42 เนเจอรัลรับเบอร์ ต้นแบบองค์กร ลดต้นทุนได้ 3 เท่า  สู่ศูนย์การเรียนรู้ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์”

TEXT : สุรางรัก

PHOTO : เจษฎา ยอดสุรางค์

 

     จากประสบการณ์ธุรกิจที่สั่งสมมานานกว่า 60 ปีในไทยของ TOYOTA จนเกิดเป็นองค์ความรู้เพื่อนำมาเผยแพร่เป็นต้นแบบทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการและชุมชนต่างๆ โตโยต้าจึงได้จัดทำโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ขึ้นมา โดยมีการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ขึ้นมาในภูมิภาคต่างๆ ของไทย เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงธุรกิจชุมชนให้มีการพัฒนาและดำเนินธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ คุณภาพสินค้า, การลดต้นทุน, การจัดการสต็อก, กระบวนการผลิต เป็นต้น

     ล่าสุดได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แห่งที่ 4 ขึ้นมา ณ บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมพัฒนาปรับปรุงธุรกิจกับโตโยต้า จนได้รับคัดเลือกให้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับธุรกิจชุมชนอื่นๆ ต่อไป

เหตุเกิด เพราะความไม่รู้จักตนเอง

     โดยก่อนหน้าที่จะเข้าร่วมพัฒนาปรับปรุงธุรกิจกับโตโยต้า บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหมอนเพื่อสุขภาพจากยางพาราธรรมชาติ ซึ่งบริหารงานโดย คุณัญญา แก้วหนู เพื่อเพิ่มมูลค่าแก่น้ำยางพาราของไทย ตลอดจนสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านในท้องถิ่น เคยประสบปัญหาด้านการผลิตอยู่หลายส่วน ดังนี้

     1. ใช้เวลาในการผลิตที่ยาวนานเกินไป ยกตัวอย่างเช่นกระบวนการตากหมอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานที่สุด โดยใช้วิธีการตากแบบปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 21 วันต่อรอบ จนไม่สามารถทำการแข่งขันหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

     2. การสูญเสียต้นทุนวัตถุดิบที่สูงเกินไป เช่น ปริมาณน้ำยางที่ล้นออกนอกแม่พิมพ์มีปริมาณมากเกินไป นำไปขายเป็นขี้ยางได้เพียงกิโลกรัมละไม่กี่บาท ไปจนถึงกระบวนการผลิตสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดสินค้ามีตำหนิมากเกินไป

     3. การจัดเก็บสต็อกสินค้าที่ไม่เป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถรู้จำนวนที่แท้จริงของสินค้าที่เหลืออยู่ ไม่รู้ว่าสินค้าตัวใดผลิตก่อน ผลิตหลัง ทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตที่ถูกต้องได้ จนทำให้ผลิตสินค้าออกมาเกินความต้องการของตลาด เหลือค้างเป็นสต็อกเก็บไว้ เกิดเป็นต้นทุนจมในที่สุด

รู้ เห็น เป็น ใจ “ปัญหา” ก็รู้วิธี “แก้ไข”

     แต่หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมด้วยหลักการไคเซ็น “รู้ เห็น เป็น ใจ” เพื่อเรียนรู้ตนเอง ภายใต้โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ในปี พ.ศ. 2560 บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด ได้นำองค์ความรู้ในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าเข้าปรับปรุงธุรกิจตนเอง และส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นดังนี้

     1. เพิ่มความสามารถในการผลิต ด้วยการปรับลดเวลาการผลิตต่อรอบลง

     เริ่มจากกระบวนการตากหมอน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานที่สุด โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานจากเดิมที่ปล่อยให้แห้งเองตามธรรมชาติ ก็ปรับปรุงด้วยการออกแบบห้องตาก ทำชั้นวางหมอน และติดตั้งระบบถ่ายเทอากาศเพื่อให้อากาศหมุนเวียนได้  ทำให้ช่วยลดเวลาการตากหมอนลงจาก 21 วันต่อรอบ เหลือเพียง 5 วันต่อรอบ หรือเร็วขึ้นกว่า 76 % ทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตจาก 700 ใบต่อเดือน เป็นกว่า 1,300 ใบต่อเดือน เพิ่มรายได้ต่อเดือนจาก 400,000 บาท เป็น 750,000 บาท นอกจากนี้ยังมีการนำระบบบอร์ดการมองเห็น (Visualization board) มาใช้ควบคุมกระบวนการทำงาน เพื่อให้สามารถติดตามสถานะการผลิตและการส่งมอบได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งเวลาผลิตต่อรอบที่ทำได้เร็วขึ้น 3 เท่า ยังส่งผลให้ต้นทุนในกระบวนการลดลงจาก 420,000 บาท เหลือ 140,000 บาทด้วย

 

     2. บริหารต้นทุนวัตถุดิบ และลดของเสียในกระบวนการ

     2.1) สร้างมาตรฐานการใช้วัตถุดิบ จากปัญหาน้ำยางล้นออกนอกแม่พิมพ์มากเกินไป จึงมีการปรับมาตรฐานการผลิตโดยกำหนดให้มีการฉีดน้ำยางลงแม่พิมพ์ครั้งละ 5 กิโลกรัม ทำให้ช่วยลดปริมาณการสูญเสียวัตถุดิบลงประมาณ 1 กก. ต่อหมอนการผลิต 4 ใบ ซึ่งเมื่อนำมาคิดแล้วทำให้สามารถลดต้นทุนการสูญเสียลงได้ถึง 10 บาทต่อการผลิตหมอน 1 ใบ หรือ ประมาณ 12,000 บาทต่อเดือนทีเดียว

     2.2) ปรับปรุงปัญหาคุณภาพสินค้า จากกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยตรวจพบปัญหามีหมอนที่ผ่านการอบแล้วมีขนาดไม่เต็มใบมากถึง 12 % ซึ่งเกิดจากช่องว่างในเนื้อหมอนภายหลังกระบวนการฉีดน้ำยางเข้าแม่พิมพ์ วิธีการที่นำมาใช้ปรับปรุง คือ การปรับการเคลื่อนไหวของพนักงาน เพื่อช่วยลดการก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของฝาแม่พิมพ์หลังฉีดน้ำยาง ซึ่งภายหลังการปรับปรุง ทำให้ตรวจพบสินค้ามีตำหนิไม่ถึง 5 % ของการผลิต ทำให้ช่วยลดมูลค่าการสูญเสียลงจากเคยขายลดราคาสินค้ามีตำหนิจาก 33,600 บาทต่อเดือน เหลือเพียง 14,000 บาทต่อเดือน

     3. การปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง

     มีการปรับปรุงการจัดเก็บสต็อก โดยจัดแยกประเภทสินค้าตามการเคลื่อนไหว อายุสินค้า เพื่อทำการจัดการลดสต็อกอย่างเหมาะสม ทำให้ช่วยลดเงินจมในสต็อกจาก 320,000 บาท เหลือ 260,000 บาท ตลอดจนมีการออกแบบแผนผังการจัดวางสินค้า ระบบสต็อกการ์ด และระบบ FIFO เพื่อให้ธุรกิจสามารถบริหารคลังสินค้าได้อย่างมืออาชีพ

การให้ ไม่มีที่สิ้นสุด

     จากการเรียนรู้ และปรับปรุงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตามหลักการของโตโยต้า จนสามารถแก้ไขปัญหาและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน บริษัท 42 เนเจอรัลรับเบอร์ จำกัด จึงได้รับคัดเลือกให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” แห่งที่ 4 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ในการปรับปรุงธุรกิจแก่วิสาหกิจชุมชนในภาคใต้ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งการแบ่งปันความรู้

     โดยปัจจุบันโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ดำเนินการปรับปรุงธุรกิจชุมชนแล้วเสร็จจำนวน 23 แห่ง  และได้ยกระดับสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ แล้วจำนวน 4 แห่ง โดยตั้งเป้าวางแผนจะเปิดเพิ่มให้ครบทั้ง 6 แห่ง 6 ภูมิภาคทั่วประเทศในเร็วๆ นี้ ตามเป้าหมายในโอกาสการดำเนินงานครบรอบ 60 ปีในประเทศไทย สู่การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน อันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากต่อไป

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย