Service charge เรื่องที่ SME ไม่ควรมองข้าม ทำอย่างไรให้ถูก กฎ กติกา

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

      เรื่องนี้เป็นประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก ทำให้ทุกคนก็ต้องคำถามว่าตกลงต้องจ่ายค่า Service charge (เซอร์วิสชาร์จ) หรือไม่ เรื่องนี้สะท้อนถึงผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ห้ามมองข้ามอย่างเด็ดขาด จากเมื่อก่อนอาจเป็นเรื่องที่เล็ก ๆ น้อยๆ แต่ปัจจุบันอาจจะไม่ใช่ เพราะว่าเรื่องนี้อาจทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ส่งผลเสียต่อธุรกิจของคุณได้ วันนี้เราเลยจะพาผู้ประกอบการทุกคนไปรู้เรื่องนี้กัน และไปดูวิธีการคำนวณค่าเซอร์วิสชาร์จว่าคำนวณอย่างไรไม่ให้ขาดทุน ตามมาดูกันเลย

Service charge คืออะไร

       ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าเซอร์วิสชาร์จคืออะไร Service charge คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้า คิดเพิ่มขึ้นจากค่าสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคเข้ามาซื้อหรือใช้บริการของทางร้าน ซึ่งการเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จเป็นการเก็บเพื่อนำรายได้มาแบ่งให้พนักงานในแต่ละเดือน นั่นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของพนักงานภายในร้าน

สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้เกี่ยวกับ Service charge

      สำหรับธุรกิจร้านอาหารไหนต้องการที่จะเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จกับผู้ที่มาใช้บริการ สิ่งที่ต้องรู้คือ

1. อัตราการเรียกเก็บค่า Sevice Charge ที่เหมาะสม ตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่ คือ"ต้องไม่เกิน 10% เพราะเป็นอัตราที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากล และรับได้

2. ต้องติดป้ายให้ลูกค้าเห็นชัดเจน และบอกให้ผู้บริโภคทราบก่อนว่าการเข้ามาใช้บริการกับทางร้านมีการเก็บService Charge หรือให้พนักงานแจ้งที่หน้าร้านก็ได้เช่นกัน เพราะว่าถ้าหากไม่แจ้งลูกค้าก่อนล่วงหน้า ลูกค้ามีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่า Service Charge ให้กับทางร้าน

3. Service Charge จะถูกแบ่งให้พนักงานบริการภายในร้าน ซึ่งต้องมีการเซ็นสัญญาจ้างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด และจะเป็นรายได้แยกจากเงินเดือนของพนักงาน

ข้อดี – ข้อเสีย ของการเก็บ Sevice Charge     

      อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้นว่าข้อดีข้อการเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จคือ ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับพนักงาน ถ้าเกิดว่ามีการเซ็นสัญญาจ้างตามกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพราะว่าจะเป็นสิ่งที่สามารถจูงใจให้กับพนักงานได้ และจะทำให้พนักงานจะมีความคิดเชิงบวกกับธุรกิจ ส่งผลให้พวกเขาตั้งใจทำงาน และเมื่อตั้งใจทำงานแล้ว หมายความว่าพวกเขาจะส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้กับลูกค้าของคุณด้วย ซึ่งเมื่อพนักงานบริการดี พูดจาไพเราะ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ก็ทำให้ลูกค้าประทับใจร้านของคุณได้ด้วยเช่นกัน  

      และข้อเสียก็คือ การเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จที่ไม่สมเหตุสมผลหรือมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่ประทับและเปลี่ยนใจไปใช้บริการร้านอื่นเลยก็ได้  ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย อยู่ที่ว่าธุรกิจจะทำให้มันออกมาในรูปแบบไหน และเหมาะสมหรือไม่

วิธีคำนวณค่า Service Charge

      วิธีคำนวณคือ  ราคาอาหาร + Service Charge% + Vat 7% = ราคาที่ลูกค้าต้องจ่าย

ตัวอย่างเช่น  ราคาอาหาร 500 บาท

                        Service Charge 10%

                        Vat 7%

วิธีคำนวณคือ  500+10%+7% = 588.5 บาท

       พอถึงตรงนี้แล้วผู้ประกอบการรู้แล้วว่าวิธีการคำนวณค่า Service Charge ต้องคำนวณอย่างไร และที่สำคัญอย่าลืมคำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ด้วย ไม่งั้นจะขาดทุนเอาได้นะ เพราะว่าค่าเซอร์วิสชาร์จทางธุรกิจจะไม่ได้รับรายได้นั้น แต่ต้องแบ่งจ่ายให้กับพนักงาน และในส่วนของค่าภาษีมูลค่าเพิ่มทุกคนก็น่าจะรู้ดีว่า ทางธุรกิจต้องจ่ายให้กับกรมสรรพพากร

      เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกคนก็ก่อนที่จะตั้งราคาของสินค้าหรือบริการก็อย่าลืมคำนวณสิ่งเหล่านี้ไปด้วยนะ เพื่อไม่ให้ขาดทุนในอนาคต


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย