ธุรกิจควรไปต่อหรือต้องรีบเปลี่ยน เปิดลิสต์วิธีตรวจสอบ พร้อมเทคนิคปรับตัวให้รอดในช่วงวิกฤต

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

 

    จากบทความก่อนมีหลายท่านสอบถามผมเข้ามาว่า แล้วเราจะต้องปรับตัวเมื่อไหร่ แล้วจะต้องปรับตัวอย่างไร บทความนี้ผมเลยขอมาขยายความมากยิ่งขึ้นครับ

     เมื่อวิกฤตเกิดขึ้นไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก “ธุรกิจที่อยู่รอด คือ ธุรกิจที่ปรับตัวได้” เพราะธุรกิจที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะต้องสูญพันธ์ถูก Disrupt หายไป

Checklist ธุรกิจต้องปรับตัวหรือยัง

     1. Past: Performance

     ผลประกอบการณ์ที่ผ่านมามันเป็นอย่างไร เพราะผลประกอบการเป็นข้อมูลตัวสะท้อนการดำเนินธุรกิจในอดีต เราจะทราบได้ว่าเราในอดีตนั้นทำได้ดีแค่ไหน หรือไม่ดีอย่างไร เราสามารถมองเห็นปัญหาของธุรกิจได้จากข้อมูลเหล่านี้ แต่ก็ต้องพึงระวังว่า “ข้อมูลต้องถูกต้องและรวดเร็ว” เพราะถ้าข้อมูลผิดพลาดการกำหนดกลยุทธ์ก็จะผิดพลาด หรือข้อมูลมาช้าเกินไปการกำหนดกลยุทธ์และดำเนินการอาจจะล่าช้าไม่ทันการทำให้เสียโอกาสในการแก้เกมส์นั้นๆไป

     โดยแบ่งส่วนย่อยในการพิจารณาออกเป็น

     1.1 Cashflow : ธุรกิจเหลือกระแสเงินสดมากน้อยแค่ไหน มีเวลาให้เราปรับตัวมากไหม เพราะถ้าไม่มาก การเลือกกลยุทธ์ก็ต้องเน้นผลลัพธ์ที่เห็นผลทันที และผลตอบแทนต่อการลงทุนสูง

     1.2 Profit : กำไรธุรกิจของเราเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร มากกว่าแสดงให้เห็นว่าน่าจะมาถูกทาง แต่ถ้าน้อยกว่าเราจะได้พิจารณาหาจุดแก้ไขพัฒนาต่อไป หรือหากขาดทุนถ้าขาดทุนต่อเนื่องสะสมทั้งอุตสาหกรรม แสดงว่าเป็นอุตสาหกรรม Sunset ก็ควรกำหนดกลยุทธ์สำหรับล่าถอย หรือหา New S Curve ใหม่

     1.3 Credit : ตอนนี้เรายังมี Credit ดีไหม อาจจะพิจารณาจาก Statement บริษัท, Working Capital กับคู่ค้า, D/E Ratio ว่ายังก่อหนี้เพิ่มได้ไหม ถ้าปัจจัยต่างๆยังดี แสดงว่าเรายังมีโอกาสและเวลาในการปรับเปลี่ยนแก้ไขธุรกิจ

     1.4. Relation : เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของคน ซึ่งประกอบไปด้วยหลายมิติ ทั้งกับคู่ค้า ลูกค้า และพนักงานในบริษัทของเราเอง ถ้าประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าเรายังดี มีฐานแฟนคลับของธุรกิจเราอยู่ แสดงให้เห็นว่าต่อให้เราเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจก็ยังสามารถทำได้

     2. Now: Action

     ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมาเราลองทำอะไรไปแล้วบ้าง อะไรที่ทำแล้วดี อะไรที่ทำแล้วไม่โดน เราต้องจับประเด็นตกผลึก เรียนรู้และพัฒนา สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือ “การทดลองทำให้เยอะ เร็ว และเรียนรู้” เพราะการทดลองทำที่เยอะจะทำให้เราเห็นสิ่งที่ดีและไม่ดี หากเราทำได้เร็ว เรียนรู้ปรับตัวได้เร็ว ก็จะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดต่อไปได้ เพราะโลกในปัจจุบันมันคือโลกใหม่ พฤติกรรมใหม่ ทฤษฏีหลายๆ อย่างไม่สามารถใช้ได้ทันที ต้องเรียนรู้และทดลองใช้ใหม่เลย

     3. Future: Assumption

     ภาพอนาคตคือการตั้งสมมติฐาน ทุกธุรกิจเริ่มต้นจากการคาดการณ์ตั้งสมมติฐานทั้งนั้น คิดว่าสินค้านี้จะขายดี ขายได้ ต้องพิจารณาเสมอว่าสมตติฐานในอดีตและปัจจุบันของเรามันเปลี่ยนไปหรือยัง ถ้าสมมติฐานเปลี่ยน แผนก็ต้องเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับ Vision ของเราแล้วว่าจะนำพาธุรกิจไปแบบไหนกับสมมติฐานปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

กลยุทธ์การปรับตัวให้ธุรกิจอยู่รอด

     และเมื่อเราเห็นเหตุปัจจัยที่กระทบต่อธุรกิจของเราในภาวะวิกฤตจาก Checklist ข้างต้นแล้ว เรานำข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ มากำหนดเป็นกลยุทธ์ขององค์กรต่อไป อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากกำหนดกลยุทธ์เรียบร้อยคือ การขับเคลื่อน / การดำเนินการตามกลยุทธ์ ให้เกิดผลลัพธ์นั้นเอง จึงขอเสริมเทคนิคในการขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนินการตามกลยุทธ์ได้ คือ

     1. Leadership

     ผู้นำองค์กรต้องเอาจริง ต้องเปลี่ยน Mindset ตัวเองและสร้าง Culture ขององค์กรให้เป็นไปตามที่เราต้องการ เพราะหลายๆครั้งไม่เปลี่ยนความคิดการกระทำก็ไม่เปลี่ยน

     2. Process

     ทำกระบวนการให้ชัดเจน จับต้องได้ เข้าใจง่าย ถ้าเราวางกระบวนการได้ดีต่อให้เปลี่ยนคนไหนมาดำเนินการก็จะสามารถทำได้ องค์กรไม่ควรพึ่ง Superman ที่ทำได้คนเดียวแล้วแบกองค์กรไว้ เพราะมิฉะนั้นจะเป็นความเสี่ยงอย่างใหญ่หลวงของธุรกิจ

     3. People

     ต้องคอยพัฒนาคนในองค์กร อย่าปล่อยให้คนในองค์กรเป็น Dead wood หรือไม้ตายซาก เพราะจะทำให้องค์กรเราอ้วนเทอะทะ และไม่ก้าวไปข้างหน้า กล่าวคือ จะทำอะไรใหม่ก็ยาก จะปรับเปลี่ยนอะไรก็ยาก เพราะคนเราไม่เพิ่มหรือปรับเปลี่ยนทักษะให้เข้ากับโลกใบใหม่ เราจะต้องให้โอกาสกับพนักงานในองค์กรได้เติบโต เก่งขึ้น มีพื้นที่ มีความสุข และมีวิธีการดำนเนินการเมื่อไม่เป็นไปตามนั้นเช่นกัน เพื่อรักษา Shape และ Energy ขององค์กร

     พื้นฐานของกลยุทธ์ คือ สิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน ถ้าเรายังทำเหมือนเดิม ผลลัพธ์เราก็จะได้แบบเดิม จะคาดหวังผลลัพธ์ใหม่ๆ ได้อย่างไร วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นเพียงตัวเร่งกระตุ้นให้เราคิดเท่านั้น

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ขายแค่มาม่า ก็ยืนหนึ่ง! มาม่าฟ้าธานี ธุรกิจเล็กที่สร้างตำนานได้

แม้ว่าจะขายเพียง "มาม่า" ซึ่งเป็นสินค้าธรรมดาเพียงอย่างเดียว แต่ "มาม่าฟ้าธานี" กลับได้รับที่นิยม และประสบความสำเร็จอย่างมาก ความสำเร็จนี้สามารถวิเคราะห์ได้จากหลายปัจจัยที่น่าสนใจ

แผ่นดินไหววงการอาหารไทย 2025 SME รับมือยังไง? แบรนด์ใหญ่บุกตลาดแมส

จากกลยุทธ์สงครามราคาของแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดยักษ์ใหญ่ที่แข่งขันชิงส่วนแบ่งตลาดแมส ในยุคเศรษฐกิจไม่แน่นอนเช่นนี้ ผู้ประกอบการรายย่อย จะเรียนรู้และรับมืออย่างไร?

Egg Shield ครีมกันแดดจากเปลือกไข่ เจ้าแรกของโลก ต่อยอดวัสดุเหลือใช้ ดีต่อสิ่งแวดล้อม

 รู้ไหม? ว่าเปลือกไข่ที่เหลือทิ้ง สามารถช่วยปกป้องแสงแดดได้ ล่าสุดทำเป็นครีมกันแดดออกมาจำหน่ายแล้ว จากฝีมือผู้ประกอบการไทยคนรุ่นใหม่ ภายใต้แบรนด์ “Egg Shield” แปลว่า เกราะป้องกันจากเปลือกไข่ เป็นเจ้าแรกของโลก