2 กลยุทธ์พา SME บุกตลาด Plant Based สู้กับรายใหญ่ได้โดยไม่เสียเปรียบ

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • หนี่งในธุรกิจอาหารที่มาแรงคือ plant based ดูได้จากตัวเลขของ Euro Stat บอกว่าปี 2565 ตลาด แพลนต์เบสทั่วโลกอยู่ที่ 44,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

  • ในขณะที่ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินว่าในปี 2567 ตลาดแพลนต์เบสประเทศไทยจะอยู่ที่ 45,000 ล้านบาทหรือโตเฉลี่ยที่ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

 

  • ทำให้มีผู้เล่นมากมายที่หันมาสนใจตลาดนี้โดยเฉพาะธุรกิจรายใหญ่ที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือและกำลังทุน

 

  • นี่คือ 2 วิธีที่จะพา SME ที่อยากตีตลาดหมื่นล้านนี้โดยไม่ต้องเสียเปรียบผู้เล่นรายใหญ่

 

 

     นับวันความมั่นคงทางอาหารเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นตามจำนวนประชากรโลกในปัจจุบันมีมากถึง 7,000 ล้านคน เพราะฉะนั้นการจะพึ่งพิงอาหารจากเนื้อสัตว์อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอในอนาคต

     แพลนต์เบส (Plant Based) อาหารที่ผลิตจากพืชเป็นหลัก กลายมาเป็นทางเลือกของคนที่ต้องการอาหารที่มีคุณค่า แต่ไม่ต้องการทานหรือเบียดเบียนเนื้อสัตว์ ส่งผลให้ตลาดแพลนต์เบสเติบโตขึ้นทุกปี

     จากตัวเลขของ Euro Stat บอกว่าปี 2565 ตลาด แพลนต์เบสทั่วโลกอยู่ที่ 44,200 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดแพลนท์เบสประเทศไทยอยู่ที่ 40,000 ล้านบาท ขณะที่ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ประเมินว่าในปี 2567 ตลาดแพลนท์เบสประเทศไทยจะอยู่ที่ 45,000 ล้านบาทหรือโตเฉลี่ยที่ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปี

     จากข้อมูลดังกล่าวจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าในวันนี้ “Plant Based” หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชที่แปรรูปให้อยู่ในรูปแบบ และรสชาติคล้ายกับเนื้อสัตว์เติบโตมากยิ่งขึ้น จนทำให้ผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจดังกล่าวเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทั้งรายเล็กที่เป็นคนเริ่มต้นจุดกระแสขึ้นมาในเมืองไทย ไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต่างทยอยทัพเข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น ควบคู่ไปกับความนิยมจากผู้บริโภคที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เมื่อ Plant Based เริ่มเป็นโอกาสของผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมอาหารของไทย แต่การจะไปแข่งขันกับรายใหญ่ที่มีความพร้อมทั้งด้านเงินทุน เทคโนโลยี และช่องทางการจัดจำหน่ายอาจไม่ใช่เรื่องง่าย SME จะหาช่องว่างจากโอกาสนี้ยังไง ลองมาฟังคำแนะนำจาก วินัย วิโรจน์จริยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพนนินซูลาร์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้ริเริ่มจัดงาน Plant Based Festival รายแรกๆ ในเมืองไทย

     “ตลาดแพลนต์เบส เริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมขึ้นในเมืองไทยเมื่อ 4-5 ปีก่อน โดยเริ่มจากผู้ประกอบการรายเล็กไปสู่ผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่ว่าปัจจุบันนี้บริษัทขนาดใหญ่ทางด้านอาหาร ได้หันมาสนใจผลิตสินค้าประเภท Plant based มากขึ้น

      ถ้าเทียบการเติบโตบริษัทรายใหญ่ไปได้ไกลกว่า SME แต่ถ้ามองในแง่การผลิตสัดส่วนที่บริษัทรายใหญ่ผลิตแพนต์เบสก็ยังน้อยถ้าเทียบกับการผลิตทั้งหมดของบริษัท แพลนต์เบสก็ยังเป็นส่วนน้อย จึงทำให้บริษัทรายใหญ่มองว่าเป็นโอกาสที่จะเข้ามาในตลาดนี้ตอบรับกระแสที่คนมาบริโภคแพลนต์เบสมากขึ้น อาจจะไม่ใช่ความนิยมแต่คือความจำเป็นในอนาคต” วินัย เล่าภาพรวมให้ฟัง พร้อมกับแนะว่าการที่ SME จะหาโอกาสเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ได้คือ

     1. เน้นการขายวัตถุดิบ แทนการทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

     “แพลนต์เบสผลิตมาจากพืช ไทยเราก็มีทรัพยากรมากมาย SME อาจจะลองหาวัตถุดิบใหม่ๆ ทางการเกษตรให้เป็นทางเลือกกับผู้ผลิตอาหารเพิ่มขึ้น แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าพืชที่เอามาทำแพลนต์เบสมีคุณสมบัติเพียงพอหรือเหมาะที่จะผลิตไหม เช่น เป็นพืชที่ให้โปรตีน เพราะผู้บริโภคที่กินแพลนต์เบสต้องการอาหารที่มาทดแทนเนื้อสัตว์ แต่จุดสำคัญคือ ถึงจะเจอวัตถุดิบที่น่าสนใจ ต้องพิจารณาดูในภาพรวมด้วยว่า ถ้านำมาผลิตแล้วจะเป็นการลงทุนที่คุ้มไหม เป็นวัตถุดิบที่มีปริมาณมากพอ ปลายทางจะมีกำไรไหม เพราะถ้าแพงมากไปก็เป็นธุรกิจได้ลำบากหรืออาจเป็นไปไม่ได้”

     2. ทำธุรกิจลักษณะ B2B

     “แทนที่เราจะเปิดร้านอาหารขายแพลนต์เบสอย่างเดียวก็จะได้กลุ่มลูกค้าเฉพาะ ตอนนี้ร้านอาหารทั่วไปหลายร้านก็มีเมนูแพลนต์เบส อาหารเจ หรือมังสวิรัติ เสริมเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคด้วย ดังนั้นแทนที่จะมาทำธุรกกิจร้านอาหารขายผู้บริโภคโดยตรงก็ต่อยอดทำเมนูแพลนต์เบสต์ป้อนร้านอาหารช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วขึ้น ไปได้ไกลขึ้น”

อนาคตการผลิตอาหารจะไม่ใช่แบบเดิม

     ขณะนี้เทรนด์ที่ยังคงมาแรงในทั่วโลกหนีไม่พ้นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องสุขภาพ อีกทั้งปัจจุบันมีการรณรงค์ให้กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ เช่น วัว หมู ผลพลอยได้ก็คือ จะทำให้ตลาดแพลนต์เบสเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการที่เข้ากับยุคสมัยของคนในยุคนี้ 

    “เรามองว่าอนาคตข้างหน้าการผลิตอาหาร คงไม่ใช่แบบเดิมๆ ซ้ำๆ ที่เราเคยทำกันมา ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีความหลากหลายทางวัตถุดิบ เราน่าจะนำตรงนี้มาสร้างโอกาส ซึ่งแพลนต์เบสคือ ตัวหนึ่งที่จะมาช่วยสร้างโอกาส เป็นเหตุผลที่เราตัดสินใจมาจัดงาน PLANT BASED FESTIVAL ปี 2023 นี้เป็นครั้งที่ 2 ชื่อว่า “Food for Better Life Better Environment” ดีต่อเรา...ดีต่อโลก เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ให้เป็นพื้นที่เปิดตัวและเป็นเวทีให้กับ SME ไทยที่สนใจเข้ามาจับธุรกิจเกี่ยวกับนวัตกรรมอาหาร”

     “เราเชื่อว่าสิ่งที่ SME ไทยจะได้จากการจัดงานคือ ผู้ประกอบการที่มาออกบูธก็ได้เปิดตัวทำให้คนรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น ขยายตลาดให้มากขึ้น หาซัพพลายเออร์ หาคนที่จะไปต่อยอดธุรกิจของตังเองได้ ส่วนผู้ประกอบการที่มาเดินชมงาน ได้ค้นหาไอเดีย ได้ช่องทางใหม่ๆ สามารถนำสินค้าไปต่อยอด หรืออาจจะไปร่วมทุนกัน เกิด Business Matching ภายในงาน”

     “ปีนี้เราจัดงานสองรอบ รอบแรกจัดที่กรุงเทพฯ วันที่ 1-3 กันยายน 2566 สามย่านมิตรทาวน์ รอบที่สองจัดที่  Limelight จ.ภูเก็ต วันที่ 29 กันยายน - 1 ตุลาคม 2566

   

     พบกันที่งาน PLANT BASED FESTIVAL 2023 วันที่ 1-3 กันยายน 2566 เวลา 10.00-19.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ 1 ชั้น 5

     สนใจจองพื้นที่ โทร. 0-2270-1123-4 ต่อ 402 หรือ กรอกแบบฟอร์มเพื่อรับข้อมูลพื้นที่ https://forms.gle/bMn29DxMExMrrHBBA

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เจาะกระบวนท่าท้าดวล ส่ง “อบอวล” สู้ศึกตลาดยาดม ปรุงกลิ่นหอมแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจากมือแพทย์แผนไทยประยุกต์สุดล้ำ!

“อบอวล” แบรนด์ยาดมสุดชิค ที่กำเนิดจากความคิดของแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ ไม่ใช่แค่สดชื่น แต่ต้องถึงกับร้องว่า “มีกลิ่นนี้ด้วยหรือฟะ!” อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้ “อบอวล” ที่มีอายุกว่า 3 ปี โดดเด่นไม่แพ้ใคร..ลองไปกะเทาะดูเนื้อในของธุรกิจกัน

ทำไม Live Exchange จึงเป็นตลาดทุนที่ SME อยากโตต้องรู้จัก ฟัง ประพันธ์ เจริญประวัติ

พูดคุยกับบ "ประพันธ์ เจริญประวัติ" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ MAI และ Live Exchange ที่จะบอกเล่าว่าทำไม การระดมทุนคือกลไกสำคัญที่จะพา SME ไปสู่ความสำเร็จ และ Live Exchange คือบันไดขั้นแรกที่ SME ทุกขนาดต้องรู้จัก

 The 3rd daughter วาดฝันให้เป็นจริง จากสติกเกอร์สู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ครองใจคนกว่า 10 ปี

ชวนไปดูเส้นทางการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากความหลงใหลในศิลปะจนพัฒนาแบรนด์ The 3rd daughter เข้าไปอยู่ในชีวิตของใครหลายคนผ่านสารพัดของกระจุกกระจิกที่แสนน่ารักมาได้มากกว่า 10 ปี! ของตาต้า-ลดาพร ทรัพย์ภคกุล