คุมอารมณ์ยังไงให้งานไม่สะดุด บทเรียนจากหนัง inside out  เมื่อทุกความรู้สึกมีผลต่อการทำงาน

TEXT : Jay.Wannakhun

     เราได้มีโอกาสไปดูภาพยนตร์แอนิเมชัน “inside out” แล้วเกิดความคิดที่ว่า

     ถ้าแทนอารมณ์ต่างๆ ในภาพยนตร์ inside out เจ้าของธุรกิจจะคุมอารมณ์อย่างไรไม่ให้กระทบการทำงาน?

     ขอแนะนำก่อนว่า ในภาพยนตร์เรื่องนี้เกี่ยวกับอารมณ์ของเด็กสาวชื่อว่า ไรลีย์ ที่ในหัวของเธอจะมีอารมณ์หลักๆ อยู่คือ ลั้ลลา (Joy), เศร้าซึม (Sadness), กลั๊วกลัว (Fear), ฉุนเฉียว (Anger) และขยะแขยง (Disgust) ที่ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้ปรับตัวกับชีวิตใหม่ก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

     หนังได้รับการตอบรับอย่างดีจนสร้างมาถึงภาคที่สอง เรื่องราวยังคงติดตามชีวิตของเธอในช่วงวัยรุ่น ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ และมีอารมณ์ใหม่ๆ เข้ามาในหัว ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกไม่ว่าจะเป็นว้าวุ่น (anxiety) อิจฉา (Envy), อ๊ายอาย (Embarrassment) และ เฉยชิล (Ennui) ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง

     ถ้าอารมณ์เหล่านี้เกิดกับผู้ประกอบการล่ะ? เรื่องราวอารมณ์มันไม่จบแค่ในหัวเรา แต่เชื่อมโยงไปคนรอบข้าง ผ่านสีหน้า การกระทำ คำพูด ที่เมื่อเราให้อารมณ์อยู่เหนือทุกอย่าง แล้วสั่งการผิดพลาดไปสักนิด อาจทำให้องค์กร หรือธุรกิจเรามีปัญหาได้

 

  • อารมณ์ “ว้าวุ่น”

 

ภาพยนตร์

     นับว่าเป็นตัวเด่นของภาคนี้ น้องว้าวุ่น เป็นความรู้สึกที่ ไรลีย์ ต้องการได้รับการยอมรับจากเพื่อนใหม่ ว้าวุ่นใจในการเตรียมตัวเข้ากับโรงเรียนใหม่ และสังคมใหม่ ไม่ว่าจะใช่วิธีไหนก็ตาม หรือมีปัญหาตามมามากแค่ไหน แต่ว้าวุ่นก็ทำเพื่อให้ไรลีย์ไปถึงเป้าหมาย ถึงสุดท้ายผลลัพธ์จะน่าผิดหวังก็ตาม

การทำงาน

     ความว้าวุ่นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในโลกของการทำธุรกิจ เมื่อผู้ที่เป็นเจ้ของหรือหัวหน้า ควรจัดการความว้าวุ่นด้วยการวางแผนอย่างรอบคอบ เตรียมตัวพร้อมรับปัญหาในสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็จะช่วยลดความกังวล และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

  • อารมณ์ “ลั้ลลา

 

ภาพยนตร์

     เมื่อเราโตขึ้น ความสุขก็น้อยลง? หรือจะมีใครเถียงไหม

เหมือนในเรื่องที่ไรลีย์รับรู้ถึงความสุขที่ค่อยๆ ลดลงเมื่อเธอเติบโตขึ้น แต่น้องลั้ลลาก็ไม่ยอมแพ้ ปกป้องตัวตนของไรลีย์ พยายามกลับมาเพื่อช่วยให้เธอมีความสุข ร่าเริงอีกครั้งเหมือนตอนที่เธอยังเด็ก ยิ้มได้เสมอแม้จะเผชิญกับความยากลำบาก

การทำงาน

     น้องลั้ลลา เปรียบได้กับการมีทัศนคติเชิงบวก เมื่อธุรกิจต้องเจอความท้าทาย เช่น การทำงาน หรือการตลาดที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย การมีทัศนคติเชิงบวกจะช่วยให้เราที่เป็นหัวหน้า หรือพนักงานในองค์กร มีไฟ ไม่ย่อท้อ มุ่งมั่นในการหาทางแก้ไขปัญหา เพื่อปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

  • อารมณ์ “เศร้าซึม

 

ภาพยนตร์

     ต่อเนื่องจากภาคแรก ทุกอารมณ์เข้าใจถึงความสำคัญของเศร้าซึม และบทบาทของความเศร้าที่มีผลต่อความรู้สึก น้องเศร้าซึมช่วยให้ไรลีย์เข้าใจ และยอมรับ ใช้มันเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงกับคนอื่น เมื่อรู้สึกเศร้าเพราะเรื่องความสัมพันธ์ เศร้าซึมทำให้เธอร้องไห้ และเปิดใจให้พ่อแม่ หรือเพื่อนได้รับรู้ถึงความรู้สึกที่แท้จริง

การทำงาน

     ในชีวิตการทำงาน การยอมรับและจัดการกับความล้มเหลวเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อธุรกิจไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง จะมัวจมอยู่กับความผิดหวังก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น การเรียนรู้จากความล้มเหลวและเปิดใจรับความรู้สึกเหล่านั้น นำมาเป็นบทเรียนพร้อมลุกขึ้นสู้ใหม่ จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับปรุง และพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อไป

  • อารมณ์ “กลั๊วกลัว

 

ภาพยนตร์

     ถึงไรลีย์จะเป็นคนขี้กลัวไปสักหน่อย แต่กลั๊วกลัวก็มีหน้าที่ป้องกันไรลีย์ จากสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย คอยเตือนภัยอยู่ตลอด ที่ในเรื่องน้องกลั๊วกลัวทำให้เธอปลอดภัยจากการเล่นฮอกกี้ แถมเมื่อเรามีอาการกลัวมักเจอไอเดียเจ๋งๆ อีกด้วย

การทำงาน

     ความกลัวในการทำงานอาจฟังดูแปลกๆ แต่มันก็มีมุมดีๆ อยู่บ้าง ถ้าผู้ประกอบการจะเปลี่ยนความกลัวให้เป็นการระมัดระวัง ก่อนเริ่มโปรเจ็กต์ใหม่ หรือก่อนทำอะไรต่างๆ ผู้ประกอบการทำการตรวจสอบ และวางแผนอย่างรอบคอบก่อนลงมือทำเสมอ เพื่อป้องกันความล้มเหลวได้นั่นเอง

  • อารมณ์ “ฉุนเฉียว

 

ภาพยนตร์

     ความโกรธจะโผล่ออกมา และมีบทบาทเสมอเมื่อไรลีย์ รู้สึกไม่ยุติธรรมหรือหงุดหงิดจากการถูกเลือกปฏิบัติ น้องฉุนเฉียวก็พร้อมที่จะระเบิดอารมณ์ออกมาอย่างรุนแรง ไม่กลัวที่จัดการอุปสรรค ต่อสู้กับปัญหาตรงหน้า ถ้าคิดว่าสิ่งที่ทำเป็นผลดีกับตัวไรลีย์

การทำงาน

     ในการทำงานเราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีความโกรธ หรือหัวร้อนขึ้นเมื่อมีความไม่พอใจในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เช่น เกิดปัญหาและทะเลาะกันกับพนักงานในองค์กร ก็ไม่ควรระเบิดอารมณ์ ต้องใช้ความโกรธอย่างสร้างสรรค์ คิดหาไอเดียแก้ปัญหา เปิดอกพูดคุยกันอย่างมีเหตุผล จะช่วยให้ธุรกิจพัฒนาขึ้น โดยไม่มีเรื่องภายในมาฉุดรั้งไว้

  • อารมณ์ “อิจฉา

ภาพยนตร์

     ความอิจฉามักทำให้ไรลีย์เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น แม้น้องอิจฉาจะเป็นอารมณ์ตัวเล็กๆ ในเรื่อง แต่เธออิจฉาสิ่งที่คนอื่นมีอยู่เสมอ อิจฉาเพื่อนที่มีความสุขกันแค่สองคน อิจฉาความสำเร็จของคนในทีม และหลงใหลในสิ่งที่ไรลีย์ไม่มี

การทำงาน

     แรงอิจฉาทำได้ทุกอย่าง เหมือนนางร้ายในละครหลังข่าว ยิ่งเป็นความอิจฉาที่เกิดขึ้นเมื่อเห็นธุรกิจคู่แข่งประสบความสำเร็จ การเห็นคู่แข่งไปไกล แถมเด่นเกินหน้าเกินหน้า การเปลี่ยนความอิจฉาจากจุดนี้ที่รู้สึก ให้เป็นแรงกระตุ้นในการพัฒนาการทำงาน หรือพัฒนานวัตกรรมของตัวเอง เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และสามารถแข่งขันได้

  • อารมณ์ “เฉยชิล

ภาพยนตร์

     ความเฉยชิล เบื่อหน่าย มักพยายามทำทุกอย่างให้เป็นเรื่องง่าย เหมือนน้องเฉยชิลที่แค่นอนบนโซฟา กดรีโมทควบคุมแทน จะดูว่าฉลาดไม่เหมือนใคร หรือขี้เกียจก็ไม่ผิด แต่ในเรื่องเฉยชิลไม่ได้ส่งผลกับไรลีย์มากขนาดนั้น อาจรู้สึกเฉยเมื่อต้องทำสิ่งที่เคยทำแล้วซ้ำๆ และไม่มีความท้าทาย

การทำงาน

     ความเฉยชิลสามารถเกิดขึ้นเมื่อขาดความท้าทายหรือแรงจูงใจในการทำงาน หรือที่เรียกว่าอาการหมดไฟ การเบื่อหน่ายเมื่อทำงานในที่ที่ไม่มีความท้าทาย การค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการกระตุ้นและท้าทายตัวเอง เช่น การเรียนรู้ทักษะใหม่ การเปิดใจรับเทคโนโลยี จะช่วยให้ผู้ประกอบการไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ยังคงพัฒนา และก้าวต่อไป

     การจัดการกับอารมณ์ที่หลากหลายก็เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ความเข้าใจและการรับมือกับอารมณ์ทั้งในแง่บวก และลบจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเผชิญกับความท้าทาย และโอกาสในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมือนกับการนำบทเรียนจากหนัง Inside Out มาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยเรื่องการตัดสินใจในธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นนั้นเอง

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ถอดบทเรียนความล้มเหลว สู่สูตรลับสร้างความสำเร็จ จาก พิชเยนทร์ หงส์ภักดี

ในบรรดาสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เชื่อว่าชื่อของ Anitech คงเป็นหนึ่งในชื่อที่ถูกกล่าวถึงบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น เมาส์ ปลั๊กไฟ วันนี้เราเลยชวนคุยกับ โธมัส-พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี ถึงเบื้องหลังการพัฒนาสินค้า ที่มีทั้งความสำเร็จ ความล้มเหลว รวมถึงวิธีการมองหาสินค้าใหม่ๆ

พี่ไก่ วีคลีน สร้างยอดขายร้อยล้านแบบ Infinity ได้อย่างไร

จากจุดเริ่มต้นที่ตั้งใจจะใช้ช่อง TikTok อวดสุนัขทั้ง 17 ตัว ใครจะคิดว่าได้กลายมาเป็นช่องทางสร้างรายได้หลักร้อยล้านให้กับ กัญจน์รัตน์ ศักดิกรธนาศิริ หรือ พี่ไก่ เจ้าของ “วีแคร์ยู” และ “รัญจวน”

เมื่อทายาทโรงขนมกุยช่ายตลาดพลู พลิกโฉมธุรกิจ สร้างแบรนด์ Sooo Guichai จนขายได้วันละ 1,000 ลูก

ทำไมขนมกุยช่ายต้องสร้างแบรนด์? ที-กิตติคุณ กชกรจารุพงศ์  ทายาทรุ่นที่ 3 ของโรงขนมกุยช่ายตลาดพลู มองเห็นโอกาสอะไร จึงคิดสร้างแบรนด์ Sooo Guichai (โซกุยช่าย) กุยช่ายแป้งเปลือย เน้นไส้ แป้งน้อย จนปังขายได้ถึงพันลูกต่อวัน