6 ฉลากสินค้ารักษ์โลก และกฎเกณฑ์ ที่ธุรกิจสายกรีน ต้องรู้

 

     จะเห็นว่าในปัจจุบันเรามักเห็นหลายธุรกิจเริ่มปรับตัวหันมาทำธุรกิจสีเขียวกันมากขึ้น บางธุรกิจก็ใช้พลังงานสะอาด หรือบางอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วจะทำยังให้ผู้บริโภครู้ว่าธุรกิจของเราทำสิ่งข้างต้นอยู่ ซึ่งก็ต้องขอเครื่องหมายรับรองเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา อย่างเช่น ธุรกิจที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยการประชาสัมพันธ์ว่าทางแบรนด์รับผิดชอบต่อสังคมโดยการรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น และเหตุการณ์นี้เราเรียกว่า การฟอกเขียว (Greenwashing) ถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาตามมาก็ขอเครื่องหมายให้ชัดเจนเลยว่าธุรกิจของคุณได้รับรองจากหน่วยงานั้นจริงๆ

     Kantar บริษัทที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและแบรนด์ ได้พูดถึงกลุ่มผู้บริโภค Eco-Actives เพิ่มขึ้นปัจจุบันกลุ่มนี้มีถึง 22% ครอบครองมูลค่าตลาดราว 446 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในอุตสาหกรรมอุปโภคบริโภค หรือที่เรียกว่า FMCG (Fast Moving Consumer Goods)

     FMCG (Fast Moving Consumer Goods) คือ สินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่อง และใช้ในชีวิตประจำวันของทุกวันและมักจะใช้แล้วหมดไป ใช้ได้ทุกเพศทุกวัย ยกตัวอย่างสินค้าในห้างสรรพสินค้าต่างๆ เช่น ยา สบู่ เครื่องดื่ม ยาสระผม หรืออื่นๆมากมาย 

     และเมื่อผู้บริโภคคำนึกถึงสินค้ารักษ์โลกมากขึ้น ธุรกิจต้องปรับตัวให้ตอบรับกับผู้บริโภค และมาดูว่าสัญลักษณ์บนสินค้าที่บอกว่าเป็นธุรกิจรักษ์โลกมีสัญลักษณ์อะไรบ้าง และถ้าอยากมีฉลากรักษ์โลกติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ต้องขอหน่วยงานไหน และมีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรตามาดูกันได้เลย

 1.ฉลากเขียว (green label หรือ eco-label)

     ฉลากที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเดียวกัน โดยที่คุณภาพยังอยู่ในระดับมาตรฐานที่กําหนด ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ หมายถึง สินค้าและบริการหลายประเภท ยกเว้นอาหาร ยา และ เครื่องดื่ม เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทั้งสามประเภทดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพความปลอดภัยในการบริโภค มากกว่าด้านสิ่งแวดล้อม การติดฉลากเขียวจะสร้างความสับสนให้แก่ผู้บริโภคได้

มาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการพิจารณา

     ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์จะมีการพิจารณาและกำหนดแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการและความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ ทั้งในแง่การผลิต การใช้ การทิ้งทำลาย คือครบทั้งวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั่นเอง ซึ่งจะคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  การลดภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อมทางสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่ง การใช้และการกำจัดทิ้งหลังการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนำขยะกลับมาใช้ (reuse) และการแปรใช้ใหม่ (recycle)

     1. เป็นผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคทั่วไปในชีวิตประจําวัน เช่น กระดาษ สี อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน หรืออุปกรณ์ประหยัดน้ำ 2. ต้องคํานึงถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมที่ได้รับเมื่อ ผลิตภัณฑ์นั้นจําหน่ายออกสู่ตลาด

     2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตมีทางเลือกอื่นในการผลิตที่จะทําให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า

 หน่วยงาน : มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

เว็บไซต์ :  https://www.tei.or.th/greenlabel/index.html

 2. ฉลากลดโลกร้อน (carbon footprint)

      ฉลากที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง กระบวนการผลิต การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้

มาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการพิจารณา

     1. ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ลดลงจากเดิม (เปรียบเทียบกับค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ในปีฐาน): ผลการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ปีปัจจุบัน เทียบกับข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ในปีฐานแล้วพบว่าค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 2

     2. ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ต่ำกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) ของแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ : ผลการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ เมื่อนำมาเทียบกับเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันพบว่า ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ต่ำกว่าหรือเท่ากับเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะ

หน่วยงาน :  องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

เว็บไซต์ :  http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YUc5dFpRPT0

3.ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) 

     เป็นฉลากที่เราพบได้บนสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แสดงถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดทาง ตั้งแต่ได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่งการนำไปใช้ และการกำจัดซาก ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์มีอายุการรับรองฉลากเป็นเวลา 3 ปี

มาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการพิจารณา

     ในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของแต่ละผลิตภัณฑ์ จำเป็นต้องอ้างอิงหรือสอดคล้องกับข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ (Product Category Rule: PCR) ซึ่งแบ่งแยกตามสินค้าแต่ละประเภท

หน่วยงาน :  องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

เว็บไซต์ :  http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YUc5dFpRPT0

4.ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization)

     ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง

มาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการพิจารณา

     วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรมีอายุการรับรองเป็นระยะเวลา 1 ปี

 หน่วยงาน :  องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

เว็บไซต์ : http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dVgybHo

5. FSC (Forest Stewardship Council)

     คือ องค์กรนานาชาติที่ช่วยผลักดันและสนับสนุนการดูแลป่าไม้ทั่วโลกอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และสามารถบริหารจัดการให้เกิดผลทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสินค้าที่มีสัญลักษณ์นี้ติดอยู่แสดงว่าเป็นสินค้าที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยการปลูกต้นไม้ทดแทนไม้ที่นำไปใช้ในการผลิตและแปรรูป

มาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการพิจารณา

     1. ถูกต้องตามกฎหมาย (Compliance with laws)

     2. การจ้างงานอย่างเป็นธรรม (Workers’ rights and employment conditions)

     3. เคารพสิทธิของคนพื้นเมืองในท้องที่ (Indigenous peoples’ rights)

     4. เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน (Community relations)

     5. การใช้ผลประโยชน์จากป่าไม้ (Benefits from the forest)

     6. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental values and impact)

     7. มีแผนงานในการจัดการ (Management planning)

     8. การติดตามและประเมินผล (Monitoring and assessment)

     9. ใส่ใจป่าไม้ที่มีคุณค่าด้านการอนุรักษ์สูง (High conservation values)

     10. การดำเนินกิจกรรมอย่างสอดคล้อง (Implementation of management activities)

หน่วยงาน :  FSC® International

เว็บไซต์ : https://fsc.org/en

6.ฉลากคูลโหมด (CoolMode)

     เป็นฉลากที่มอบให้กับเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี  ทำให้สวมใส่สบาย ไม่ร้อนอบอ้าว สามารถสวมใส่ในอาคารหรือห้องที่มีอุณภูมิเครื่องปรับอากาศ 25 องศา ได้โดยไม่รู้สึกอึดอัด เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บเป็นผ้าที่มีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อจากผิวหนังและระเหยออก จึงช่วยเพิ่มความสบายและความเย็นในขณะสวมใส่ เสื้อผ้า CoolMode จึงช่วยรองรับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนช่วยลดการใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

มาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการพิจารณา

     ผ้าสำหรับทำเป็นเสื้อผ้าลดโลกร้อน ต้องเป็นผ้าที่สวมใส่แล้วเย็นสบายและทำความสะอาดได้ง่าย เพื่อลดการใช้พลังงานในเครื่องปรับอากาศ การซักทำความสะอาด และการใช้นํ้า เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใย ประดิษฐ์และอาจผสมเส้นใยสังเคราะห์ที่มีการพัฒนาให้มีสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อจากผิวหนัง และระเหยออกผ่านสู่ผิวผ้าด้านนอกเพื่อเพิ่มควาสบาย ในการสวมใส่หรือมีการเพิ่มความเย็นสบายให้กับผู้สวมใส่ด้วยนวัตกรรม เช่น การใช้เทคโนโลยีพิเศษผลิตเส้นใย (fiber technology) หรือการใช้เทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จด้วยสารชีวภาพ (biotech finishing technology) เพื่อช่วยลดอุณหภูมิผิวหนัง ทั้งนี้ผ้าต้องมีคุณภาพควาคงทนได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยสำหรับผู้สวมใส่ด้วย

หน่วยงาน :  องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

เว็บไซต์ :  http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YUc5dFpRPT0

ที่มา : https://www.misc.co.th/what-is-fsc/

https://fsc.org/en

https://greenindustry.diw.go.th/webgi/

http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YUc5dFpRPT0

https://www.tei.or.th/greenlabel/index.html

https://www.springnews.co.th/news/824008

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย