ถูกกล่าวถึงอย่างหนาหูขึ้นทุกวันกับเทรนด์ Plant based Food ที่หลายสำนักวิจัยต่างออกมาบอกว่าเป็นตลาดที่น่าจับตาอย่างยิ่ง ว่ากันว่าอาจจะกลายเป็นอนาคตหรือกระแสหลักวงการอาหารโลกในอนาคต
BIS Research ประเมินว่าตลาด Plant-based Food ของโลกมีมูลค่าประมาณ 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ และคาดว่าในปี 2019-2024 จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 14% ส่วนมูลค่าตลาด Plant-based Food ของไทยอาจแตะระดับ 4.5 หมื่นล้านบาทในปี 2024 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% เป็นตัวเลขที่ทาง Krungthai COMPASS ได้คาดการณ์ไว้
1.Plant Based Food คืออะไร?
หลายคนอาจเข้าใจว่า Plant based Food เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Plant based Food ไม่ใช่เรื่องใหม่พวกเราต่างคุ้นเคยกับ Plant based Food มานานแล้ว แต่เป็นในรูปแบบของโปรตีนเกษตรซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ
จากที่เคยรู้จักในแวดวงจำกัด จุดเปลี่ยนสำคัญของตลาด Plant based Meat โลกเกิดขึ้นในปี 2019 เมื่อ Beyond Meat และ Impossible Foods ถือเป็นเจ้าแรกๆ ของโลกที่หันมาบุกตลาด Plant based Food อย่างจริงจัง จากการเปิดตัวเนื้อวัวที่ทำจากพืช ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีในตลาดสหรัฐฯ จนสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และได้กลายเป็น Game Changer ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเทรนด์อาหารของโลกที่ทำให้เนื้อจากพืช
ดังนั้น Plant based Food เป็นผลิตภัณฑ์อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือกที่ใช้วัตถุดิบที่ทำจากพืช เช่น ถั่ว เห็ด สาหร่าย ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ ซึ่งให้โปรตีนสูง แต่พัฒนารสชาติกลิ่น และสีสัน ให้เหมือนผลิตภัณฑ์จากสัตว์
2.เหตุผลที่ Plant based Food เป็นธุรกิจที่น่าจับตา
2.1 ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดีมากขึ้น
หลายคนลดการทานเนื้อสัตว์หันมาทานโปรตีนจากพืชแทน ผลสำรวจของ The Good Food Institute พบว่า ยอดขายอาหารในกลุ่ม Plant-based Food ในสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น 11.4% ในปี 2019 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่สูง เมื่อเทียบกับการขยายตัว 2.2% ของตลาดอาหารในภาพรวม
2.2 กระแส Flexitarian หรือ ผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น เติบโตต่อเนื่อง
จากข้อมูลของ Deloitte (2019) ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มที่เลิกหรือลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในอังกฤษเพิ่มขึ้นถึง 2.6 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม Flexitarian เป็นหลัก
2.3 กระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) เพิ่มสูงขึ้น
จากข้อมูลโดย Arizton ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ทำฟาร์มปศุสัตว์ทั่วโลกคิดเป็นถึง 77% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด แต่กลับให้ผลผลิตที่กลายเป็นอาหารของมนุษย์ได้เพียง 17% รวมทั้งการคำนึงถึง “สวัสดิภาพสัตว์” (Animal Welfare) ได้รับการเลี้ยงและดูแลให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดี ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ Plant-based Food เป็นที่นิยมมากขึ้น
2.4 ปัญหา Food Security
การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในระยะต่อไปจะยิ่งนำไปสู่ความท้าทายในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) จากข้อมูลของสหประชาชาติ (United Nations) คาดว่า จำนวนประชากรโลกอาจสูงถึง 9.7 พันล้านคนในปี 2050 และนั่นหมายความว่าความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ก็อาจเพิ่มขึ้นจาก 280 ล้านตันในปัจจุบัน เป็น 570 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า
2.5 เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด
2.6 COVID-19 ยิ่งทำให้ความกังวลในการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น
3.Plant based Food ประเภทไหนน่าสนใจ?
ทั้งนี้ Plant based Food กลุ่มที่น่าจับตามอง ได้แก่
1) กลุ่ม Plant based Meat
ส่วนหนึ่งมาจากในระยะหลังๆ ร้านอาหารชื่อดังหลายแห่งเริ่มนำเสนอ เมนูอาหารที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่รับประทาน เนื้อสัตว์ในไทยมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มากขึ้น
2) กลุ่ม Plant based Meal กลุ่มนี้ได้รับอานิสงส์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการ รับประทาน แต่ยังเน้นเรื่องสุขภาพ
3) กลุ่ม Plant based Egg แม้ในต่างประเทศจะมีสัดส่วนตลาดไม่ใหญ่นัก แต่มีอัตราการเติบโตสูง เนื่องจากสามารถ ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หลากหลาย ทั้งในกลุ่มที่ดูแลสุขภาพ รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากไข่ อีกทั้งข้อดีของ Plant based Egg คือ มีอายุการเก็บรักษา (Shelf Life) ที่นานกว่าผลิตภัณฑ์ไข่ทั่วไป
4) กลุ่ม Plant-based Milk & Dairy เป็นตลาดที่ใหญ่และผู้บริโภคคุ้นเคยกับสินค้าในกลุ่มนี้ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเข้ามาเล่นตลาดนี้กันมากขึ้น จึงทำให้การแข่งขันค่อนข้างรุนแรง
4. ผู้ประกอบการประเภทไหนที่มี Potential ขยายตลาดไปสู่ Plant based Food
1) ธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ (Processed Meat) และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ (Animal Product) เนื่องจากบริษัทเหล่านี้อยู่ในตลาดอาหารในกลุ่มโปรตีนอยู่แล้ว การต่อยอดไปสู่ตลาด Plant based Meat จึงไม่ใช่เรื่องยาก
2) ธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูปทั้งแบบพร้อมปรุงและพร้อมทาน (Ready-to-cook and Ready-to-eat) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถใช้ Plant based Food มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ตลอดจนการผลิตอาหารสำเร็จรูปแบบพร้อมทานที่ตอบโจทย์ชีวิตคนรุ่นใหม่ที่เน้นสะดวก รวดเร็ว แต่ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ
5. ช่องทางจำหน่าย
5.1 Business-to-consumer: B2C ยอดขายหลักของตลาด Plant based Food ทั้งในไทยและต่างประเทศในปัจจุบันขยายตัวตามการเติบโตของตลาด B2C ผ่านช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่และ Online
5.2 Business-to-business: B2B ตลาด B2B น่าจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต โดยข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด NPD ระบุว่าในปี 2019 ยอดสั่งซื้อ Plant based Meat ของร้าน Foodservice ในสหรัฐฯ เติบโตถึง 37%YoY
6. ปัจจัยที่ทำให้ Plant based food สำเร็จ
1) 52% คือ เรื่องรสชาติ
2) 39% คือ เรื่องสุขภาพ
7. ทำธุรกิจ Plant based Food ต้องรู้จักใครบ้าง?
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ Plant based food เป็นที่ยอมรับของตลาดอย่างกว้างขวาง อาจจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในตลาด Plant based Food ได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) Ingredient Makers ส่วนใหญ่มีบริษัทแม่จากต่างประเทศ ซึ่งในการเลือกที่จะเป็น Partner กับ Ingredient Makers รายใด อาจพิจารณาเบื้องต้นจากชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญของประเภทสารอาหาร เช่น บริษัท ADM ที่มีการพัฒนาส่วนผสมของสารอาหารที่ทำจากพืชและสารอาหารประเภทโปรตีนที่หลากหลายให้ผู้ผลิตอาหารสามารถนำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย
2) หน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา เช่น สถาบันอาหาร ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น
ที่มา : Krungthai COMPASS
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี