ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้วัดกันที่ยอดขายเพียงอย่างเดียว หากความยากของการบริหารธุรกิจในปัจจุบันคือทำอย่างไรที่จะควบคุมต้นทุนให้ได้ ซึ่งนั่นหมายรวมถึงความสามารถบริหารจัดการสต๊อกให้พอดี ทุนไม่จม วัตถุดิบไม่เสียหาย จากต้นทุนที่ต้องเสียไป ซึ่งที่สุดทั้งหมดจะกลับคืนมาในรูปผลกำไร เช่นการบริหารจัดการธุรกิจของ สุรีรัตน์ ศรีพรมหมคำ ผู้ก่อตั้ง “เจคิว ปูม้านึ่ง” แบรนด์อาหารทะเลเดลิเวอรีพร้อมรับประทานรายแรกๆ ของเมืองไทย ที่ต้องเจอกับความท้าทายแข่งขันกับเวลาเพื่อควบคุมภาพสินค้าให้ใหม่สดอยู่เสมอให้ถึงมือลูกค้า แต่ขณะเดียวกันก็ต้องบริหารจัดการสต็อกให้พอดี ไม่เหลือทิ้งกลายเป็นของเสีย ต้นทุนจมในที่สุดด้วย
3 กลยุทธ์พิชิตกำไรเพิ่ม ขาดทุนเป็นศูนย์
- เก็บสถิติบาลานซ์ยอดขาย - สต๊อกให้พอดีกัน
เก็บรวบรวมข้อมูลการขาย ประเภทสินค้า จำนวนการสั่งซื้อของลูกค้าในแต่ละช่วง เพื่อนำมาใช้ประเมินยอดการสั่งซื้อและเก็บสต๊อกวัตถุดิบให้พอดีกับความต้องการของลูกค้า ไม่เกินอายุของสินค้า เพื่อไม่ให้เกิดของเสียในธุรกิจ
- ทำการตลาด สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก
เพื่อกระตุ้นยอดขายให้สินค้าออกได้เร็วขึ้น ไม่ค้างอยู่ในสต๊อกไว้นานจนเกิดเป็นของเสีย ต้นทุนจม
- วางแผนสำรองเฉพาะหน้าไว้อยู่เสมอ
เนื่องจากเป็นสินค้าที่เป็นของสด สามารถเน่าเสียได้ง่าย และมีต้นทุนสูง จึงต้องเตรียมแผนสำรองไว้หลายทาง เช่น หากพายุเข้า น้ำท่วม ไม่สามารถขนส่งได้ทันเวลาจากภาคใต้ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญ จะมีวิธีแปรรูป หรือจัดการกับวัตถุดิบยังไง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
คิดแบบ Zero West
- กฎเหล็กข้อแรกของการคัดเลือกสินค้ามาขายของเจคิว ปูม้านึ่ง ก็คือ สินค้านั้นต้องเป็น Zero West หรือไม่ก่อให้เกิดของเสียขึ้นในระบบ เพื่อไม่ให้เกิดต้นทุนจม
- โดยต้องคิดก่อนว่าหากขายในรูปแบบสดไม่ได้ สามารถนำไปดัดแปลงเป็นสินค้าอื่นต่อได้หรือไม่ และเอาไปทำอะไรต่อได้บ้าง
- แปรรูปสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกให้ลูกค้า และเพิ่มโอกาสในการขาย
- จัดโปรโมชั่น เพื่อช่วยกระจายสินค้า ด้วยวิธีลด แลก แจก แถม ดีกว่าปล่อยให้เสียหาย โดยเปล่าประโยชน์
- ไม่เอาของไม่ดี ไปขายให้ลูกค้า
แนวคิดจากโตโยต้า
ด้วยวิธีคิดบริหารจัดการสต๊อกให้พอดีกับยอดขาย ไม่เกิดของเสียขึ้นในธุรกิจ จึงไปตรงกับหลักคิดของโตโยต้าที่เรียกว่า “Just in Time” หรือระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีกับปริมาณที่ลูกค้าต้องการจะซื้อ เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลังให้เหลือน้อยที่สุด
หลักการพื้นฐาน 3 ประการของ Just In Time
- ดึงงานจากกระบวนการถัดไปมาผลิต ถูกดึงออกเท่าไหร่ ก็ให้ทำเพิ่มเท่านั้น โดยไม่ต้องเผื่อสต๊อกไว้เพิ่ม
- ใช้วิธีการผลิตแบบไหลต่อเนื่อง โดยไม่หยุดไลน์การผลิต
- ผลิตตามจำนวนที่จำเป็นเท่านั้น มีออร์เดอร์เท่าไหร่ ผลิตเท่านั้น โดยอาศัย Takt Time เป็นตัวกำหนดความเร็วในการผลิต
ประโยชน์ Just In Time
1. ลดต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลังที่เกิดจาก การเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า-ออก, สินค้าชำรุด เสื่อมคุณภาพ, สินค้าตกรุ่น ขายไม่ได้
2. ลดความผิดพลาดในการผลิต เพราะมีชิ้นส่วนและวัตถุดิบเท่าที่จะผลิต, ควบคุมเป็น Visual ได้ง่าย (มองเห็นกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน)
3. ลดต้นทุนในการสั่งซื้อวัตถุดิบ สั่งซื้อมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นทุนจม, วัตถุดิบชำรุด, หมดอายุ (Dead Stock) โดยอาจเริ่มจากลดเหลือ 50 เปอร์เซ็นต์จากที่เคยสั่ง จากนั้นก็ลดเหลือแค่พอดีต่อสัปดาห์ จนในที่สุดลดเหลือแค่พอผลิตต่อ 1-3 วัน
***ข้อมูลจากโครงการ “ถอด DNA ความสำเร็จแบบวิถีโตโยต้า” ในหัวข้อ “แนวคิดในการทำธุรกิจแบบ TOYOTA WAY”
โดย SME Thailand x โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์
สนใจเข้าร่วมกิจกรรม คลิก https://toyotatsi.com/course
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี