบบรวดเร็วเกินไปทำให้หลายคนตั้งตัวไม่ทัน เพราะความสำเร็จที่มาแบบติดจรวดนั้นเต็มไปด้วยความท้าทายและความเครียดที่หลายคนไม่เคยรู้

     ดังเช่น "ปรากฏการณ์ออร์เดอร์ถล่มทลายของเค้ก Nie&Ivan ทำให้ ลิตเติ้ล-ปภาพินท์ เดียวสุรินทร์ เจ้าของแบรนด์ Ivan Factory และ Nie&Ivan ที่ตั้งใจจะทำธุรกิจให้เติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่คาดไม่ถึง ต้องปรับกลยุทธ์แบบปัจจุบันทันด่วน

     ในแง่ธุรกิจ ถ้าไม่สามารถรับมือกับความต้องการของลูกค้าจำนวนมากได้ทัน ถือว่าพลาดโอกาสในการเติบโต แต่ถ้าจะขยายธุรกิจเพื่อรองรับออร์เดอร์จำนวนมากจะเป็นความเสี่ยงหรือไม่ ไปดูกันว่าเธอมีวิธีรับมืออย่างไรในวันที่สินค้าเป็นกระแสชั่วข้ามคืน

#อร่อยสร้างเรื่อง

     จากประสบการณ์ที่เคยทำธุรกิจร้านอาหารเบเกอรี่มาประมาณ 6-7 ปี และตอนนั้นเริ่มเห็นเทรนด์การซื้อของแบบ Take a way ในต่างประเทศบวกกับอยากที่จะบาลานซ์ชีวิตให้กับตัวเองมากขึ้นจึงหันขายเบเกอรี่ออนไลน์เป็นรายแรกๆ ที่ต้องเรียนรู้การทำธุรกิจใหม่ๆ ไปในตัว หลังจากทำไปสักพักมีกลุ่มลูกค้าแฟนคลับประจำ แต่ต้องยอมรับว่าวันที่สินค้าเริ่มแมสหลังจากที่ มิกซ์เฉลิมศรี หรือ “Badmixy” อินฟลูเอ็นเซอร์ชื่อดังได้ลิ้มลองเค้ก “Nie & Ivan” และโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ทำให้ไลน์ของทางแบรนด์เด้งไม่หยุด ถึงขนาดเกิดปรากฏการณ์ออร์เดอร์รายวินาที ที่ออร์เดอร์เด้งนานอยู่เป็นอาทิตย์

#บทเรียนเมื่อสินค้าแมสชั่วข้ามคืน

     ลิตเติ้ลเผยว่า การที่แบรนด์ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ทำให้เธอต้องเผชิญกับความท้าทายในการบริหารจัดการธุรกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะถ้าในแง่ธุรกิจ ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับกลายเป็นอุปสรรคเมื่อไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันนั้นถือว่าเป็นข้อผิดพลาดโอกาสในการเติบโต อีกทั้งเป้าหมายของเธอคือ อยากทำให้แบรนด์ค่อยๆ เติบโตอย่างยั่งยืน และยังคงมาตรฐานคุณภาพความอร่อยแบบเค้กโฮมเมด

     “สิ่งที่จัดการยากที่สุดไม่ใช่เรื่องออร์เดอร์แต่เป็นปัญหาเรื่องการจัดการ เดิมมีลูกค้าต่างชาติซื้อกับเราเป็นจำนวนเยอะเลยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องกำลังการผลิต แต่ติดปัญหาเรื่องการจัดการ ยกตัวอย่างลูกค้าหนึ่งเจ้าสั่งหนึ่งพันชิ้น แต่อันนี้ลูกค้าสั่งพันชิ้นแต่ไม่ใช่ลูกค้ารายเดียวฉะนั้นเราต้องคุยกับลูกค้าหลายๆ คน ซึ่ง process ต่างกันเลย เราจึงต้องเทรนพนักงาน ต้องหาทีมมาดูแลการรับส่งออร์เดอร์เซ็ตระบบให้ลงตัวที่สุด ต้องเพิ่มแอดมินอีกประมาณ 10 คน และมีซื้อเครื่องจักรบางตัวเพิ่ม”

#ยุคออนไลน์ต้องคิดไวทำไว

     ด้วยบุคลิกส่วนตัวที่เป็นคนที่ชอบทำอะไรด้วยความรวดเร็ว เธอบอกว่าใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง ปรับกลยุทธ์ อาทิ สมัครไลน์ช้อปปิ้ง แต่ที่ยากกว่านั้นคือ การบริหารจัดการจำนวนออร์เดอร์ การจัดการพนักงาน หาทีมงานมาดูแลเซ็ตระบบให้ลงตัวที่สุด ให้เพียงพอกับการขยายธุรกิจที่ต้องไม่กระทบกับคุณภาพสินค้า รวมทั้งล่าสุดได้ตัดสินใจเปิดสาขาที่พารากอน

     “ช่วงที่สินค้าเราแมสมากๆ มีคนรอบข้างบอกว่าโกยได้โกย แต่เราไม่ได้คิดแบบนั้น เพราะถ้าคิดแบบนั้น attitude mindset จะเปลี่ยน การผลิตคิดจะเปลี่ยน แต่เมื่อลูกค้าให้โอกาสเราๆ ต้องสร้างมาตรฐาน ประสบการณ์ที่ดีขึ้นเพื่อให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ ยิ่งขายดีมากยิ่งต้องระวัง”

#ขายของออนไลน์ต้องมี Product Hero

     สิ่งที่ลิ้ตเติ้ลเรียนรู้ในการทำธุรกิจออนไลน์คือ ความรวดเร็ว ความทันสมัย ไม่สามารถอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องคิดสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลาเช่น การคอลแลปกับศิลปินสาว เนเน่-พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ ที่ต่างมีแนวคิดตรงกันคืออยากทำสินค้าคุณภาพให้สินค้าขายได้ด้วยตัวมันเอง

     “ร้านออนไลน์เหมือนอยู่ในอากาศ ต้องทำให้คนนึกถึงเราได้เสมอ ร้านต้องมี signature ที่บอกได้ว่าทำไมต้องมากินร้านนี้ละ อย่างร้านเราวาง position ให้คนนึกถึงชีสเค้กทุเรียน ต้องนึกถึงร้านเราเท่านั้น โจทย์มีแค่นี้ทำอย่างไรก็ได้ทุกวิถีทาง ตอกย้ำๆ ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อให้ลูกค้าจำร้านเราให้ได้ ซื้อไม่ซื้อไม่เป็นไรแต่เค้าต้องจำให้ได้ก่อน นึกถึงชีสเค้กทุเรียนต้องร้านนี้ พอเค้าเกิดภาพจำปุ๊บ ทำให้ลูกค้ามาแล้วมันมีเป้าหมายเหมือนมาร้านเจ๊ไฝก็ต้องสั่งเมนูไข่เจียวปู”

#เทรนด์การขายตอนนี้คือเรื่องของอีโมชั่น

     ปัจจัยที่ทำให้เค้ก Nie&Ivan ได้รับความสำเร็จไม่ใช่แค่กระแสเท่านั้น เจ้าของแบรนด์บอกว่าเธอเน้นคุณภาพสินค้าตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบ อาทิ ลงทุนซื้อมะม่วงกิโลกรัมละ 400 บาท เป็นต้น นอกจากนี้ลิตเติ้ลมองว่า เทรนด์การขายของตอนนี้คือ เรื่องของอีโมชั่น ไม่ใช่แค่เรื่องของเงินหรือกำลังซื้อเหมือนอดีต

     “เหมือนกับคำว่า Sold Out ก็เช่นกัน มันเป็นเรื่องของความรู้สึกช่วยกระตุ้นความอยากของผู้บริโภคทำให้เกิดการสั่งซื้อถ้าโปรดักต์คุณแข็งแรงก็จะทำให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ ถ้าทำได้แบบนี้เป็นวงจรการขายที่ประสบความสำเร็จ”

    ข้อมูลจากงาน “SOLD OUT on Stage...แบไอเดีย ขายเกลี้ยงแผง

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

D'Art Cafe & Coffee Lab คาเฟ่ในหอศิลป์ จ.นราธิวาส จุดเชื่อมโยงที่อยากให้ผู้คนได้ใกล้ชิดศิลปะ

ในวันนี้ร้านน้ำชา จ.นราธิวาส บางร้านเริ่มถูกดัดแปลงเป็นร้านกาแฟตามยุคสมัย คนรุ่นใหม่เริ่มเปลี่ยนผ่านสถานที่รวมตัว D'Art Cafe & Coffee Lab จึงเกิดขึ้นในหอศิลป์ De' Lapae Art Space Narathiwat เพราะอยากจะให้ผู้คนได้ใกล้ชิดศิลปะ โดยมีคาเฟ่เป็นจุดเชื่อมโยง

นคร แขฉายแสง จากแรงบันดาลใจในปรัชญาอิคิไก สู่ CATUP โดมแมวอัปไซเคิล

นคร แขฉายแสง วิศวกรผู้รักในงานประดิษฐ์ และลองผิดลองถูกกับการปลุกปั้นชิ้นงานต่างๆ เพื่อหวังเติบโตทางธุรกิจ แต่แล้วในวันหนึ่งเมื่อเขาเข้าใจปรัชญาอิคิไกอย่างลึกซึ้ง จึงเริ่มต้นทำธุรกิจอีกครั้งด้วยความมั่นใจ และคาดหวังว่าจะความยื่งยืนในวิถีอิคิไก

ศิลินลักษ์ ตุลยานันต์ CEO ที่เคยเกือบถูกไล่ออกจากบริษัทของตัวเอง

เรื่องราวของ เฟิร์น - ศิลินลักษ์ ตุลยานันต์ CEO บริษัท ฟู้ด อีควิปเม้นท์ จำกัด ผู้นำเข้าและผลิตเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ที่ครั้งหนึ่งเคยเกือบถูกไล่ออกจากบริษัทของตัวเอง จากความมุ่งมั่น และจริงจังในการทำงานที่มีมากเกินไปจนล้น เป็นยังไง ไปติดตามกัน