“Shipyours” คลังสินค้าออนไลน์ ธุรกิจใหม่... ตอบโจทย์โลกอี คอมเมิร์ซ


 



Text : รัชนี พันธ์รุ่งจิตติ


    เชื่อว่าหลายคนที่ทำธุรกิจออนไลน์ จะรู้ซึ้งถึงภาระการเก็บสินค้า การดูแลสต็อคสินค้า  การแพ็คสินค้า และการส่งสินค้าเป็นอย่างดี ยิ่งหากช่วงไหนที่ขายดิบขายดีมีออเดอร์สั่งเข้ามามากๆ ก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะเจอปัญหาทำคนเดียวไม่ทัน ต้องหาที่เก็บสินค้า และหาคนมาช่วยให้วุ่นวาย  

    อานันท์ สุขุมภาณุเมศร์ เป็นคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นโอกาสการเติบโตของธุรกิจออนไลน์ แต่เมื่อได้ลองศึกษาธุรกิจออนไลน์อย่างจริงจัง เขากลับพบว่าการทำธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทยยังมีสิ่งหนึ่งที่ขาดหายไป นั่นคือคลังสินค้าออนไลน์ เขาจึงเห็นช่องทางของธุรกิจใหม่ที่เมืองไทยยังไม่มี ดังนั้น แทนที่จะทำธุรกิจค้าขายบนออนไลน์ตามความคิดเดิม อานันท์กลับพลิกความคิดหันมาทำธุรกิจที่ช่วยเติมเต็มธุรกิจออนไลน์ นั่นคือ ชิปยัวร์ส (Shipyours) คลังสินค้าออนไลน์

    “เทรนด์การขายของออนไลน์กำลังมาแรง และเชื่อว่าจะเติบโตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน แต่ตอนที่ได้ลองศึกษาตลาดออนไลน์อย่างจริงจังกลับพบว่าเมืองไทยยังไม่มีใครทำบริการคลังสินค้าออนไลน์ ที่จะให้บริการทั้งจัดเก็บ เช็คสต็อค แพ็คของ ส่งของ สำหรับเอสเอ็มอีเลย จะมีก็แต่เป็นรายใหญ่ไปเลย แต่ที่ต่างประเทศมีทำในลักษณะนี้กันเยอะมาก ก็เลยศึกษาโมเดลของต่างประเทศดู โดยใช้เวลา 2 ปี ก่อนที่จะเริ่มเปิดบริการเมื่อปีที่ผ่านมา”

    โดยปกติวงจรของคนทำธุรกิจขายของออนไลน์ ก็ต้องเริ่มจากไปหาสินค้ามาขาย มีการจัดเก็บสินค้าไว้ที่บ้าน  พอมีลูกค้าสั่งมา ก็มานั่งแพ็คของส่งของ แต่ Shipyours ตั้งใจจะเข้ามาเติมเต็ม ทำให้คนที่ขายของออนไลน์ ลดหน้าที่ด้านอื่นแล้วเอาเวลาไปมุ่งทำแต่การตลาดออนไลน์อย่างเดียว โดยอานันท์วางการบริการของ Shipyours เอาไว้ 3 ด้าน 
 





    ประการแรก บริการพื้นที่จัดเก็บสินค้า ซึ่งหากคนขายของออนไลน์คนใดไม่มีพื้นที่จัดเก็บ ก็ไม่จำเป็นต้องเช่าบ้านหรือห้อง ซึ่งในบางครั้งพื้นที่อาจเหลือเกินความต้องการ ทำให้สิ้นเปลืองค่าเช่า   

    ประการที่สอง บริการทำสต็อคสินค้าให้  ซึ่งบ่อยครั้งที่คนขายของออนไลน์จะเจอปัญหาสินค้าบางอย่างขาดขณะที่สินค้าบางอย่างล้นเกิน นั่นเป็นเพราะไม่เคยเช็คสต็อคสินค้า ทำให้ไม่เคยรู้ว่าสินค้าที่เก็บเอาไว้เหลือเท่าไหร่ 

    ประการที่สาม บริการแพ็คและส่งสินค้า  

    แน่นอนว่า บริการทั้งหมดนั้นมีค่าใช้จ่ายสำหรับเอสเอ็มอี ซึ่งด้วยความที่ Shipyours เป็นธุรกิจใหม่ อานันท์จึงบอกว่ามีเอสเอ็มอีหลายรายยังไม่เข้าใจงานบริการตรงนี้และมองว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับธุรกิจ ทั้งๆ ที่หากจะว่าไปแล้วนี่เป็นการลดภาระการจ้างแรงงานเพิ่มและลดเวลาเพื่อที่จะได้มีเวลาไปพัฒนาอย่างอื่นมากขึ้นต่างหาก

    “จริงๆ มีเอสเอ็มอีสนใจมาก เพียงแต่คนไทยยังขาดความเข้าใจเรื่องการ outsource  หลายคนมองว่าการเสียค่าพื้นที่เก็บสินค้า  2,200 /ลบ.ม.คือภาระต้นทุน แต่จริงๆ ถ้าไปเทียบกับการไปเช่าห้อง ค่าดูแลแล้วอาจจะถูกกว่า หรือการจ้างเราแพ็คสินค้าก็มองว่าเป็นค่าใช้จ่าย แต่ลืมนึกถึงค่าเสียเวลาของตนเอง และเวลาที่ออเดอร์มาเยอะๆ อาจจะทำไม่ทัน ทำให้ลูกค้าที่สั่งสินค้าต้องรอนาน

   ซึ่งการที่เจ้าของต้องมานั่งแพ็คของเอง อาจรู้สึกว่าไม่เสียอะไร แต่มันคือต้นทุนเวลา ซึ่งเป็นต้นทุนแฝง  ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เราต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับเอสเอ็มอี อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ได้วางแผนที่จะหันไปเจรจาตรงกับโรงงงานที่ผลิตสินค้าให้กับเอสเอ็มอี โดยอาจจะเป็นว่าให้โรงงานเพิ่มการบริการผลิตเสร็จแล้วไม่ต้องส่งให้กับเอสเอ็มอี แต่เรารับเข้าไปบริการตั้งแต่ผลิตออกจากโรงงานเลย” 

www.smethailandclub.com ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี)

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน