อยากส่งออกให้รุ่ง ฟังข้อคิดจากผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำผลไม้ส่งออก ที่มีขายกว่า 106 ประเทศทั่วโลก

TEXT : Nitta Su.

 

     ถ้าให้นับการเติบโตอีกก้าวสำคัญของการทำธุรกิจ การได้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ น่าจะเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่อยู่ในใจของผู้ประกอบการหลายคน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็ทำให้สำเร็จได้ วันนี้เราเลยมีเคล็ดลับดีๆ จากนักธุรกิจรุ่นพี่อย่าง พลแสง แซ่เบ๊ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท โรแยล พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ PlUS ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำผลไม้ส่งออกที่มีขายอยู่กว่า 106 ประเทศทั่วโลก แถมในปีนี้ยังตั้งเป้ารายได้การเติบโตไว้ที่ 1,500 ล้านบาทด้วย

ยืดอายุเก็บรักษาให้นาน เพิ่มโอกาสในการกระจายสินค้า

     ปัจจัยสำคัญข้อแรกของการทำตลาดส่งออกเลย ก็คือ อายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน เพื่อให้สามารถทำการแข่งขันและทำตลาดได้ โดยตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจ PLUS ก็ให้ความสำคัญกับข้อนี้มาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่ 1. การวางแผนการผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งสินค้าหลัก ก็คือ น้ำมะพร้าวและน้ำนมมะพร้าว โดยเลือกที่จะไปตั้งโรงงานผลิตอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกเลย เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่สดใหม่ เก็บวันนั้น ก็สามารถนำเข้าโรงงานผลิตได้ในวันนั้นได้เลย

     อีกข้อสำคัญ คือ 2. การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยผลิตภัณฑ์ของโรแยลพลัสส่วนใหญ่จะเลือกใช้เป็นขวดแก้ว เพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาสินค้าได้นานขึ้น และยังมีความพรีเมียมมากกว่าช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ ทำให้ง่ายต่อคู่ค้าที่จะนำสินค้าไปกระจายต่อ อย่างสินค้าตัวล่าสุด “โยเกิร์ต Plant-Based จากน้ำนมมะพร้าว” ที่นอกจากจะเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคแล้ว ยังช่วยแก้ Pain Point ยืดอายุการเก็บรักษาโยเกิร์ตได้นานขึ้นกว่า 18 เดือนด้วย โดยสามารถเก็บรักษาไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ โดยไม่ต้องแช่เย็น ทำให้สะดวกทั้งต่อผู้บริโภค และยังเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับพาร์ทเนอร์สามารถกระจายไปได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกด้วย

     “หัวใจสำคัญข้อแรกเลยของการจะส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่ม คือ เราต้องมีนวัตกรรมที่ทำให้อายุสินค้าสามารถเก็บรักษาหรือเชลฟ์ไลฟ์ได้ยาวนานขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับพาร์ทเนอร์ที่อยู่ในแต่ละประเทศสามารถทำตลาดและเพิ่มโอกาสในการกระจายสินค้าไปยังหลายพื้นที่ทั่วโลกได้”

หาความได้เปรียบจากวัตถุดิบที่โดดเด่น หรือมีอยู่น้อย

     ปัจจัยสำคัญข้อต่อมา ก็คือ การเฟ้นหาวัตถุดิบที่มีความได้เปรียบเข้าไปทำการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่นที่ PLUS เอง เลือกแปรรูปน้ำมะพร้าวเป็นสินค้าเด่นของธุรกิจ เพื่อทำตลาดส่งออก ก็เพราะในเมืองไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง คือ แหล่งมะพร้าวน้ำหอมที่อร่อยและดีที่สุดของประเทศหรือเรียกว่าระดับโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งหาไม่ได้จากในประเทศอื่น

     “การจะไปแข่งขันในตลาดโลกได้ เราต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่โดดเด่นและมีความได้เปรียบออกไปแข่งขัน การที่เราเอาวัตถุดิบที่ทั่วโลกมีออกไปแข่งขัน คู่แข่งของเรา ก็คือ คนทั่วโลก แต่ถ้าเอาพืชหรือวัตถุดิบที่มีเฉพาะในประเทศเรา หรือมีแค่ไม่กี่ประเทศออกไปแข่งขัน คู่แข่งของเราก็จะน้อยลง ที่สำคัญ คือ ต้องใส่นวัตกรรม เพิ่มมูลค่าลงไปด้วย เพราะถ้าเราแค่เอาลูกมะพร้าวใส่ตู้แช่เย็นไปจำหน่าย ก็คงไม่ได้เกิดการสร้างคุณค่าอะไร

     “ฉะนั้นหลักการทำธุรกิจของเรา ก็คือ จะดูก่อนว่าในประเทศเรามีอะไรที่โดดเด่น และสามารถนำวัตถุดิบนั้นมาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อผลิตเป็นสินค้าอุตสาหกรรมส่งไปต่างประเทศทั่วโลกได้ยังไงบ้าง นี่คือ ปณิธานของเราเลย เพราะอย่างน้อยๆ การที่เราได้นำเอาสินค้าเกษตรของไทยมาแปรรูป ก็ได้เป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไทยให้มีรายได้ที่ดีขึ้น ลดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำได้”

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย