ธรรมชาติได้สร้างทรัพยากรมาให้อย่างสร้างสรรค์ แต่ทว่าหากมีการนำไปใช้อย่างไม่สมดุลก็อาจทำให้เกิดการขาดแคลน ทำให้ขณะนี้ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงปัญหาการทำประมงอย่างยั่งยืน ที่อาจกลายเป็นหนึ่งในประเด็นใหญ่ กระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล
แม้ตลาดส่งออกอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าหลักอย่างทูน่ากระป๋องและกุ้งมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ต้นทุนของวัตถุดิบนําเข้า (ปลาทูน่า) อาหารกุ้ง และค่าขนส่ง รวมทั้งค่าบริหารจัดการต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ไม่เพียงเท่านี้ยังมีความท้าทายและประเด็นที่ต้องจับตา คือ มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง sustainable fishing และ fair labor practices ในอุตสาหกรรมประมง และนโยบายการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ของทางการจีนที่เป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ ส่งผลให้ Plant based Seafood เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยที่หันมาสนใจในตลาดนี้
ประเด็นสําคัญที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเล
การทําประมงอย่างยั่งยืน คือการทําประมงในระดับที่สามารถควบคุมและรักษาปริมาณสัตว์นํ้าในท้องทะเลให้มีจับได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่เป็นการประมงที่ทําลายหรือส่งผลเสียให้เกิดความไม่สมดุลของระบบนิเวศในท้องทะเลและมหาสมุทร โดยมีหลักการสําคัญ 3 เรื่อง ได้แก่
- Sustainable fish stocks
- Minimizing environmental impacts
- Effective fisheries management
การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม (fair labor practices) ประเทศไทยยังคงถูกกล่าวหาในเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมประมงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อช่วงกลางปี 2021 รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ปรับลดการจัดอันดับการค้ามนุษย์ของไทยลงจาก Tier 2 เป็น Tier 2 Watchlist สะท้อนถึงสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยปรับตัวแย่ลง ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี
นโยบายการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ของทางการจีน ส่งผลให้จีนมีแนวโน้มทยอยลดการนําเข้าและพึ่งพาการผลิตภายในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก ซึ่งรวมถึงสินค้าประมงอย่างกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
Plant based Meat & Seafood
ทางเลือกใหม่ผู้ประกอบการไทย
ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์อาหารประเภท Plant-based protein และ Plant-based seafood มีแนวโน้มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในตลาดโลกมากขึ้น สะท้อนได้จากการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วของผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ รวมทั้งยังมีแบรนด์ต่าง ๆ เข้ามาทําตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แม้แต่ในประเทศไทยเองปัจจุบันผู้ประกอบการในธุรกิจอาหารได้หันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกในรูปแบบ “Plant-based Meat & Seafood” กันมากขึ้นเช่นกัน อาทิ ไทยยูเนี่ยนหันมาลุยธุรกิจโปรตีนทางเลือกจากพืช (Plant-based Meats & Seafood) โดยมี Business Model ดังนี้
- รับจ้างผลิตให้กับแบรนด์และ supermarket chain ต่างๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น Tesco UK, etc
- ผลิตสินค้าแบรนด์ของบริษัทเอง เพื่อเจาะตลาด B2B และ B2C ภายใต้แบรนด์ “OMG Meat” และวางจําหน่ายผ่านช่องทาง Modern Trade เช่น The Mall, Macro, Lotus, etc.
- ตั้งเป้ารายได้จากธุรกิจ Plant-based Meat & Seafood ในปี 2021 ที่ 100 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาทภายใน 5 ปี
จากข้อมูลของ Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน ระบุว่าปัจจุบันมูลค่าตลาด Plant based Meat & Seafood ทั่วโลกอยู่ที่ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในจํานวนนี้เป็น Plant-based Seafood เพียง 0.1% ของมูลค่าตลาดรวม โดยคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปีนี้ ตลาด Plant based protein จะเติบโตขึ้นไปอยู่ที่ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสัดส่วนของ segment Plant-based Seafood จะขยับขึ้นเป็น 10% ของมูลค่าตลาดรวม
ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจอาหารทะเล Plant based Seafood อาจเป็นตลาดที่ไม่ควรมองข้าม
Cr : Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (จำกัด) มหาชน
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี