ถอดหลักคิด Successmore ใช้คำว่า Why ขับเคลื่อนความสำเร็จธุรกิจ

 

      แนวทางการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จของแต่ละคน แต่ละองค์กรอาจมีที่มาต่างกันไป บ้างก็ใช้แพสชั่น บ้างก็ต่อยอดธุรกิจจากที่บ้าน แต่น้อยคนนักที่จะใช้คำว่า WHY เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เปลี่ยนบริษัทเล็กๆ ให้ก้าวสู่คำว่า “มหาชน” ภายในเวลา 7 ปี

      นี่คือแนวคิดของ นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) ที่สร้างเซอร์ไพรส์ให้กับวงการธุรกิจ MLM สัญชาติไทยรายแรกได้เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนวคิดแบบ WHY ของ Successmore คืออะไร ไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน

ทำไมต้อง WHY

      Successmore หรือ สำเร็จมากขึ้นกว่าเดิม นพกฤษฏิ์ ตั้งใจให้เป็นทั้งชื่อบริษัทและแรงบันดาลใจให้ผู้คนมีความเชื่อว่า ชีวิตทุกคนสามารถชนะได้ แล้วก็สำเร็จได้ เหมือนตัวเขาเองชีวิตเคยผ่านความยากลำบากต้องต่อสู้มาตั้งแต่เด็ก ต่อสู้ชีวิตมาตลอดกระทั่งได้เข้าไปคลุกกคลีในธุรกิจเครือข่าย หลังจากที่สะสมประสบการณ์ในธุรกิจนี้มากว่า 10 ปี จึงได้ตัดสินใจร่วมกับเพื่อนรักในวัยเด็ก นพ.สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ ประธานกรรมการบริหาร ได้ก่อตั้ง บริษัท ซัคเซสมอร์ฯ ขึ้นมาในปีพ.ศ. 2555 โดยเชื่อว่าการที่บริษัทจะประสบความสำเร็จได้ต้องช่วยผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จได้ด้วย

      ซีอีโอ ซัคเซสมอร์ฯ อธิบายเพิ่มว่า หากสังเกตให้ดีในชีวิตของคนส่วนใหญ่จะดำเนินชีวิตด้วยคำสองคำคือ What กับ How เท่านั้น ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้ไปถึงเป้าหมายสูงสุด ดังนั้นการเพิ่มคำว่า Why ด้วยการให้คนรู้จักตั้งคำถาม ทำในสิ่งที่แตกต่างจากเดิม เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้จะทำให้คนประสบความสำเร็จมากขึ้น

      “แนวคิดนี้มาจากปรัญชาการสร้างชีวิต เราจะประสบความสำเร็จได้ถ้าเราช่วยผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จจำนวนมากพอ เราก็นำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับการสร้างธุรกิจ network marketing เอาแนวคิดนี้มาเป็นภาคปฏิบัติให้ได้ ถ้าเราทำให้คนเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องของ Mindset ความรู้ความสามารถ รวมถึงเรื่องอุปนิสัยและทำให้ชีวิตเค้ามีคุณค่ามากขึ้น เอาสินค้าดีๆ มีคุณค่าของเราไปช่วยคนในตลาด พร้อมทั้งพัฒนาคนในองค์กรเขาดีขึ้นและเก่งขึ้น”

ขาย (ฝัน) อย่างไรให้สำเร็จ

      ถ้าเอ่ยถึงธุรกิจ MLM หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าคือการขายตรง แค่จะทำให้คนซื้อสินค้า ก็ค่อนข้างยากอยู่แล้ว แต่ที่ยากกว่าคือจะทำอย่างไรให้มีสมาชิกหรือที่ Successmore เรียกว่า นักขยายองค์กรสมาชิกเข้ามาร่วมเป็นทีมเวิร์ก เพราะความสำเร็จของธุรกิจ Successmore จะเกิดขึ้นได้ก็คือ ต้องสามารถขยายเครือข่ายออกไปได้อย่างต่อเนื่อง จนถึงเกิดคำที่เรียกว่า network effect จนเกิดจำนวนคนที่มากพอธุรกิจก็จะเติบโต

      “หลายท่านได้ยินแล้วอาจจะตกใจเพราะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับธุรกิจนี้ แต่อะไรเป็นแก่นแท้ มักเป็นของดีเสมอ ของเราเป็นแก่นแท้โดยวัดจากจำนวนคนเข้ามาเพื่อสวมบทบาทของการเป็นผู้ประกอบการ ที่วันนี้มีจำนวนหลักแสนคน สิ่งที่เราทำคือ เมื่อพวกเขามาเป็นผู้ประกอบการ เราเน้นพัฒนา Mindset ให้มีเรื่องจรรยาบรรณ การดูแลผู้คน ได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพ พูดในสิ่งความจริง ไม่ Over Motivate”

Inspiration for your Being

      หนึ่งในความท้าทายของ Successmore ก็คือ เมื่อธุรกิจขยายมีจำนวนสมาชิกเพิ่มมาเป็นหลักแสน ฉะนั้นการส่งต่อความรู้ธุรกิจให้เป็นทอดๆ อาจทำได้ยากขึ้น

      “เราก็ต้องเริ่มกลับมาดูแลพัฒนาในส่วนของการเป็นแกนนำระดับหัวหน้าให้เขามี Mindset เข้าใจภาวะผู้นำ ยกระดับความสามารถในการสื่อสารสามารถไปสอนต่อคนอื่นได้ เมื่อเราปรับแก้ที่ระดับความเป็นผู้นำ มันก็สามารถทะลุทะลวงได้ เมื่อเขาเข้าใจมากพอก็จะช่วยส่งต่อความเข้าใจช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้”

      อย่างไรก็ตามวิธีการเปลี่ยน Mindset ของคนนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย สิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนอื่นคล้อยตามได้ก็คือ ต้องทำตัวอย่างให้ดู ซึ่งนพกฤษฏิ์เองก็ใช้วิธีนี้เช่นกัน เขายกตัวอย่างช่วงที่เกิดโควิดระบาด บริษัทต้องปรับเปลี่ยนวิธีจากที่เคยเจอหน้ากันทุกวัน แต่เมื่อมีการล็อกดาวน์ไม่สามารถเดินทางได้ บริษัทก็ต้องหาเครื่องมือเทคโนโลยีมาช่วย แต่ปัญหาคือพนักงานส่วนใหญ่ไม่คุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยี

      เพื่อให้เห็นว่าเรื่องเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องของวัยรุ่นเท่านั้น ถึงแม้เกิดในยุค Baby Boomer อายุ 58 ปี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Successmore ก็เริ่มต้นจากตนเองเป็นแบบอย่าง ใช้โซเชียลมีเดียสื่อสารกับคนในองค์กร จนคนในบริษัทมีความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยี เมื่อเขาเชื่อมั่นว่าใช้เครื่องมื่อใหม่ๆ ช่วยขยายธุรกิจได้ ธุรกิจก็เริ่มกลับมาสู่การ recover เติบโตอีกรอบ

     “พอมีโควิด เราใช้เทคโนโลยีโทรศัพท์ที่ทุกคนใช้อยู่แล้วมาต่อยอดให้เป็นประโยชน์ ผ่านเครื่องมือ ที่เรียกว่า sale page ทำงานบนออนไลน์ได้ง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดียช่วยลดต้นทุนในการเดินทาง ต้องขอบคุณบริษัทเซลสุกิ (Sellsuki) มีส่วนช่วยขับเคลื่อนธุรกิจตรงนี้”

3 ปัจจัยช่วยให้ธุรกิจก้าวสู่ “มหาชน”

      ซีอีโอ ซัคเซสมอร์ฯ กล่าวว่าการที่จะทำให้ธุรกิจ network สำเร็จได้นั้นจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลักๆ 3 ประการคือ

1. ความเข้าใจในเรื่องของการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างครบวงจร ทั้งการสร้างแบรนด์ดิ้ง การวางกลยุทธ์ การวางตำแหน่งจุดยืนทางการตลาด เพื่อขับเคลื่อนให้ธุรกิจได้รับการยอมรับทั้งในตลาดไทยและ AEC

2. คุณภาพสินค้า โดนใจผู้บริโภค มีความหลากหลาย ราคาจับต้องได้

      ปัจจุบัน Successmore มีสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จัดจำหน่าย 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 3. ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว 4. ผลิตภัณฑ์สินค้าใช้ในครัวเรือน 5. ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และ 6. กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

      “ตอนนี้พระเอก คือกลุ่มอาหารเสริมสุขภาพ เพราะตอนนี้เทรนด์ของการดูแลสุขภาพมันมาต่อเนื่อง เทรนด์ของโลกคนเริ่มพูดถึง Wellness, Well-being รวมถึงการก้าวเข้าสู่ Aging Society หรือสังคมสูงวัย”

3. การพัฒนาคน

      เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องคน ทางบริษัทจึงได้เปิดสถาบัน Leadership Academy หรือ SLA เพราะคนจะสำเร็จ Mindset ต้องได้ Skill Set  ต้องได้ และภาวะผู้นำต้องได้ด้วย ถ้าภาวะผู้นำไม่ได้ ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้คนได้

      “นี่เป็นแก่นหลักทำให้ผู้คนเชื่อถือและไว้ใจ Successmore และประเด็นสำคัญคือ นี่เป็นเป้าหมายหลักที่เราสองคนตั้งใจขับเคลื่อน Successmore จนสามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะต้องการประกาศให้โลกรู้ว่าเราเป็นธุรกิจที่โปร่งใสและทำทุกอย่างเพื่อให้องค์กรมีความยั่งยืน ตอนนี้บรรลุเป้าหมายขั้นที่ 1 เป็นไปด้วยดี นำพาบริษัทไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเปลี่ยนแปลงชีวิต และบริษัทก็เข้าสู่ปีที่ 10 ครบ 1 ทศวรรษพอดี เป้าหมายต่อไปเป็นแบรนด์ในระดับเอเซีย” นพกฤษฏิ์ กล่าวทิ้งท้าย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย