ศุภเศรษฐ โอภิธากรณ์ เจ้าของ Wetland Camp ผู้ทำให้โลกรู้จักยอยักษ์ ทะเลน้อย

TEXT / PHOTO : ชาญชัย หาสสุด

 

     ถ้าถามถึงจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยที่สุดในพื้นที่รอบๆ ทะเลน้อย หลายคนต้องนึกถึงภาพยามเช้าที่มีฉากหน้าเป็นยอยักษ์ตั้งเรียงรายอยู่กลางน้ำ มีพระอาทิตย์โผล่ผ่านเส้นขอบฟ้าอยู่ด้านหลัง หลังภาพความสวยงามที่ทำให้คนรู้จักทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง  ผมเชื่อว่า พี่หนุ่ม - ศุภเศรษฐ โอภิธากรณ์ คือ คนสำคัญแรกๆ ที่ขับเคลื่อนให้สิ่งแวดล้อมของการท่องเที่ยวเด่นชัดอย่างปัจจุบัน

Cr ภาพ : สองภาค

     ย้อนไปเมื่อประมาณ 12 ปีก่อน พี่หนุ่มตัดสินใจทิ้งชีวิตทำงานที่ภูเก็ต เมืองที่ใครๆ มองว่าเป็นแบบอย่างการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ ทำรายได้มหาศาลเข้าประเทศในแต่ละปี กลับมาเริ่มต้นชีวิตที่พัทลุงบ้านเกิด โดยซื้อที่ดินจากอาแล้วเริ่มสร้าง Wetland Camp” ที่พักสไตส์รีสอร์ตมีห้องพักจำกัดแค่ 5 ห้อง ริมทะเลน้อยฝั่งปากประ เพราะเชื่อว่ายังมีคนอีกมากที่ต้องการอยู่กับความเงียบสงบของธรรมชาติ และเห็นคุณค่าในสิ่งเดียวกันที่พี่หนุ่มพยายามสร้าง

     ด้วยความที่พี่หนุ่มเป็นคนรักธรรมชาติ ชอบถ่ายภาพโดยเฉพาะแนวสัตว์ป่า ทะเลน้อยจึงถูกบันทึกผ่านเลนส์ในมุมมองของตนเองอยู่เป็นประจำ ส่งผ่านความสวยงามของวิวทิวทัศน์ ชีวิตสัตว์ให้คนทั่วไปได้รับรู้ จนเป็นที่กล่าวขาน Wetland Camp จึงกลายจุดนัดพบและเป็นที่รู้จักในวงกว้างของช่างภาพทั่วโลก

     บ้านต้นลำพู ท่าเรือปากประ คือ ที่พักต่อมาของพี่หนุ่ม สร้างมาประมาณ 4 ปี อยู่ติดกับสะพานปากประ มีห้องพักสไตล์เดียวกับที่ Wetland มีสะพานไม้เชื่อมห้องพักแต่ละหลัง เป็นทางเดินทอดยาวคู่ขนานไปกับท้องน้ำกลางบ้าน ไปจนสุดฝั่งคลองมองเห็นวิวยอ มีห้องพักที่สามารถรองรับกลุ่มครอบครัวใหญ่ได้ถึง 4 - 6 คน ที่นี่ยังมีพื้นที่ในการแสดงงานศิลปะ นิทรรศการภาพถ่าย ที่วนเวียนจัดขึ้นบ่อยๆ บางครั้งก็กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนและคนทั่วไป ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดโดยมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยที่พี่หนุ่มเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอยู่

     กิจกรรมทางการท่องเที่ยวสำคัญสำหรับลูกค้าของที่พักทั้งสองแห่ง คือ การล่องเรือชมทะเลสาบ พี่หนุ่มให้น้ำหนักกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นอันดับแรก เริ่มจากการเตรียมพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคนขับเรือ สร้างกฎกติการ่วมกัน ออกแบบเส้นทางเรือให้รบกวนสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด สร้างจิตสำนึกรักธรรมชาติ มีการต้อนรับที่อบอุ่น เพราะทุกอย่างล้วนส่งผลให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและสร้างภูมิคุ้นกันให้เจ้าบ้านเกิดความแข็งแรง

     ด้วยอัตลักษณ์ที่ลงตัวของพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ที่มีระบบนิเวศเฉพาะผสมผสานกับวิถีชีวิตชนบทอย่างมีเสน่ห์ ทำให้นักท่องเที่ยวยิ่งประทับใจในความเป็นทะเลน้อย

     สำหรับคนนอกอย่างผมที่ผ่านเข้าออกทะเลน้อยเป็นครั้งคราว ภาพความงดงามของปากประยังคงเป็นเหมือนเมื่อสิบกว่าปีก่อน มีเปลี่ยนแปลงบ้างตรงที่พักที่เพิ่มขึ้น แต่นั่นคงไม่ใช่สาระสำคัญ ถ้าผู้ประกอบการกับเจ้าของชุมชนยังคงประสานธุรกิจกับการอนุรักษ์ด้วยกันอย่างแข็งแรง

Cr ภาพ : สองภาค

     “ พัทลุงเป็นเมืองสุดท้ายที่ถูกทำลาย ในขณะที่รอบด้านแทบไม่เหลือ พัทลุงยังเป็นชนบทอยู่  ถ้าเราภูมิใจในความเป็นชนบท เราก็ต้องรักษาความเป็นธรรมชาติไว้ เรารอด แต่ถ้าเมื่อไหร่เราไม่เคารพ พยายามเปลี่ยนให้เหมือนเมืองอื่น ไม่แน่อาจจะล่มสลายภายในไม่กี่วันก็ได้ ด้วยการท่องเที่ยวนี่แหละ”

     บทสนทนาจบท้ายที่พี่หนุ่มแฝงความเป็นห่วงไว้ให้ผมกลับไปคิดต่อ 

ข้อมูลติดต่อ

Wetland Camp

https://www.facebook.com/wetlandcamp 

บ้านต้นลำพู  https://www.facebook.com/BaanTonlamphu 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย