Gadget Funeral ธุรกิจเล็กๆ ที่ช่วยเก็บความทรงจำ สร้างเงินกว่า 5 ล้านบาทต่อปี

 

     ธุรกิจแบบนี้มีด้วยหรอ?

     ของบางสิ่งที่มีความความทรงจำที่ดีซ่อนอยู่เราก็อยากจะเก็บมันไว้ แม้ว่าของชิ้นนั้นจะพังแล้วก็ตาม แค่รู้สึกว่าเก็บไว้ดูต่างหน้าก็ยังดี วันนี้เราได้ไปเจอธุรกิจหนึ่งมา ซึ่งแอบตกใจเหมือนกันนะว่ามีบริการอะไรแบบนี้ด้วยหรอ และที่สำคัญยังสามารถสร้างรายได้หลักล้านอีกด้วย ธุรกิจที่ว่านี้ ก็คือ ธุรกิจเก็บความทรงจำ ที่ผู้คนสามารถนำของรักของห่วงหรือของเก่าที่ล้าสมัยใช้งานไม่ได้มาให้ธุรกิจนี้เก็บความทรงจำไว้ให้

ที่มาของธุรกิจเก็บความทรงจำ

     ของบางอย่างที่เก่าและพังหลายคนอาจจะมองว่าเราไม่ควรยึดติดกับมันมาก ไม่ว่าจะเป็นรถคันแรก บ้านที่เราเติบโตมา หรือแม้แต่โทรศัพท์เครื่องเก่า ที่มักจะเจอปัญหาในการอัพเกรด ทำให้นานวันเข้าก็ใช้งานไม่ได้ และนี่คือที่มาของธุรกิจ Gadget Funeral ของประเทศจีน ที่ทำให้ผู้คนสามารถเก็บอุปกรณ์ที่ล้าสมัยของตนไว้เป็นงานศิลปะไว้ในกรอบ และแยกโครงสร้างต่างๆ ไว้ ซึ่งสามารถแขวนไว้รอบ ๆ และชื่นชมได้ตลอดไป

     Lin Xi หญิงสาวจาก Weifang ในมณฑลซานตงของจีน เริ่มต้นทำธุรกิจในปี 2019 ซึ่งเคยศึกษาที่ประเทศอังกฤษและได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะการอิเล็กทรอนิกส์ และพบว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ เธอก็มานั่งถามตัวเองว่า ในเมื่อมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าๆ มากมาย ทำไมไม่เปลี่ยนเป็นงานศิลปะล่ะ

     หลังจากที่ได้ลองทำงานศิลปะจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นมาสองถึงสามอย่าง เธอก็เริ่มโฆษณาธุรกิจบนโซเชียลมีเดียของตัวเอง โดยใช้สโลแกนที่ว่า “อย่าทิ้งโทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้ ให้เราออกแบบงานศิลปะให้เถอะ” เมื่อโพสต์โฆษณาไปไม่กี่วัน มีคนสั่งซื้อผ่านทางโซเชียลมีเดียกว่า 200 คำสั่งซื้อ ซึ่งเธอใช้เวลา 6 เดือนในการออกแบบงานศิลปะทั้งหมด

     และสิ่งของที่ลูกค้านำมาให้ออกแบบเป็นงานศิลปะก็จะมี โทรศัพท์มือถือ Motorola รุ่นแรกจากปี 1970, Nokia 3650, โทรศัพท์ Vertu หายาก มูลค่า 200,000 หยวน หรือ HTC G1 สมาร์ทโฟน Android ที่ผลิตเครื่องแรก เมื่อมีคนรู้จักบริการมากขึ้น สมาร์ทโฟนทั่วไปก็เริ่มเข้ามา

     ซึ่งในปีที่แล้ว มีชายหนุ่มคนหนึ่งมาหาเธอพร้อมกับมือถือปี 2014 ซึ่งใช้ไม่ได้แล้ว แต่ยังรู้สึกผูกพันกับเขามาก เพราะความทรงจำที่ผูกติดอยู่กับสมาร์ทโฟนเครื่องเก่านี้ดูเหมือนจะยากที่จะลืม และเขาไม่สามารถทิ้งมันไปได้ง่ายๆ ดังนั้น จึงมาใช้บริการ Gadget Funeral เพื่อเก็บสมาร์โฟนเอาไว้เป็นของที่ระลึกตลอดไป

     งานศิลปะแบบ “สุนทรียภาพทางไซเบอร์” เป็นงานศิลปะที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก ซึ่ง Lin Xi เป็นหนึ่งในพันคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฝังอุปกรณ์ ธุรกิจนี้ทำให้เธอสามารถสร้างรายได้ถึง 140,000 ดอลลาร์ ต่อปี หรือตีเป็นเงินไทยประมาณ 5,329,800 บาท

     และการทำธรุกิจนี้ทำให้ Lin Xi รู้สึกว่าเขากำลังช่วยลูกค้ารักษาความทรงจำที่ผูกติดอยู่กับอุปกรณ์ที่ชำรุดและล้าสมัยนั้นไว้ได้ และในขณะเดียวกันยังสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการต่อยอดความธุรกิจจากสิ่งที่ตัวเองถนัด ผู้ประกอบการที่อยากสร้างจุดเด่นให้กับธุรกิจลองใช้ความถนัดของตัวเองเข้าช่วย มันอาจจะสามารถต่อยอดสินค้าให้กับธุรกิจคุณอีกก็ได้

ที่มา : https://www.odditycentral.com/news/gadget-funeral-the-lucrative-service-of-preserving-old-and-broken-gadgets.html

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย