สร้างองค์กรยังไงให้ธุรกิจ “โต” ถอดแนวคิดจากผู้บริหาร Apple

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • หลายคนอาจไม่รู้ว่าหนึ่งในกลยุทธ์กลยุทธ์ที่ทำให้บริษัท Apple เติบโตได้คือ การฆ่าผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

 

  • รวมทั้งการคิดต่าง ‘Think Different’ แคมเปญการตลาด ที่กลายมาเป็น Core Value สำคัญของ Apple กลายเป็นแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ และเป็นต้นแบบผู้นำในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มาจนถึงปัจจุบันนี้

 

วิธีคิดให้ธุรกิจต่างและโตของ Apple

     เรียกว่าเปิดตัวกันมาถึงรุ่นที่ 15 กันแล้วสำหรับโทรศัพท์มือถือไอโฟนของค่าย Apple ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อไม่นานนี้ แม้จะมีราคาที่สูงแต่ก็ยังมีสาวกที่เฝ้ารอคอยโทรศัพท์ยี่ห้อนี้อยู่เรื่อยๆ อะไรทำให้ธุรกิจของ Apple เติบโตและสินค้าก็เป็นที่ต้องการของตลาด บริษัทนี้มีวิธีสร้างองค์กรอย่างไรไปติดตามกัน

  • นักฆ่าผลิตภัณฑ์ตัวเอง

 

     โทรศัพท์มือถือนั้นเรียกได้ว่าเป็นสินค้าที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บ่อยมาก แต่ Steve Jobs นำแนวคิด ‘Think Different’ จากแคมเปญการตลาด มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ที่แตกต่างในแบบที่คนอื่นอาจคิดไม่ถึงด้วย เช่น การที่จะทำให้บริษัทเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน ต้องฆ่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองทิ้งก่อนที่แบรนด์อื่นจะมาฆ่าสินค้าของเขา เหมือนกับที่ Steve Jobs คิดค้น iPod ขึ้นมา เพื่อฆ่า Sony Walkman ต่อมาเขาก็กลับมาฆ่า iPod ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง iPhone ขึ้นมา ซึ่งจุดเริ่มต้นของการ ‘คิดต่าง’ นี้ ทำให้ Apple กลายเป็นแบรนด์ที่ยิ่งใหญ่ ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น Core Value สำคัญของ Apple

  • ศูนย์รวมหัวกะทิ

 

     Apple ขึ้นชื่อเรื่องการเลือกจ้างพนักงานเฉพาะคนที่มีความสามารถที่โดดเด่นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นยุค Steve Jobs หรือ Tim Cook ต่างขึ้นชื่อในเรื่องความเข้มงวดใครที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างหย่อนหยานเขาก็จะเลิกจ้างทันที วัฒนธรรมนี้ทำให้คนที่จะอยู่ที่นี้ต้องมีความเป็นเลิศและเต็มใจที่จะทำงานในระบบของบริษัทเท่านั้น

  • สร้างอาณาจักรที่เอื้อต่อการทำงาน

 

     เป็นที่รู้กันดีว่า Apple เป็นองค์กรที่เน้นความสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากขึ้น บริษัทไม่เพียงพยายามพัฒนาออกแบบสภาพแวดล้อมให้น่าทำงานที่สร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการให้อิสระหลายๆ อย่าง เช่น ให้อิสระในการแต่งกายที่ไม่จำเป็นต้องเป็นทางการ

  • ไม่กลัวงานหนัก พักผ่อนน้อย

 

     นอกจากจะเน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์แล้ว การทำงานภายใต้ความกดดันเป็นทักษะที่พนักงาน Apple ทุกระดับต้องมี โดยมี CEO อย่าง Tim Cook เป็นตัวอย่างที่ขึ้นชื่อในเรื่องการส่งอีเมลถึงพนักงานตอน 04.30 น. นอกจากนี้ วันอาทิตย์ยังเป็นคืนทำงานสำหรับผู้จัดการหลายๆ คนของ Apple เพื่อเตรียมประชุมในวันถัดไป แต่บริษัทก็ทดแทนการทำงานหนักด้วยสวัสดิการที่เลิศ เช่น มีงบประมาณให้พนักงานไปเรียนรู้หรืออัปสกิลมากถึง 5,250 ดอลลาร์ต่อปี (หรือประมาณ 185,000 บาท), มีเครื่องดื่มและของว่างไม่อั้น ฯลฯ

 

  • เก็บความลับเก่ง

 

     มีการตั้งข้อสังเกตว่า แม้แต่วิศวกรอาวุโสของ Apple ยังไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายของ Apple จะเป็นอย่างไรจนกว่าจะถึงวันเปิดตัว

     ด้วยปัจจัยเหล่านี้ที่ถือว่าเป็นรากฐานทำให้ Apple เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้ได้

ที่มา : https://thinkmarketingmagazine.com/apple-core-values/

https://blog.grovehr.com/apple-company-culture

https://www.apple.com/newsroom/2023/04/apple-cards-new-high-yield-savings-account-is-now-available-offering-a-4-point-15-percent-apy/?fbclid=IwAR0dNUu7_DzWUNlysM_DL_u2emhc2AYXnIYIrfdLKgU2Wbg3ArUJHNq72co

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เจาะกระบวนท่าท้าดวล ส่ง “อบอวล” สู้ศึกตลาดยาดม ปรุงกลิ่นหอมแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจากมือแพทย์แผนไทยประยุกต์สุดล้ำ!

“อบอวล” แบรนด์ยาดมสุดชิค ที่กำเนิดจากความคิดของแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ ไม่ใช่แค่สดชื่น แต่ต้องถึงกับร้องว่า “มีกลิ่นนี้ด้วยหรือฟะ!” อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้ “อบอวล” ที่มีอายุกว่า 3 ปี โดดเด่นไม่แพ้ใคร..ลองไปกะเทาะดูเนื้อในของธุรกิจกัน

ทำไม Live Exchange จึงเป็นตลาดทุนที่ SME อยากโตต้องรู้จัก ฟัง ประพันธ์ เจริญประวัติ

พูดคุยกับบ "ประพันธ์ เจริญประวัติ" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ MAI และ Live Exchange ที่จะบอกเล่าว่าทำไม การระดมทุนคือกลไกสำคัญที่จะพา SME ไปสู่ความสำเร็จ และ Live Exchange คือบันไดขั้นแรกที่ SME ทุกขนาดต้องรู้จัก

 The 3rd daughter วาดฝันให้เป็นจริง จากสติกเกอร์สู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ครองใจคนกว่า 10 ปี

ชวนไปดูเส้นทางการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากความหลงใหลในศิลปะจนพัฒนาแบรนด์ The 3rd daughter เข้าไปอยู่ในชีวิตของใครหลายคนผ่านสารพัดของกระจุกกระจิกที่แสนน่ารักมาได้มากกว่า 10 ปี! ของตาต้า-ลดาพร ทรัพย์ภคกุล