6 สิ่งที่ SME จะได้รับการส่งเสริม จากการประชุม APEC 2022

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

Main Idea

  • หัวข้อหนึ่งในการประชุม APEC 2022 ที่สำคัญคือการช่วย SME ให้พร้อมกับ The “Next Normal” ผลักดันและช่วยเหลือ SME คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ไม่พึ่งพาบริษัทไม่กี่บริษัทที่ทำให้เกิดความเสี่ยง

 

  • SME ต้องเตรียมความพร้อมและใช้โอกาสนี้ต่อยอดธุรกิจให้ได้

 

      เป็นช่วงเวลาสำคัญอีกครั้งหนึ่งของประเทศไทยครับ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากับการประชุมผู้นำ Asia-Pacific Economic Cooperation  หรือ   APEC (เอเปค)  ซึ่งก็คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เพื่อส่งเสริมการเปิดเสรีด้านการค้า-การลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านสังคม และการพัฒนาด้านอื่นๆ

     โดยในปัจจุบัน เอเปค มีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยไทยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง นอกจากนี้  มีประชากรรวมกันคิดเป็น 38% ของประชากรโลก หรือประมาณ 2.9 พันล้านคนในปี 2563 ด้วยขนาดอันใหญ่โตทั้งด้านจีดีพี และจำนวนประชากร ย่อมหมายถึงตลาดที่มีขนาดใหญ่ และโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับ ผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่  โดยคาดว่าเขตเศรษฐกิจ APEC จะมีมูลค่าการค้ารวมกันถึง 48% ของมูลค่าการค้าสินค้าและบริการของโลก ซึ่งมูลค่าการค้าของจีนแซงหน้าสหรัฐมาเป็นอันดับ 1 ที่ 12% และสหรัฐเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 11% เมื่อรวมอันดับ 3 คือญี่ปุ่นที่ 4% แล้ว เพียง 3 ประเทศที่กล่าวมาก็มีมูลค่าการค้าคิดเป็นอัตราส่วนถึง 1 ใน 4 ของมูลค่าการค้าโลก ดังนั้น เอเปค จึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งทางด้านตลาดการค้า และโอกาสทางการลงทุนสำหรับประเทศไทย

     ภายใต้แนวคิดหลัก “Open Connect Balance” เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล (Open. Connect. Balance.) ซึ่งหมายถึงการเปิดกว้างสู่โอกาสด้านการค้า-การลงทุน ให้ทุกภาคส่วนในสังคม พร้อมทั้งส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค, การเชื่อมโยงในทุกมิติ เพื่อฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวก ปลอดภัย

     และประกาศเป้าหมายกรุงเทพ หรือ Bangkok Goals on BCG Economy สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนผ่าน “Open Connect Balance” : เปิดต่อทุกโอกาส เชื่อมต่อทุกมิติและสมดุลในทุกด้าน

     โดยหัวข้อหนึ่งในการประชุมที่สำคัญคือการช่วย SME ให้พร้อมกับ The “Next Normal” ผลักดันและช่วยเหลือ SME ในมิติต่างๆ เพราะ SME มีจำนวนผู้ประกอบการมากที่สุด กว่า 3 ล้านราย คอยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและยังสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้แก่ประเทศอีกด้วย เพราะไม่พึ่งพาบริษัทไม่กี่บริษัทที่ทำให้เกิดความเสี่ยง แต่อาศัยผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวนมากช่วยกระจายความเสี่ยงผลักดันเป็นแผงให้เจริญเติบโตขึ้นไป ลดความเสี่ยงและสร้างความยั่งยืน

     และหัวข้อที่ SME ควรรู้จากการประชุม APEC 2022 คือ

     1. Soft Power: จากการประชุม APEC 2022 นี้ได้มีการแฝง Soft Power ของประเทศไปกับผู้นำแต่ละประเทศสื่อสารไปกับคนทั่วโลกคือ ด้านอาหารทั้งอาหารในงานและสตรีทฟู้ด วัฒนธรรม งานฝีมือ รวมไปถึงการเน้นคุณค่าของ Circular Economy

     SME อย่างเราต้องไม่พลาดหยิบฉวยโอกาสเหล่านี้เสริมสร้างคุณค่าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราว Soft power ที่ได้เผยแพร่ออกไป

     2. Ceremony สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติว่าประเทศไทยพร้อมแล้วกับการเปิดประเทศอีกครั้ง จากการดูแลผู้นำของแต่ละประเทศได้ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวได้อย่างดี เหมือนให้ผู้นำแต่ละประเทศมาตัดริบบิ้นเปิดงานท่องเที่ยวไทย ซึ่งการท่องเที่ยวไทยนั้นคิดเป็นจำนวน 3 ล้านล้านบาท หรือ 10% ของ GDP ประเทศไทย ซึ่งหากลงรายละเอียดลงไป 2/3 นั้นมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โอกาสนี้จึงสำคัญที่ไทยจะได้ใช้ประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตของโควิด 19 ให้เกิดแนวทางที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยคาดหวังว่าการประชุมครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

     SME อย่างเรานั้นต้องเตรียมความพร้อมและใช้โอกาสนี้ต่อยอดให้ธุรกิจให้ได้ เช่น หากนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาเราจะใช้ประโยชน์ตรงนี้ได้อย่างไร อย่างน้อยเราควรจะมีสินค้า/บริการของเราอยู่ในการค้นหาของนักท่องเที่ยว ดังนั้น เราควรจะต้องมี SEO คำค้นหาในสื่อต่างๆ ของเค้า การกล่าวถึงจาก Content Creator ประเทศนั้นๆ ด้วย

     3. Digital Transformation ภาครัฐพยายามส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล ทำให้ผู้ประกอบการ

     SME พัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้นและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ดังนั้น SME ต้องใช้โอกาสนี้ในการปรับเปลี่ยนตัวเอง เราไม่ได้สนใจเพียงแค่บูทออกงานฟรีอีกต่อไป แต่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดการทำงานให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วด้วย

     4. Green Supply Chain, BCG Model เร่งรัดการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เน้นสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ SME ให้นำเสนอคุณค่าความเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม และ Circular Economy

     ในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน จากการสำรวจของ Facebook (Meta) Insight 2021 จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคในประเทศไทยยังคงให้ค่ากับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมน้อยอยู่มาก ดังนั้น SME ต้องเรียนรู้ที่จะสร้างความแตกต่างควบคู่ไปกับปัจจัยพื้นฐานที่ผู้บริโภคตัดสินใจในการเลือกซื้อ

     5. Funding จัดหาเงินทุนและปรับโครงสร้างหนี้ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านการใช้ศักยภาพของธุรกิจที่มี

     ดังนั้น SME จะได้รับประโยชน์จะต้องมีมาตรฐานระบบบัญชีและการหมุนเวียนทางการเงินสำหรับธุรกิจที่ดี จึงจะสามารถได้ประโยชน์จากการผลักดันของภาครัฐด้านนี้ หากใครยังไม่พร้อมให้เร่งปรับปรุงให้มีบัญชรเดียวและสะท้อนสภาพธุรกิจได้เร็วที่สุด

     6. Innovation สร้าง Ecosystem สนับสนุน Startup และส่งเสริมนวัตกรรม ให้มีส่วนรวมในห่วงโซ่มูลค่าโลก คือการสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพไทยได้ต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจ ให้สามารถเติบโตสู่ตลาดโลกได้ โดยจะส่งเสริมการลดกำแพงภาษี รวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์และแนวปฏิบัติในการสร้าง Ecosystem

     ดังนั้น SME ควรมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าธุรกิจจากนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ ช่วยแก้ปัญหาธุรกิจเดิมๆ ของลูกค้าได้ โดยที่คิดแก้ปัญหามากกว่าแค่ในประเทศไทย แต่สามารถสร้างคุณค่าให้กับคนทั้งโลกได้ด้วย

     โดยสรุป SME ควรเห็นภาพใหญ่จากการประชุม APEC 2022 ในครั้งนี้ว่าควรเน้นการสร้างคุณค่าทั้งทางด้าน Innovation / BCG Model โดยที่เน้นความสมดุลและการเติบโตที่ยั่งยืนครับ

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/11start-apec-the-role-of-thailand-and-the-benefits-that-smes-will-gain-from-hosting

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย